Tuesday, January 12, 2010

รามเกียรติ์ [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

รามเกียรติ์ เป็น วรรณคดีของไทยที่สำคัญเรื่องหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เนื้อเรื่องและสำนวนกลอนในเรื่อง รามเกียรติ์ มีความไพเราะ มีคติสอนและแง่คิดในด้านต่าง ๆ อยู่เป็นอันมาก สอดแทรกเอาไว้ตลอดทั้งเรื่อง ตามหลักนิยมของอินเดียในเนื้อเรื่อง และหลักนิยมของไทยในสำนวนกลอน บทละครเรื่องรามเกียรติ์ได้วาดเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้ที่ศาลารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) นิยมนำมาแสดงเป็นโขน เขียนขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าฯ จำนวน 178 ห้อง เขียนโดยจิตรกรที่มีฝีมือยอดเยี่ยมของไทย เป็นภาพวิจิตรงดงาม ทรงคุณค่าทางศิลปกรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยมีการ ซ่อมแซมหลายครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2375, พ.ศ. 2425, พ.ศ. 2475 และครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2525 นอกจากเนื้อเรื่อง รามเกียรติ์ แท้ ๆจากห้อง 1 ถึงห้อง 178 ยังมีเรื่องการอวตารของพระนารายณ์ในปางก่อน ๆ อันเป็นที่มาของเรื่อง รามเกียรติ์ อีกหลายปางคือนรสิงหาวตาร ซึ่งเป็นปางที่สี่ วราหาวคาร ซึ่งเป็นปางที่ก่อให้เกิดวงศ์พระนารายณ์ขึ้น ที่โลกมนุษย์คือ ท้าวอโนมาตัน โอรสพระนารายณ ์ ที่เกิดจาก องค์พระนารายณ์เอง ให้ครองกรุงศรีอยุธยาที่ พระอิศวร โปรดให้ พระอินทร์ ลงมาสร้างให้หลานปู่ของ ท้าวอโนมาตัน คือ ท้าวทศรถ ผู้เป็นพระราชบิดาของ พระราม



กำเนิดรามเกียรติ์
กำเนิดเรื่องรามเกียรติ์นั้นเดิมเป็นเรื่องของชาวอินเดีย เรียกตามภาษาของชนชาตินั้นว่า รามายณะ ชาวอินเดียโดยเฉพาะที่นับถือพระวิษณุ ถือว่า รามายณะนี้เป็นคัมภีร์สำคัญ เท่ากันเป็นคัมภีร์ศาสนา ใครได้อ่านถือว่าได้บุญ กุศลได้ขึ้นสวรรค์ เมื่อราวประมาณ พ.ศ. 1900 ชาวอินเดียตอนใต้ได้เข้ามาทำการค้าขาย และตั้งถิ่นฐานทางฝั่งตะวันออกแห่งมหาสมุทร พวกนี้จึงได้นำวัฒนธรรมมาใช้ในหมู่เกาะใต้ ผู้แต่งเรื่องรามายณะนี้ เป็นฤาษีชื่อ วาลมิกี ได้แต่งเรื่องนี้เมื่อประมาณ 2400 ปีเศษมาแล้ว ตามตำนานว่า พระวาลมิกีได้ฟังเรื่องพระรามายณะจากพระนารท ต่อมาพระวาลมิกีได้ไปที่ฝั่งแม่น้ำกับนางตมสา ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำคงคา ได้เห็นนางนกกระเรียนตัวหนึ่ง ร้องคร่ำครวญถึงตัวผู้ ซึ่งถูกพรานยิงตาย พระวาลมิกีเห็นเช่นนั้นก็อุทานออกมาด้วยความสลดใจ เสียงที่อุทานมานั้นรู้จะอยู่ในคณะฉันท์ ใช้สำหรับขับได้ จึงได้นำทำนองนี้ซึ่งพบใหม่มาแต่งเรื่องรามายณะ และเรียกฉันท์นี้ว่า โศลก (โศก) เพราะฉัทน์นี้เกิดจากความสลดใจ เรื่องรามายณะนี้ เป็นเรื่องยาวประกอบด้วยฉันท์ถึง 24000 โศลก แบ่งออกเป็นตอนๆเรียกว่า กัณฑ์ รวมทั้งหมด 7 กัณฑ์ คือ พาล อโยธยากัณฑ์ อรัณยกัณฑ์ กีษกินธา กัณฑ์ สุนทรกัณฑ์ ยุกธ-กัณฑ์ และอุตตรกัณฑ์ เรื่องรามเกียริ์มีบุคคลสำคัญในเรื่องคือ พระราม นางสีดา และทศกัณฐ์ นักปราชญ์บางท่านเชื่อว่าเป็นเรื่องที่มีมานานกว่า 2400 ปี แต่เป็นเรื่องที่กระจัดกระจายอยู่ และวาลมิกีได้รวบรวมขึ้นมาใหม่

รามเกียรติ์ในประเทศไทย

ตามหลักฐาน ที่พอจะอนุมานได้ ปรากฎว่าเรื่องรามเกียรติ์ หรือรามายณะได้เข้ามายังประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 900 ปีล่วงมาแล้ว เพราะที่ปราสาทหินเมืองพิมายมีภาพสลักศิลาเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนในสมัยสุโขทันก็มีพูดถึงถ้ำพระราม ถ้ำสีดา ในจารึกของพ่อขุนรามคำแหง แต่เรื่องที่ปรากฏเป็นวรรณคดีนั้น เดินเราจะเคยมีหรือไม่ ไม่มีหลักฐานแน่ชัด มีคำฉันท์อยู่เรื่องหนึ่ง ชื่อ ราชาพิลาป คำฉันท์(นิราศสีดา) ผู้แต่งไม่ปรากฏนาม เป็นเรื่องที่แต่งสมัยสมเด็จพระนารยณ์มหาราช พรรณนาความคร่ำครวญของพระราม ตอนออกเดินทางเที่ยวตามหานางสีดา (เรื่องนี้นับเป็นรามเกียรติ์เรื่องเดียวที่เกิดขึ้นก่อนรามเกียรติ์ฉบับพระ เจ้ากรุงธนฯ และตกทอดมาจนถึงสมัยปัจจุบัน) ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่อง รามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น ได้ทรงเลือกมาเป็นตอน ๆ รามเกียรติ์ นี้จึงมีสำนวนกลอนที่ไพเราะที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรง พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ โดยดัดแปลงจากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เพื่อใช้ในการเล่นโขนซึ่งจะมีอยู่เพียงบางตอนที่คัดเลือกไว้เท่านั้น เช่น ตอนนางลอย ตอนหักคอช้างเอราวัณ ตอนสีดาลุยไฟ เป็นต้น

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

No comments:

Post a Comment