ชาวไอริชผู้หนึ่งชื่อ Tichyand Sherman (1993) ทำการเปรียบเทียบปฏิกิริยาตอบสนองของกบ โดย เอากบตัวหนึ่งใส่ลงไปในน้ำร้อน ปรากฏว่ามันรีบกระโดดหนีโดยทันทีจากอันตรายนั้น รอดมาได้อย่างหวุดหวิด แต่สำหรับกบอีกตัวหนึ่ง ที่ถูกใส่ลงไปน้ำปกติ มันก็จะเล่นอย่างสบายใจเฉิบ แล้วเขาค่อยๆเพิ่มความร้อนเข้าไปทีละนิดทีละหน่อย ในตอนแรก มันก็จะปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น โดยไม่รู้ว่าภัยร้ายใกล้จะมาถึงตัวแล้ว และเมื่อน้ำร้อนได้ที่แล้ว มันก็กลายเป็นกบต้มสุก ไม่สามารถหนีรอดออกมาได้ กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว
ด้วยสัญชาติญาณของการเอาตัวรอด กบจะรอดได้ต้องไวต่อความเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว
เรื่องต้มกบ หรือ กบต้ม เป็นการทดลองที่บ่งบอกให้เราต้องรู้จักปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว บ่อยครั้งที่เรามักจะเฉื่อยชาต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย แต่มันก็เป็นสัญญาณเตือนให้ระวัง จงอย่าตายใจในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงนะครับ
ยกตัวอย่างเช่น ในทุกๆปี น้ำที่กักเก็บลดลงทีละนิ้ว สองนิ้ว เราก็จะรู้สึกว่า “ไม่เป็นไร” เพราะมันยังมีน้ำอยู่ น้ำพร่องไปหน่อย ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าจู่ๆ น้ำที่กักเก็บรั่วหายไปหมดล่ะ จะรู้สึกอย่างไร เป็นอุทาหรณ์ให้รู้ว่า ต้องหมั่นสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเราและอย่า “เฉื่อยชา” ต่อสิ่งที่กำลังเปลี่ยน
ในเชิงธุรกิจ พบว่าหลายๆบริษัทปิดตัวเองลง เพราะไม่ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การปรับตัวจึงเป็นความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างองค์กร หรือบทบาทหน้าที่ต้อง “ไว” ต่อสถานการณ์ของปัญหาที่อยู่ข้างหน้า
ผู้เขียน เคยสังเกตเห็นว่า หลายๆบริษัทมองข้ามคำร้องเรียนจากลูกค้า โดยมักเห็นว่า คำร้องเรียนจากลูกค้า ก็เคย “ข้อต่อรอง” นั่นเอง บางคนก็เห็นว่า เป็น “คำบ่น” ด้วยซ้ำไป ดังนั้น ผู้บริหารบางท่านจึงละเลย ไม่สนใจ ไม่นำพาต่อคำร้องเรียน เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ แม้ว่า คำร้องเรียนจะเป็นเรื่องซ้ำๆที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นเล่าก็ตาม ผลสะท้อนดังกล่าวนำมาซึ่งยอดขายลดลงทีละเล็กละน้อย ผู้บริหารก็ยังคงเห็นว่า เป็นธรรมดานั่นเอง แต่หารู้ไม่ว่า ในขณะที่ลูกค้าเริ่มไม่พอใจ ลูกค้าเริ่มหาช่องทางใหม่ ลองคิดดูว่า หากลูกค้าเจรจาหาคู่ค้าธุรกิจรายใหม่ได้สำเร็จ และยกเลิกการซื้อขายกับบริษัทโดยทันที จะเกิดอะไรขึ้นเตรียม
พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง
• เปิดทัศนคติให้ตระหนักว่า โลกภายนอกหมุนไปเร็วมาก “จงอย่าทำตัวเป็นกบในกะลา”
• สภาวะการณ์ที่จะอยู่รอดได้นั้น รองรับได้เพียงบางสถานการณ์เท่านั้น “แต่ทุกคนมีความอดทนอดกลั้นต่างกัน”
• ไม่มีกลุ่มใดที่จะแยกตัวอยู่ได้โดยลำพัง
• เมื่อเปิดประตูออกไปสู่โลกภายนอก สิ่งแปลกๆใหม่จะเข้ามากระทบ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
• หากคิดจะเปลี่ยน ให้กล้าเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน
• ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ย่อยไม่มีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้น
No comments:
Post a Comment