ใครหนอ...สร้างนิทานอีสป
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
นิทานที่ได้รับความนิยมและเชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมากที่สุดรวมถึง ในประเทศไทยด้วย คงหนีไม่พ้นนิทานอีสป ซึ่งนอกจากจะมีเรื่องราวสนุกสนานแล้วด้านหลังเล่มยังมีคติสอนใจจากเนื้อ เรื่อง ด้วยคำว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...
หลายคนนึกสงสัยว่า ใครหนอ ช่างคิดเรื่องราวที่สนุกและแฝงแง่คิดที่ใช้ได้ไม่ล้าสมัยน้า...
วันนี้มีคำตอบมาเฉลยให้หายสงสัย
ผู้แต่งนิทานอีสป “นิทานอีสป” มีต้นกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรกรีกโบราณ ทว่าเจ้าของเรื่องเล่าอันแสนสนุกพร้อมสอดแทรกแง่คิดในการดำรงชีวิตต่างๆ มากมายเหล่านี้กลับไม่ใช่นักปรัชญาชาวกรีกที่ไหน หากแต่เป็นทาสที่ไร้การศึกษาแต่เปี่ยมไปด้วยเชาวน์ปัญญาชาวแอฟริกา “นิทานอีสป ชื่อผู้แต่ง”ที่มีนามว่า “อีสป” นั่นเอง
อีสป ชื่อผู้แต่ง นิทานอีสปเป็นชายผิวสีชาวแอฟริกาที่มีชีวิตอยู่ในนครรัฐกรีกและต้องการทำมา หากิน โดยการขายตัวเป็นทาส แต่โชคร้ายที่รูปร่างหน้าตาของเขาไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานที่พิจารณา คนที่มีความสามารถด้านการต่อสู้เป็นหลัก อีสปเป็นชายพิการ รูปร่างเล็ก หน้าตาขี้ริ้ว ไม่เป็นที่สนใจของพวกเศรษฐีสมัยนั้น
ทว่าพระเจ้ากลับประทานมันสมองอันเลอเลิศให้แก่อีสปเป็นการตอบแทน เขาจึงหันมาใช้สติปัญญาในการหาเลี้ยงชีพแทนการใช้กำลัง จากคำบอกเล่าทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าอีสปใช้ชีวิตอยู่บนเกาะซามอส เมืองซาร์ดิส นครรัฐกรีก ในช่วง 620-560 ปีก่อนคริสตกาล
กว่าที่เรื่องเล่าของอีสปจะได้รับการยอมรับจากสาธารณชนชาวกรีกนั้น อีสปต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะตัวเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตามเขาอย่างมาก เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าในนครรัฐกรีกก็มีนักคิด นักปราชญ์ อยู่เป็นจำนวนมาก ในขณะที่อีสปเองไม่มีเครดิตอะไรเลย แถมยังเป็นเพียงทาสชาวแอฟริกาซึ่งพิกลพิการ จะหวังให้ใครมาเชื่อถือก็ยากเอาการอยู่
แต่สุดท้ายแล้วอีสปก็สามารถเอาชนะใจคนกรีกได้ด้วยการเล่าเรื่องธรรมดาๆ แต่สอดแทรกด้วยปรัชญา แง่คิด และคติสอนใจต่างๆ ซึ่งเมื่อใครได้ฟังก็สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ อีกทั้งยังนำคติสอนใจที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันของ ตัวเองได้ด้วย ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของเรื่องราวจากอีสปก็คือ เขาจะใช้ตัวละครที่เป็นสิงห์สาราสัตว์ทั่วไป อาทิเช่น “หมาป่ากับลูกแกะ” “สุนัขกับเงา” “ราชสีห์กับหนู” หรือ “สุนัขจิ้งจอกกับกา” เป็นต้น
อีสปเริ่มได้รับความนิยมในหมู่ชาวกรีก ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปถึงหูของกษัตริย์เครซุส เขาได้รับคำสั่งให้เข้ามาทำงานในราชสำนักในหน้าที่ราชทูตที่ต้องไปเจรจาความ กับเมืองต่างๆ เนื่องจากกษัตริย์เครซุสเห็นว่าเขามีปฏิภาณไหวพริบ และเป็นนักจิตวิทยาชั้นสูง
แต่แล้ววันหนึ่งชีวิตของเขาก็พลิกผัน เมื่อเข้าได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติภารกิจที่เมืองเดลฟี ที่ที่เขาต้องจบชีวิตลงด้วยนำมือของชาวเดลฟี ทั้งนี้ ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเพราะเหตุใดเขา ถึงถูกฆ่าตาย แต่จากข้อสันนิษฐานต่างๆ ของนักเขียนรุ่นหลังมาคิดว่าสาเหตุที่ทำให้อนาคตของอีสปดับสิ้นลงนั้นอาจจะ เป็นเพราะคำพูดที่เย้ยหยันของเขา การยักยอกเงินที่กษัตริย์เครซุสมอบให้เขาเพื่อนำมาให้กับเมืองเดลฟี หรืออาจจะเป็นข้อกล่าวหาที่ว่าเขาไปทำลายถ้วยเงินซึ่งเป็นเครื่องสักการะของ ชาวเมืองเดลฟีก็ได้
ถึงแม้ว่าอีสปจะจากไปแล้ว แต่นิทานของเขาก็ยังคงได้รับการเล่าสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ มากถึง 250 ภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทยของเราด้วย ด้วยเหตุนี้เองนิทานอีสปจึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และได้รับความนิยมมาโดยตลอด
ที่มา http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9480000096505
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
No comments:
Post a Comment