[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เนื้อหา
....................หลวงพ่อทวด มีชื่อเดิมว่า ปู เป็นบุตรนายหู นางจัน ตั้งบ้านเรือนอยู่ในดินเศรษฐีปาน บ้านวัดเลียบ ตำบลดีหลวง อำเภอสะทิงพระ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันนี้ ตายายเป็นชาวบ้านคลองรี ตาชื่อเจิม ยายชื่ออิน วันเดือนปีเกิดของเด็กชายปู ยังเอาแน่นอนไม่ได้ บ้างว่าเกิดวันศุกร์ เดือน ๔ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๑๒๕ บ้างว่าเกิด
ปี จ.ศ. ๙๙๐ ฉลูสัมฤทธิศก บ้างว่า พ.ศ. ๒๑๓๑ โดยอนุมานว่าคงเป็นปลายรัชสมัยพระมหาธรรมราชา อาจ เป็นปี พ.ศ. ๒๑๒๕ หรือ พ.ศ. ๒๑๓๑ ปีใดปีหนึ่ง คลอดแล้วมีผู้นำรกไปฝังไว้ใต้ต้นเลียบ เดี๋ยวนี้ต้นเลียบต้น นั้นยังมีอยู่และถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หลังจากนางจันเลิกอยู่ไฟก็ออกไปเกี่ยวข้าวทันที และนำบุตรชายไปด้วย โดยผูกเปลให้นอนใต้ต้นหว้า วันหนึ่งขณะขึ้นมาดื่มน้ำพักเหนื่อย เห็นงูจงอางขนาดใหญ่ขดพันอยู่บนเปล จึงร้องขึ้นด้วยความตกใจ นายหูเอาข้าวตอกดอกไม้บูชาเทพารักษ์ให้ช่วยเหลือ งูจึงเลื้อยออกไป และคายดวงแก้ววิเศษไว้ให้ทารกน้อย แก้วนี้ปัจจุบันอยู่ที่วัดพะโคะ จังหวัดสงขลา จัดเป็นของศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่ง นับแต่ได้ดวงแก้วนั้นฐานะของนายหูค่อยูดีขึ้นตามลำดับ ส่วนเด็กชายปูเมื่อเจริญวัยขึ้นได้บรรพชาเป็น สามเณร ณ วัดกุฏีหลวง (วัดดีหลวงในปัจจุบัน) กับอาจารย์จวงผู้เป็นลุง เรียนพระธรรมบทกับพระชินเสน ณ วัดสีกุยัง (วัดสีหยัง ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน) แล้วเข้าศึกษาต่อกับ พระครูกาเดิม ณ วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้อุปสมบทที่นั่นโดยมีพระมหาเถรปิยทสสีเป็น อุปฌาย์ มีฉายาว่า "สามิราม"
...................ด้วยเป็นผู้ใฝ่ในธรรม เมื่อศึกษา ณ สำนักพระมหาเถรปิยทสสีแตกฉานแล้ว ได้ออกเดินทางไปอยุธยา เพื่อศึกษาเพิ่มเติม โดยขออาศัยไปกับเรือสำเภาของนายอินพ่อค้าเมืองสทิงพระ ขณะที่เรือแล่นถึงชุมพรได้ เกิดพายุใหญ่ถึง ๗ วัน ๗ คืน ทำให้นายอินและลูกเรือตั้งข้อรังเกียจพระสามิราม เพราะเชื่อว่าคงเป็นกาลกิณี จึงเกิดมรสุมวิปริตเช่นนั้น ก่อน ๆ ไม่เคยปรากฏ เมื่อคลื่นลมสงบจึงคิดจะเอาไปปล่อยเกาะ แต่ครั้น พระสามิรามลงเรือเล็กเอาเท้าข้างทู่ (หลวงพ่อทวดเท้าพิการข้างหนึ่ง) แช่ลงในทะเล ก็บังเกิดเป็นอัศจรรย์ น้ำเค็มกลับจืดสนิท อาบกินได้ นายอินและลูกเรือจึงขอขมาโทษ เมื่อถึงอยุธยา นายอินก็ยังมอบอ้ายจันซึ่งเป็น ข้าทาสให้เป็นโยมอุปัฏฐาก พระสามิรามเข้าพักอาศัยอยู่วัดแค เรียนพระอภิธรรม ณ วัดลุมพลีนาวาส เล่าเรียนแตกฉานแล้วทูลลา
สมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชานุวาส (บ้างว่าวัดสมอราย) นอกเขตพระราชวัง เพื่อศึกษาทาง วิปัสสนา ขณะอยู่อยุธยาได้เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่ง คือ มีประเทศหนึ่งจะเป็นสิงหลหรือมอญยังเอายุติ ไม่ได้ ส่งทูตมาท้าไขปริศนาธรรม พระสามิรามได้รับนิมนต์เข้าไปแก้ไขปริศนาจนสำเร็จ เจ้ากรุงสยามทาง
ถวายเมืองแก่พระสามิรามท่อนหนึ่ง พระสามิรามครองแค่ ๓ วัน แล้วถวายคืน และได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็น "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์"
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดทั่วเมือง พระราชมุนีฯช่วยไว้ได้อีกครั้ง โดนรำลึกถึงอำนาจของดวงแก้ว พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อมสมณศักดิ์ขึ้นเป็น "พระสังฆราชคุรูปาจารย์" พระราชมุนีฯชอบการธุดงค์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อออกจากรุงศรีอยุธยาก็ได้จาริกรุกขมูลกลับสทิงพระ ตลอด ทางได้ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก และเผยแพร่ธรรมมาตลอด เมื่อถึงสทิงพระได้ร่วมกับพระครูสัทธรรมรังษี บูรณะ วัดพะโดะซึ่งเป็นวัดที่ประดิษฐานพระเจดีย์ และรอยพระพุทธบาทซึ่งเป็นที่เคารพของประชาชน แต่สภาพทรุดโทรมมาก และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ ท่านได้วางรากฐานความเจริญให้แก่วัดนี้จนกลายเป็นศูนย์กลาง
ของวัดอื่น ๆ ราว พ.ศ. ๒๑๕๙ พระราชมุนีฯ ได้หายไปประมาณ ๓๐๐ ปีเศษ ต่อมาพระอาจารย์ทิมธมมธโธ เจ้าอาวาสวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ได้สืบความเป็นมาของวัดช้างให้ และพบว่าเจ้าอาวาสรูปแรกของ วัดช้างให้คือหลวงพ่อทวด ดังปรากฎหลักฐานบริเวณเนินดินในวัดเชื่อว่าเป็นที่ฝังอิฐ จึงได้ขุดเนินดินเพื่อสร้าง สถูปใหม่ และได้พบหม้อทองเหลืองบรรจุอัฐิอยู่ใต้เนินดินนั้น และเล่ากันว่าหลังจากนั้นพระอาจารย์ทิมได้นั่ง
สมาธิจนเห็นรูปลักษณ์ของหลงพ่อทวดหลายครั้ง พระอาจารย์ทิมศรัทธาหลวงพ่อทวดเป็นอย่างมาก จึงได้ ศึกษาประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อทวด และได้ทราบว่าหลังจากหลวงพ่อทวดออกจากวัดพะโคะแล้ว ได้ สร้างวัดขึ้นที่ไทรบุรีชื่อ "วัดโกระไหน" ขณะเดียวกันก็รับเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ด้วย ท่านจึงต้องเดินทางไป
มาระหว่างวัดทั้งสองอยู่เสมอ หลวงพ่อทวดมรณภาพที่วัดโกระไหน ศพถูกนำมาประชุมเพลิงที่วัดช้างให้ตามที่ท่านสั่งไว้ การนำศพ
ต้องหยุดพักตามรายทางหยุด ณ ที่ใดก็ปักไม้แก่นหมายไว้ทุกแห่ง และให้พูนดินให้สูงขึ้นถือเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า "สถูปท่านลังกา" (ทางไทรบุรีเรียกท่านว่า "ท่านลังกา")
คติ / แนวคิด
.....................หลวงพ่อทวด เป็นภิกษุที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการพระราชทานที่กัลปนาแก่หัวเมืองพะโคะในสมัย พระเอกาทศรถ มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้า จนได้สมัญญาว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าไปด้วยอภินิหารและบารมี เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวไทยและชาวต่างชาติน้อย คนนักจะไม่รู้จักท่าน แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้วนับร้อยปี
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
No comments:
Post a Comment