Friday, November 20, 2009

ตำนาน ลูกลม (ลูก-ลม) ตรัง [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

เนื้อหา

.........................ได้ มีเรื่องเล่าต่อเนื่องกันมานานแล้วว่าในสมัยพุทธกาลบนแผ่นดินชมพูทวีปนั้นมี แต่ความสงบสุข ผู้คนไม่เบียดเบียนกัน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นที่ใดก็จะมีการใช้ปัญญาเข้ามาร่วมแก้ปัญหานั้น ๆ ทุกครั้งไป ทำให้ ผู้คนบนแผ่นดินนี้มีความสุขกายสบายใจกันถ้วนหน้า แต่อยู่มาวันหนึ่ง ได้มีพญายักษ์ตนหนึ่งพร้อมสมัครพรรคพวกยักษ์ได้พากันเดินทางเข้ามาในแผ่นดิน ชมพูทวีป เข้าข่มเหงรังแก จับพวกมนุษย์กินเป็นอาหารไปหลายคน จนทำให้ผู้คนที่เคยอยู่อาศัยกันมาอย่าง สงบสุขนั้นประสบกับภัยพิบัติจากเหล่ายักษ์ วันเวลาได้ผ่านไปนานพวกยักษ์ก็ยิ่งเพิ่มความเหิมเกริมมากยิ่งขึ้น ได้จับเอามนุษย์ผู้ด้อยพละกำลังไป กินเพิ่มขึ้นทุกวัน เหล่ามนุษย์ทั้งหลายมีความหวาดระแวงเป็นอย่างยิ่ง จึงพากันหนีไปพึ่งบารมีของ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อไปถึงก็เล่าเรื่องราว ความเดือดร้อนที่เกิดจากการกระทำของพรรคพวกยักษ์ให้ พระองค์ฟัง และในขณะที่มนุษย์กำลังเล่าเรื่องอยู่ต่อหน้าพระ-พักตร์นั้น บรรดาพญายักษ์ก็ได้ยกพลติดตาม มนุษย์มาทันพอดี และยิ่งเมื่อรู้ว่ามนุษย์ทั้งหลายได้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารด้วยแล้วก็ทำให้ เหล่าพรรคพวก ยักษ์เกิดความโมโหเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ร้องท้าออกไปว่า "ไอ้มนุษย์ขี้ขลาด หากแน่จริงก็ให้ยกพลออกมาต่อสู้ ทำสงครามกันให้รู้แพ้รู้ชนะกันเสียเถิด และถ้าหากเราแพ้เรายินดีที่จะยกทัพกลับไป แต่หากเราชนะเราก็จะขอ จับเจ้ากินวันละคนจนมนุษย์หมด" ทางฝ่ายมนุษย์ได้ยินพวกยักษ์ร้องท้า บ้างก็กลัวเป็นยิ่งนัก บ้างก็คิดว่า
ไหน ๆ เราก็มีพระพุทธคุณจากองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าแล้วเราจะไปกลัวพวกมันทำไม น่าจะยกออกไปทำ สงครามกันมันให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย" พระพุทธเจ้าเมื่อรู้ว่ามนุษย์คิดเช่นนั้นจึงได้ตรัสว่า "พวกยักษ์นั้นมีพละ กำลังมหาศาล หากมนุษย์ออกไปต่อสู้จะไม่มีวันชนะเป็นอันขาด แต่สมควรจะได้ไตร่ตรองใช้ปัญญาให้มาก จึงจะเอาชนะยักษ์ได้" ดังนั้นเหล่ามนุษย์จึงได้ร่วมกันคิดหาวิธีการต่อสู้กับยักษ์อยู่นาน ในที่สุดก็คิดกันว่าน่าจะลองยื่นข้อ
เสนอการแข่งขันก่อสร้างเจดีย์กัน แทนการสงคราม ซึ่งจะทำให้เสียชีวิตไพร่พลทั้งสองฝ่าย และเมื่อได้ยื่นข้อ เสนอไปเช่นนื้ ฝ่ายยักษ์ก็ตอบตกลงในทันที ที่จะแข่งขันการสร้างเจดีย์แทนการทำสงคราม ดังนั้นทั้งสองฝ่าย จึงทำข้อตกลงร่วมกัน ถ้าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะแล้วให้ผู้แพ้ออกไปจากแผ่นดินนี้ทันที เวลาในการแข่งขัน
นั้นจะใช้เวลาเพียงราตรีเดียว
........................ เมื่อถึงวันนัดในการแข่งขัน ฝ่ายยักษ์ได้ระดมสรรพกำลังทั้งหมดเพื่อขนหินมาวางซ้อนกันเพื่อสร้าง เจดีย์ อย่างฮึกเหิม มั่นใจในชัยชนะอย่างแน่นอน ทางฝ่ายมนุษย์นั้นมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำ ก็ได้ระดมผู้คนทั้ง หมดมาช่วยกันคิดหาวิธีการเอาชนะในการก่อสร้างเจดีย์ครั้งนี้ให้ได้ และในที่สุดก็คิดได้ว่าน่าจะเอาไม้ไผ่มา สานแต่งเป็นโครงต่อกันขึ้นไปให้เป็นรูปเจดีย์ให้สูงที่สุดแล้วตกแต่งด้วยกระดาษสีให้สวยงาม เมื่อคิดได้เช่นนี้
พระองค์ก็ระดมกำลังที่มีอยู่ช่วยกันแต่งโครงเจดีย์ไม้ไผ่ขึ้นตามรูปที่คิดไว้ ครั้งเวลาย่ำรุ่ง แสงเงินแสงทองทาบขอบฟ้า ทางฝ่ายยักษ์ได้ก่อเจดีย์เลยชั้นเจดีย์ไปแล้ว และกำลังจะ
ต่อยอดปล้องไฉนไปได้เกือบครึ่งหนึ่งแล้ว แต่ก็เห็นยอดเจดีย์ของฝ่ายพระพุทธองค์เหลืองอร่ามเรียบร้อยแล้ว จึงโมโหมากที่พวกตนซึ่งมีพละกำลังมากกว่า แต่ต้องมาพ่ายแพ้มนุษย์ผู้เอวบางร่างน้อยได้ จึงถีบเจดีย์ที่ ตนเองสร้างเกือบเสร็จพังลงในทันที และเมื่อถึงเวลาตัดสินปรากฏว่ามนุษย์เป็นผู้ชนะ ดังนั้นพรรคพลของยักษ์จะต้องอพยพออกไปจาก แผ่นดินชมพูทวีปในทันที แต่ด้วยเหตุที่แผ่นดินชมพูทวีปนั้นกว้างใหญ่ ยักษ์ไม่รู้แน่ชัดว่ามีอาณาเขตสิ้นสุดลง ที่ใดกันแน่ พระพุทธเจ้าจึงตรัสตอบยักษ์ไปว่าสิ้นสุดแผ่นดินชมพูทวีปของเรานั้นอยู่ที่ สุดเสียงลูกลม ด้วยสัจจะวาจาของพญายักษ์ที่รู้จักแพ้ รู้จักชนะ จึงได้ยกพลพรรคยักษ์ทั้งหมดออกไปจากแผ่นดินชมพูทวีปในทันที และในขณะที่เดินทางอพยพอยู่นั้นก็เงื่ยหูฟังไปตลอดทางว่าสุดเสียงลูกลมหรือ ยัง ทางฝ่ายพระพุทธเจ้านั้นเมื่อเป็นฝ่ายชนะแล้วก็ได้ป่าวประกาศให้มวลมนุษย์ ทั้งหลายช่วยกันปักธง ลูกลมเพื่อบอกเขตของชมพูทวีป และปรากฏว่าประชาชนพลเมืองมนุษย์ก็ช่วยกันทำลูกลมกันถ้วนหน้า นัยเพื่อไล่ยักษ์ออกไปให้พ้น

คติและแนวคิด
ตำนานลูกลมให้แนวคิดดังนี้
๑. จะทำสิ่งใดให้คิดใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนทำ ด้วยการใช้ปัญญามาช่วยแก้ปัญหา แม้จะมีพละ กำลังแข็งแรงมหาศาล ก็ไม่อาจทำการใดให้สำเร็จได้ หากไม่ใช้ปัญญาดังเช่นไพร่พลของพญายักษ์ที่พ่ายแพ้ ปัญญาของมนุษย์
๒. ผู้ที่รักษาสัจจะวาจา รู้แพ้รู้ชนะ จะเป็นผู้ที่ได้รับการสรรเสริญ เหมือนกับพญายักษ์ ที่เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ ตลอดไป
๓. เป็นความเชื่อทางพุทธศาสนา ว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่มีปัญญาความรู้ดังแสงสว่างในความมืด สามารถช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความทุกข์ได้
๔. ความสามัคคีของมวลมนุษย์ที่ช่วยกันทำลูกลม เพื่อขับไล่พญายักษ์ทำให้แผ่นดินมีความสงบอีกครั้ง ความสามัคคีจึงเป็นที่มาแห่งความสุข

No comments:

Post a Comment