[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เนื้อเรื่อง
..................ตามตำนานกล่าวว่า ตายายสามีภรรยาไปหาปลา พบไข่จระเข้ที่สระน้ำแห่งหนึ่ง ได้นำมาฟักเป็นตัวเลี้ยงไว้ในอ่างน้ำ เพราะยายอยากเลี้ยงดูไว้แต่แรกเกิดแทนลูก เมื่อจระเข้ตัวใหญ่ขึ้นจึงนำไปเลี้ยงในสระใกล้ บ้านหาปลามาเป็นอาหาร จระเข้กินไม่อิ่มจึงกัดกินตากับยายแล้วคลานออกจากสระลงไปในแม่น้ำน่านเก่า
ซึ่งอยู่ห่างจากสระตายายออกไปประมาณ ๕๐๐ เมตร แม่น้ำน่านเก่าสมัยนั้น มีน้ำบริบูรณ์ไม่ขาดแคลน จระเข้ชุกชุมทั่วไป แต่ไม่ทำอันตรายผู้คนเนื่องจากมีปลาเป็นอาหาร แต่จระเข้ของตายายเคยได้ลิ้มรสเนื้อ มนุษย์จึงเที่ยวกัดกินคนทั้งบนบกและในน้ำไม่เว้นแต่ละวัน จระเข้ใหญ่นี้ถูกเรียกชื่อว่า ไอ้ตาละวัน ตาม
สำเนียงภาษาพูดของชาวบ้านที่เรียกตามความดุร้าย ที่มันทำร้ายคนไม่เว้นแต่ละวัน และเพี้ยนเสียงเป็น ไอ้ชาละวัน ชื่อชาละวันแพร่สะพัดไปทั่ว เพราะธิดาสาวคนหนึ่งของเศรษฐีเมืองพิจิตรเก่าถูกชาละวันแว้งตกน้ำจม หายไปขณะกำลังอาบน้ำอยู่บนแพท่าน้ำหน้าบ้าน เศรษฐีประกาศให้สินบนหลายสิบชั่ง พร้อมทั้งยกลูกสาวที่ มีอยู่อีก ๑ คน ให้แก่ผู้ฆ่าชาละวันได้ มีหมอจระเข้หลายคนรับอาสาแต่ถูกชาละวันฆ่าตายหมด จนในที่สุด นายไกรทองพ่อค้า จากเมืองล่างสันนิษฐานว่าเป็นพ่อค้า จากเมืองนนทบุรี ได้ฆ่าชาละวันตายด้วยหอกลง อาคม เชื่อกันว่าถ้ำของชาละวันอยู่กลางลำน้ำน่านเก่า ปัจจุบันอยู่ห่างจากสำนักสงฆ์ บ้านวังกระดี่ทอง ตำบลย่านยาว ไปทางใต้ประมาณ ๓๐๐ เมตร ทางลงปากถ้ำเป็นรูปวงกลมมีขนาดพอที่จระเข้ขนาดใหญ่ มากขึ้นลงได้อย่างสะดวก เมื่อสิบปีที่ผ่านมามีผู้เข้าไปสำรวจความลึกของโพรงปากถ้ำ โดยใช้ไม้ไผ่ลำยาว หยั่งแต่ไม่ถึงกันโพรงที่เป็นหลุมลึก ปัจจุบันโพรงตื้นเขินมาก
ผู้ใหญ่รุ่นเก่าเล่าถึงความใหญ่ของชาละวันว่า เวลาอวดศักดาจะลอยตัวปริ่มน้ำขวางคลองตัวยาวคับ คลองบางแห่ง เมื่อชาละวันตายซากหัวที่วางเซ่นไหว้ บนศาลเพียงตาหน้าเมืองพิจิตรมีความยาวถึง ๑ วา และ น่าแปลกที่ศาลเพียงตามีจิ้งจกมาออกันอยู่มากมายเป็นร้อย ๆ ตัว คนสมัยก่อนเชื่อกันว่า หากผู้ใดถูกจระเข้ กัดต้องจัดให้คนเจ็บนอนรักษาตัวอยู่แต่ในมุ้งอย่างดี เพื่อกันไม่ให้จิ้งจกเข้าไปเลียแผล ถ้าจิ้งจกเลียแผล คน เจ็บจะตายอย่างไม่มีทางรักษา
คติ/แนวคิด
.................... ความเชื่อศรัทธาในตายายที่เลี้ยงชาละวันยังคงอยู่ในจิตใจของชาวบ้านบ้านวังกระดี่ทอง หากปรารถนาสิ่งใดชาวบ้านจะบนด้วยข้าวปากหม้อ น้ำอ้อย และขนมกริม และเชื่อว่าได้สมความปรารถนาจนทุกวันนี้ เรื่องชาละวันเป็นเรื่องที่เลื่องลือมาจนล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงนำไปพระราชนิพนธ์บทละครนอกเรื่อง ไกรทอง
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
No comments:
Post a Comment