Tuesday, December 22, 2009

ตำนาน นางสามสี ชัยนาท [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

เนื้อเรื่อง
................ชาวบ้านเชื่อกันว่าเมืองอู่ตะเภานี้ เดิมชื่อเมืองท้าวอู่ทอง ท้าวอู่ทองผู้ครองเมืองมีพระธิดาทรงโฉม พระองค์หนึ่งทรงนามว่า นางสามสี ท้าวอู่ทองโปรดให้ขุดสระปลูกบัวไว้ทางทิศเหนือของเมือง เพื่อเป็นสระ สนานของพระธิดา ปัจจุบันสระนี้ยังมีอยู่เรียกว่า หนองบัวสระนาง เป็น สระที่ตื้นเขินมากแล้ว แต่ยังมีบัว ขึ้นอยู่
................เจ้าเมืองห้วยดุก และเจ้าเมืองจันเสน ต่างเดินทางมาเฝ้าท้าวอู่ทอง เพื่อทรงสู่ขอนางสามสีไปอภิเษก ด้วย เผอิญมาถึงเมืองอู่ทองพร้อมกัน ท้าวอู่ทองจึงให้เจ้าเมืองทั้งสองสร้างถนนจากเมืองแต่ละเมืองมายัง เมืองอู่ตะเภา ผู้ใดทำถนนถึงก่อนก็ได้พระธิดาไปครอง โดยนัดวันทำถนนเริ่มทำให้พร้อมกัน
เมืองห้วยดุกอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองอู่ตะเภา ส่วนเมืองจันเสนอยู่ทางทิศตะวันออก-เฉียงใต้ เจ้าเมืองจันเสนทำถนนมาใกล้จะถึงเมืองอู่ตะเภาได้ลั่นฆ้องขึ้น เจ้าเมืองห้วยดุกเข้าใจว่าตนเป็น ฝ่ายแพ้ จึงพาพวกพ้องกลับเมืองห้วยดุก ในการทำถนนแข่งขันครั้งนี้ เจ้าเมืองจันเสนหวังว่าต้องเป็นผู้ชนะแน่นอน จึงได้นำสำเภาใส่ขันหมาก
มาสองลำด้วยกัน ฝ่ายท้าวอู่ทองเห็นว่า เจ้าเมืองจันเสนลั่นฆ้องขึ้นก่อนทำถนนมาถึงเมืองอู่ตะเภา จึงประกาศให้การ แข่งขันเป็นโมฆะ
...............ท้าวจันเสนเมื่อไม่ได้นางสามสี ก็เสียใจมาก ทำลายเรือสำเภาใส่ขันหมาก กลายเป็นเกาะอยู่กลาง แม่น้ำ เรียกว่าหัวเกาะอู่ตะเภามาจนทุกวันนี้ เดิมเป็นสองเกาะ ต่อมาดินงอกเพิ่มขึ้นกลายเป็นเกาะเดียว สำหรับขนมกง ข้าวตอก ดอกไม้ ทิ้งลงน้ำกลายเป็นหินอยู่ใต้น้ำทั้งหมด ต่อมามีชายยาจกผู้หนึ่ง ตัวมีปุ่มปมน่าเกลียดชื่อนายแสนปม ทำไร่อยู่ที่หนองไร่ข้าว ปลูกมะเขือไว้กิน ได้เอาน้ำปัสสาวะรดมะเขือเป็นประจำ ทำให้มะเขืองามและมีลูกดก และเหตุบันดาลให้นางสามสีอยากเสวย
มะเขือ ท้าวอู่ทองจึงใช้ให้คนไปเอามะเขือจากบ้านนายแสนปม หลังจากนางสามสีเสวยมะเขือแล้ว ได้ตั้ง ครรภ์และคลอดบุตรเป็นชาย
ท้าวอู่ทองจึงทำพิธีอธิษฐานหาพ่อเด็ก โดยให้ชายในเมืองถือกล้วยคนละหนึ่งใบถ้าเด็กรับกล้วยจากมือ ผู้ใดก็จะให้เป็นพ่อเด็ก และยกนางสามสีให้เป็นภรรยา
..............ครั้งนั้นปรากฏว่า กุมารน้อยรับกล้วยจากนายแสนปม ท้าวอู่ทองจึงยกนางสามสีให้ และได้พากันมา อยู่กับนายแสนปม นายแสนปมตามเรื่องที่เล่ามานี้คือท้าวแสนปม จะเปลี่ยนจากนายแสนปมเป็นท้าว แสนปมตอนใดมิได้กล่าวถึง บ้างก็เล่าว่าธิดาของท้าวอู่ทอง ชื่อว่านางตะเภาทอง
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
.............เป็นตำนานพื้นบ้านที่ชาวบ้านอู่ตะเภาเล่าสืบต่อกันมา เนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาของเมืองอู่ตะเภา และลากเข้าความให้เหมือนปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ส่วนสถานที่ต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในตำนานยังคงพอ เห็นสภาพได้ ณ เมืองอู่ตะเภา ซึ่งเป็นเมืองโบราณคดีที่สำคัญเมืองหนึ่งในสมัยทวาราวดี

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

Monday, December 21, 2009

ตำนาน พญากง พญาพาน นครปฐม [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนานเรื่อง พญากง-พญาพาน เป็นตำนานที่เกี่ยวข้องกับองค์พระปฐมเจดีย์ พระเจดีย์ พระประโทน และตำบลดอนยายหอม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
เนื้อเรื่อง
.............มีพญากงเป็นเจ้าเมืองนครชัยศรี มีพระมเหสีรูปโฉมงดงามเมื่อพระมเหสีทรงพระครรภ์โหรหลวงได้ทำนายว่าจะได้พระ ราชโอรสเป็นผู้มีบุญ และจะได้เป็นใหญ่ภายหน้า แต่จะเป็นผู้ฆ่าพระราชบิดาเมื่อครบ กำหนดพระมเหสีก็ประสูติพระกุมาร ขณะที่ข้าราชบริพารได้เอาพานไปรองรับ บังเอิญหน้าผากของพระกุมาร
กระทบขอบพานเป็นแผล พญากงได้สั่งให้นำพระกุมารไปทิ้งตามยถากรรม ยายหอมไปพบเข้านำไปเลี้ยงไว้ และตั้งชื่อว่า พาน ครั้นพานโตขึ้นยายหอมก็นำไปฝากให้เล่าเรียนที่วัดโคกยายหอม พานเป็นเด็กฉลาด สมภารวัดผู้เป็นอาจารย์จึงรักใคร่เอ็นดูมีวิชาอะไรก็สอนให้หมด
อาจารย์ได้นำพานไปฝากให้เข้ารับราชการกับพระยาราชบุรี ที่เมืองราชบุรี พานเป็นคนปัญญาดี เรียบร้อยและขยัน จึงเป็นที่โปรดปรานของพระยาราชบุรีมาก จนถึงกับรับไว้เป็นโอรสบุญธรรม สมัยนั้น เมืองราชบุรีขึ้นกับเมืองนครชัยศรี พระยาราชบุรี ต้องส่งเครื่องบรรณาการทุกปี พญาพานเป็นผู้มีฝีมือในการรบจึงชักชวน ให้พระยาราชบุรีแข็งเมืองยกกองทัพไป ปราบพญายาพานเป็นแม่ทัพออกไป รบกับพญายากง ทั้งสองทำยุทธหัตถีกัน ในที่สุดพญากงก็ถูกฟันด้วยของ้าวคอขาดตายในที่รบ เมื่อพญายาพานเข้ายึดเมืองนครชัยศรีได้แล้ว ย่อมได้ทั้งราชสมบัติตลอดจนพระมเหสีของพญายากงด้วย แต่ในขณะที่จะเข้าไปหาพระมเหสีนั้น เทวดาได้แปลงกายเป็นแมวแม่ลูกอ่อนให้ลูกกินนมขวางประตูไว้ แล้วร้องทักเสียก่อน พญายาพานจึงได้อธิษฐานว่า ถ้าพระมเหสีเป็นแม่ของตนจริงก็ขอให้มีน้ำนมไหลซึมออกมา ก็เห็นน้ำนมไหลออกมาจริง จึงได้รู้ว่าทั้งสองเป็นแม่ลูกกัน พญายาพานต้องทำปิตุฆาตฆ่าพระราชบิดา เพราะยายหอมปิดบังความจริงไม่บอกให้รู้ ด้วยโทสะจริต เข้าครอบงำและกรรมนั้นบังตา ทำให้ขาดการยั้งคิด จึงสั่งให้นำยายหอมไปฆ่าเสีย ต่อมาด้วยความสำนึกผิด ที่ได้ฆ่าพระราชบิดาและยายหอมผู้มีพระคุณ จึงได้สร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ สูงชั่วนกเขาเหิน คือ องค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อเป็นการล้างบาปที่ฆ่าพระราชบิดาให้บรรเทาลงบ้าง และสร้างพระประโทนเจดีย์ เพื่อล้างบาปที่ฆ่ายายหอม
คติ / แนวคิด
...............จากเรื่องย่อที่เล่ามาจะเห็นว่า ตำนานพญายากง-พญายาพาน ผูกพันกับที่มาของพระปฐมเจดีย์ ถึงแม้ ว่าพญายากง พญาพาน และยายหอมจะไม่ได้เป็นบุคคลจริง ในประวัติศาสตร์ แต่ด้วยระดับความลึกในเรื่อง ความเชื่อ ที่ได้เล่าขานกันมาร่วมหลายร้อยปี ชาวบ้านส่วนมากจึงเชื่อว่าบุคคลในเรื่องนั้นมีตัวตนจริง ๆ
คติธรรมสำคัญที่ได้จากเรื่องนี้คือ ความกตัญญูรู้คุณบิดามารดาและผู้อุปการะต่างๆ ชี้ให้เห็นบาปบุญ คุณโทษ โดยเฉพาะในส่วนที่กระทำการฆาตกรรมผู้มีพระคุณ


[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนาน พญากง พญาพาน นครปฐม

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนานเรื่อง พญากง-พญาพาน เป็นตำนานที่เกี่ยวข้องกับองค์พระปฐมเจดีย์ พระเจดีย์ พระประโทน และตำบลดอนยายหอม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
เนื้อเรื่อง
.............มีพญากงเป็นเจ้าเมืองนครชัยศรี มีพระมเหสีรูปโฉมงดงามเมื่อพระมเหสีทรงพระครรภ์โหรหลวงได้ทำนายว่าจะได้พระ ราชโอรสเป็นผู้มีบุญ และจะได้เป็นใหญ่ภายหน้า แต่จะเป็นผู้ฆ่าพระราชบิดาเมื่อครบ กำหนดพระมเหสีก็ประสูติพระกุมาร ขณะที่ข้าราชบริพารได้เอาพานไปรองรับ บังเอิญหน้าผากของพระกุมาร
กระทบขอบพานเป็นแผล พญากงได้สั่งให้นำพระกุมารไปทิ้งตามยถากรรม ยายหอมไปพบเข้านำไปเลี้ยงไว้ และตั้งชื่อว่า พาน ครั้นพานโตขึ้นยายหอมก็นำไปฝากให้เล่าเรียนที่วัดโคกยายหอม พานเป็นเด็กฉลาด สมภารวัดผู้เป็นอาจารย์จึงรักใคร่เอ็นดูมีวิชาอะไรก็สอนให้หมด
อาจารย์ได้นำพานไปฝากให้เข้ารับราชการกับพระยาราชบุรี ที่เมืองราชบุรี พานเป็นคนปัญญาดี เรียบร้อยและขยัน จึงเป็นที่โปรดปรานของพระยาราชบุรีมาก จนถึงกับรับไว้เป็นโอรสบุญธรรม สมัยนั้น เมืองราชบุรีขึ้นกับเมืองนครชัยศรี พระยาราชบุรี ต้องส่งเครื่องบรรณาการทุกปี พญาพานเป็นผู้มีฝีมือในการรบจึงชักชวน ให้พระยาราชบุรีแข็งเมืองยกกองทัพไป ปราบพญายาพานเป็นแม่ทัพออกไป รบกับพญายากง ทั้งสองทำยุทธหัตถีกัน ในที่สุดพญากงก็ถูกฟันด้วยของ้าวคอขาดตายในที่รบ เมื่อพญายาพานเข้ายึดเมืองนครชัยศรีได้แล้ว ย่อมได้ทั้งราชสมบัติตลอดจนพระมเหสีของพญายากงด้วย แต่ในขณะที่จะเข้าไปหาพระมเหสีนั้น เทวดาได้แปลงกายเป็นแมวแม่ลูกอ่อนให้ลูกกินนมขวางประตูไว้ แล้วร้องทักเสียก่อน พญายาพานจึงได้อธิษฐานว่า ถ้าพระมเหสีเป็นแม่ของตนจริงก็ขอให้มีน้ำนมไหลซึมออกมา ก็เห็นน้ำนมไหลออกมาจริง จึงได้รู้ว่าทั้งสองเป็นแม่ลูกกัน พญายาพานต้องทำปิตุฆาตฆ่าพระราชบิดา เพราะยายหอมปิดบังความจริงไม่บอกให้รู้ ด้วยโทสะจริต เข้าครอบงำและกรรมนั้นบังตา ทำให้ขาดการยั้งคิด จึงสั่งให้นำยายหอมไปฆ่าเสีย ต่อมาด้วยความสำนึกผิด ที่ได้ฆ่าพระราชบิดาและยายหอมผู้มีพระคุณ จึงได้สร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ สูงชั่วนกเขาเหิน คือ องค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อเป็นการล้างบาปที่ฆ่าพระราชบิดาให้บรรเทาลงบ้าง และสร้างพระประโทนเจดีย์ เพื่อล้างบาปที่ฆ่ายายหอม
คติ / แนวคิด
...............จากเรื่องย่อที่เล่ามาจะเห็นว่า ตำนานพญายากง-พญายาพาน ผูกพันกับที่มาของพระปฐมเจดีย์ ถึงแม้ ว่าพญายากง พญาพาน และยายหอมจะไม่ได้เป็นบุคคลจริง ในประวัติศาสตร์ แต่ด้วยระดับความลึกในเรื่อง ความเชื่อ ที่ได้เล่าขานกันมาร่วมหลายร้อยปี ชาวบ้านส่วนมากจึงเชื่อว่าบุคคลในเรื่องนั้นมีตัวตนจริง ๆ
คติธรรมสำคัญที่ได้จากเรื่องนี้คือ ความกตัญญูรู้คุณบิดามารดาและผู้อุปการะต่างๆ ชี้ให้เห็นบาปบุญ คุณโทษ โดยเฉพาะในส่วนที่กระทำการฆาตกรรมผู้มีพระคุณ


[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนาน แม่นาคพระโขนง กรุงเทพ [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]


เนื้อเรื่อง

..............กล่าวถึงครอบครัวเล็ก ๆ ครอบครัวหนึ่ง สามีชื่อมาก ภรรยาชื่อ นาค ทั้ง ๒ ได้ใช้ชีวิตร่วมกันมาอย่างปกติสุข จนนางนาคภรรยาตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่ทิดมากสามีถูกทางราชการเกณฑ์ไปเป็นทหาร ทิดมากจึงต้องทิ้งนางนาคภรรยาซึ่งท้องแก่ไว้เพียงลำพัง ด้วยความล้าสมัยทางการแพทย์ เมื่อถึงเวลาคลอด หมอตำแยที่ทำคลอดไม่สามารถที่จะช่วยชีวิตนางนาคและลูกไว้ได้ ต้องตายท้องกลม ซึ่งทำให้นางนาคเป็น วิญญาณที่มีฤทธิ์เดช บวกกับความบังเอิญของชาวบ้านที่ช่วยกันนำร่างของนางไปฝังไว้ท่ามกลางต้น ตะเคียนคู่ ยิ่งทำให้ฤทธิ์อำนาจเพิ่มขึ้นมากไปอีกถึงเวลาทิดมากปลดประจำการกลับมา วิญญาณของนางนาคซึ่งยังคงรักและห่วงใยสามีอยู่ ก็แปลงร่างเป็นคนเหมือนเดิม คอยต้อนรับและใช้ชีวิตตามปกติเช่นที่เคยเป็นมา ชาวบ้านพยายามที่จะเล่าความจริง
ให้ทิดมากฟัง แต่ทิดมากก็ไม่ยอมเชื่อ จนวันหนึ่งขณะที่แม่นาคกำลังตำน้ำพริกอยู่ เผอิญทำไม้ตีพริกหล่นใต้ถุนไป จึงเอื้อมมือยาวลอดใต้ถุนลงไปเก็บ ทิดมากซึ่งกำลังผ่าฟืนอยู่ เหลือบมาเห็นเข้าจึงได้เชื่อว่าภรรยาตนนั้นเป็นผีจริง ๆ อย่างที่ชาวบ้านพูดจึงเกิดความกลัว และวางแผนที่จะหนีแม่นาคไปอยู่กับชาวบ้าน โดยแอบ
เจาะตุ่มน้ำให้เป็นรูแล้วอุดไว้ ตอนกลางคืนก็ทำทีเป็นเข้าห้องน้ำแล้วดึงก๊อกให้น้ำไหลหลอกแม่นาค ตัวเองวิ่งหนีไปขออาศัยอยู่กับชาวบ้านในหมู่บ้านได้สำเร็จ ซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับแม่นาคมาก ที่ชาวบ้านมาเป็นตัวกีดกันความรักของตนจึงเที่ยวอาละวาดหลอกหลอนผู้คนจนเป็นที่หวาดกลัว และกล่าวขวัญถึงในคลอง
พระโขนงจนไม่มีใครกล้าสัญจรไปมาตามปกติ
......................ในที่สุดมีพระธุดงค์องค์หนึ่งเดินทางผ่านมา ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้พักผ่อนและขอร้องให้ท่านช่วยปราบวิญญาณของแม่นาคที่ กำลังเป็นที่หวาดผวากันอยู่ ซึ่งท่านก็ได้ทำพิธีและสามารถเรียกวิญญาณของแม่นาคลงหม้อดินได้แล้วนำไปทิ้ง ลงในแม่น้ำ เรื่องราวต่าง ๆ จึงได้สงบลงและกลายเป็นเรื่องที่กล่าวขวัญถึงอยู่จน
ปัจจุบันนี้ มีต้นตะเคียนที่เชื่อว่าเป็นที่ ๆ นำร่างของแม่นาคมาฝัง ปรากฎอยู่ทุกวันนี้ ชาวบ้านได้พร้อมใจกันสร้างหุ่น และศาลให้แม่นาคอาศัยกลายเป็นที่พักพิงจิตใจ กราบไหว้บูชาของชาวบ้านในเขตสวนหลวงและใกล้เคียงมาจนปัจจุบัน โดยศาลนั้นตั้งอยู่ในเขตวัดมหาบุศ แขวงอ่อนนุช เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
คติ/แนวคิด
................ความเป็นมาหรือเรื่องเล่าของนิทานเรื่องนี้แสดงถึงความรักและความผูกพันอันบริสุทธิ์ของผู้หญิงคนหนึ่งที่มีต่อสามี แม้ว่าตัวจะตายไปแล้ว แต่วิญญาณที่ยังคงอยู่ ก็ยังรักและห่วงใยติดตามมาอยู่ด้วยเหมือนเดิม แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถฝืนกฎเกณฑ์ของธรรมชาติได้ตลอด ย่อมเป็นไปตามกรรมของแต่ละคน เหนือสิ่งอื่นใดธรรมะย่อมชนะสิ่งต่าง ๆ เสมอ

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

Saturday, December 12, 2009

ตำนาน หลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

.....................ประมาณกาลล่วงมากว่า ๒๐๐ ปี ได้มีพระพุทธรูป ๓ องค์ ปาฏิหาริย์ลงมาจากทางเหนือลอยมาตาม ลำแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นได้มาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางปะกง พอมาถึงบริเวณตำบลบางขวัญ และตำบลบ้านใหม่ ได้แสดงปาฏิหารย์ลอยทวนน้ำให้ชาวบ้านเห็น ต่อมาจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "สามพระทวน" และเพี้ยนมาเป็น "สัมปทวน"ในเวลาต่อมา จากนั้นพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ลอยต่อไปจนถึงคุ้งน้ำ ชาวบ้านพากันใช้เชือกฉุดขึ้นฝั่งแต่ไม่สำเร็จ บริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า "บ้านบางพระ" จากที่นี่ได้ลอยเข้าไปในคลองเล็ก ๆ แล้วลอยวน สถานที่นี่จึงได้ชื่อว่า "แหลมหัววน" จากนั้นชาวบ้านได้อาราธนาพระพุทธรูปขึ้นฝั่งแต่ไม่สำเร็จ จึงทำพิธีตั้งศาลเพียงตาบวงสรวง สามารถอัญเชิญพระพุทธรูปองค์เล็กขึ้นฝั่งได้อย่างง่ายดาย แล้วนำขึ้นประดิษฐานที่วัด ถวายนามพระว่า "พระโสทร" หมายถึงพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ล่วงถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เปลี่ยนเป็น "โสธร" มีความหมายว่าสะอาด
...................... ครั้นแล้วพระองค์พี่ใหญ่ ได้ลอยสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสามเสนในปัจจุบัน กล่าวว่าคนสามแสนช่วยกันฉุดอาราธนาไม่สำเร็จจึง เรียกบริเวณนั้นว่า สามแสน แต่ภายหลังกลายเป็นสามเสน สุดท้ายล่องลอยไปที่แม่น้ำแม่กลอง จังหวัด สมุทรสงคราม รับการอาราธนาขึ้นประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม
.......................... องค์สุดท้ายล่องไปผุดที่จังหวัดสมุทรปราการ ชาวบ้านแถบนั้น อาราธนาขึ้นประดิษฐานที่วัดบางพลี และเรียกว่าหลวงพ่อโต วัดบางพลี เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป
...................... กล่าวกันว่าองค์หลวงพ่อโสธร แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางสมาธิเพชร หน้าตักกว้างศอกเศษ ทรงสวยงาม ต่อมาพระสงฆ์ในวัดเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย จึงพอกปูนเสริมหุ้มองค์จริงไว้ภายในเป็นรูปที่ปรากฏในปัจจุบัน

คุณค่า/แนวคิด/สาระ
.......................การสร้างตำนานพระลงน้ำเป็นกลวิธีหนึ่งของคนในสมัยก่อน ที่พยายามสร้างสานความสัมพันธ์ทาง สังคมแก่ผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ ในลักษณะเชื่อมโยงสภาพภูมิศาสตร์หรือเรื่องราวเหตุการณ์ ให้เป็นเสมือนว่า ต่างก็มีรากเง้าที่ผูกพันกันมาช้านาน เป็นลูกเป็นหลานเป็นญาติมาจากต้นตอเดียวกัน ทำให้เกิดการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนาน กุดนางใย มหาสารคาม [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

........................กุดนางใย เป็นชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญของเมืองมหาสารคาม มาตั้งแต่สมัยพระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืององค์แรก ซึ่งมาตั้งเมืองเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคควบคู่กับแหล่งน้ำ ในหนองท่ม (กระทุ่ม) ที่เรียกว่ากุดเพราะเป็นที่สิ้นสุดของสายน้ำ (กุด แปลว่าด้วนหรือสิ้นสุด) หรือเรียกว่าแม่
น้ำด้วน ปัจจุบัน ตื้นเขินมากคงเหลือเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ใกล้กับกุดนางใยเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษา มหาสารคาม และริมกุดนางใย มีร่องรอยของวัตถุโบราณสันนิษฐานว่าพระเจริญราชเดชสร้างไว้เมื่อครั้งตั้งเมือง ได้แก่เสาหงส์ ซึ่งถือว่าเป็นผู้พิทักษ์เมือง
เนื้อเรื่อง
.........................จากนิทานพื้นบ้านกล่าวว่า ครั้งโบราณที่บริเวณแหล่งน้ำนี้มีครอบครัวหนึ่งตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ มีแม่และลูกชาย ภายหลังได้ลูกสะใภ้มาอยู่ร่วมกัน มาวันหนึ่งลูกชายไปค้าขายทางไกล แม่และลูกสะใภ้อยู่ บ้านเพียง ๒ คน คืนหนึ่งแม่ผัวสังเกตเห็นว่าที่ห้องนอนของ ลูกสะใภ้จุดตะเกียงตลอดคืน ซึ่งเป็นการผิดธรรม
เนียมโบราณ กล่าวคือเมื่อเข้านอนต้อง ดับตะเกียง คืนหนึ่งแม่ผัวสงสัยจึงไปแอบดูว่าลูกสะใภ้ทำอะไรอยู่ในห้อง และเห็นว่า ลูกสะใภ้กำลังสาวใยไหม ออกจากปากตัวเองมาม้วนเข้าฝัก จึงเกิดความหวาดกลัวนึกว่า สะใภ้เป็นภูตผีปีศาจ จึงนำความไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟัง คืนต่อมาแม่ผัวและเพื่อนบ้านจึงมาแอบด ูเพื่อจับผิดลูกสะใภ้ ในที่สุดได้จู่โจมเข้าไปในห้องขณะที่ลูกสะใภ้กำลังสาวไหมออกจากปาก จึงซักถามว่าเป็นใครมา จากไหน เป็นภูติผีปีศาจหรือเปล่า ทำให้ลูกสะใภ้อับอาย จึงหนีออกจากบ้านและโดดลงในลำน้ำนั้นหายไป เมื่อลูกชายกลับมาและรู้ความจริงว่าภรรยาโดดน้ำตาย ณ ที่แห่งนั้นจึงได้แต่ เศร้าโศกเสียใจ เมื่อถึงคืน เดือนหงายจะไปนั่งริมลำน้ำแห่งนี้ และจ้องมองลงไปในสายน้ำ นาน ๆ เข้าก็มองเห็นภรรยาในสายน้ำนั้น และสาวใยไหมออกจากปาก ต่อมาที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่ากุดนางใย (ใยหมายถึงใยไหม)
คติ/แนวคิด
๑. เป็นอุทาหรณ์สอนใจว่า การจะลงโทษใครอย่าผลีผลาม ควรถามสาเหตุและเหตุผลข้อเท็จจริงก่อน
๒. นามของสถานที่ส่วนใหญ่จะมีนิทาน ตำนานประกอบและเป็นที่มาของชื่อสถานที่นั้น ๆ

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนาน พระมอเฒ่า สุรินทร์ [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]


เนื้อเรื่อง
..............พระมอเฒ่า(ตำนาน) เป็นคนที่มีความสามารถสูงในการจับช้างเก่งกว่าคนทั้งหลายตั้งแต่เป็นหนุ่ม จนกระทั่ง ได้รับตำแหน่งสูงสุดเป็นพระมอเฒ่า เมื่อได้รับตำแหน่งเป็นพระมอเฒ่าอันเป็นตำแหน่งทรงเกียรติสูงสุด พระมอเฒ่าจึงได้แต่งงานอยู่กินกับ ผู้หญิงคนหนึ่ง ต่อมาได้กำเนิดบุตรชาย ๑ คน ให้ชื่อว่า ก่อง ซึ่งตามธรรมเนียมประเพณี ของกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง แล้ว ถ้าพระมอเฒ่าได้ลูกคนแรก เป็นผู้ชายบรรดาหมอช้างทั้งหลายก็จะพากันมาแสดงความยินดีและชื่นชม ถือว่าหมอช้างนั้นมีบุญบารมีมาก และหมอช้างทุกคนจะพากันเอาเปลือกไม้กระโดนมารองรับพร้อมกับยก ตำแหน่งสูงสุดให้ โดยไม่ต้องไต่เต้า ถ้าได้ลูกคนแรกเป็นหญิงทุกคนจะเสื่อมศรัทธา ในครั้งนี้เมื่อพระมอเฒ่าได้ ลูกคนแรกเป็นชาย จึงสร้างความยินดีให้กับพระมอเฒ่ายิ่งนัก พระมอเฒ่ามีลูกชายได้ตำแหน่งอันยิ่งใหญ่นี้ ต่อจากตน พระมอเฒ่าคิดอยู่เสมอว่าทำอย่างไรลูกชายของตนจึงจะมีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถสูงใน การจับช้างเหมือนตน
.................ตามตำนานได้กล่าวเอาไว้ว่านายก่อง ลูกพระมอเฒ่าเคยเกิดเป็นช้างมาก่อน ต่อมาหมอช้างคล้องมาได้ จึงได้มาตายในหมู่บ้าน ด้วยสาเหตุอันใดไม่ทราบชัด พอเกิดใหม่มาเป็นลูกพระมอเฒ่าจึงระลึกชาติได้ เมื่อก่องเติบโตขึ้น ย่างเข้าสู่วัยหนุ่มพระมอเฒ่าต้องการฝึกให้ก่องมีความเชี่ยวชาญตามความสามารถในการจับช้าง วันหนึ่งพระมอเฒ่าจึงชวนภรรยาและลูกชายออกไปฝึกหัดจับช้างในป่า โดยไม่ได้บอกกล่าวให้หมอช้างคนอื่น ๆ รู้เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา สามคนพ่อ แม่ ลูก ได้เดินทางถึงป่าดงช้างจึงแวะเข้าไปพักใกล้กับต้นไม้ใหญ่ ซึ่งมีชื่อว่า ต้นมุงมังใหญ่ ที่พวกหมอช้างเรียกว่า จังรมย์ หรือ ที่พักของพวกหมอช้าง เมื่อเก็บสัมภาระเป็นที่เรียบร้อยพระมอเฒ่า จึงให้ภรรยาอยู่เฝ้าจังรมย์ทำหน้าที่หุงหาอาหาร รอตนกับก่องกลับมา พิธีการคล้องช้างหรือพิธีออกไปโบดช้างหรือโพนช้าง ก็เริ่มขึ้นระหว่าง พระมอเฒ่า ผู้ทำหน้าที่เป็นหมอ ขี่คอช้าง ก่อง เป็น มะ ขี่ท้ายช้าง ในระหว่างเดินทางเข้าป่าก่อง ได้พูดกับพ่อพระมอเฒ่าว่า ขอให้พ่อคล้องเอา แม่ช้างแล้วลูกช้างจะตามมาเอง ท่านพระมอเฒ่าก็พยายามพูดให้ก่องเข้าใจว่า โดยธรรมเนียมการคล้องช้าง นั้นไม่ให้คล้องเอาแม่ช้างเพราะช้างจะอยู่ในป่าเพื่อก่อเกิดลูกตัวใหม่ และอีกอย่างหนึ่งแม่ช้างมีพละกำลังมาก และฝึกยากลำบากกว่าลูกช้างด้วย พ่อกับลูกก็ถกเถียงกันด้วยเหตุผลดีทั้งคู่ เมื่อเดินทางมาได้สักพักจึงพบเห็นช้างโขลงหนึ่ง ในช้างโขลงนั้นมีอยู่เชือกหนึ่ง ซึ่งจากการระลึกชาติได้ ของก่องทำให้ทราบทันทีว่าเป็นแม่ของตน เมื่อชาติปางก่อน ฝ่ายมอพระเฒ่าเมื่อเห็นช้างเชือกนั้นมีลูกเล็ก ๆ ก็อยากได้ลูกช้างเชือกนั้นจึงขับไล่เข้าไป ประชิดตัวอย่างไม่ลดละความพยายาม ในขณะที่พระมอเฒ่าทำหน้าที่ไล่ต้อนช้างป่าอยู่นั้น ก่องก็ ตะโกนบอกพระมอเฒ่าว่า "พ่อจ๋าขอให้พ่อคล้องเอาแม่ช้างเถิดอย่าได้คล้องเอาลูกมันเลยเพราะถ้าคล้องเอา
ลูกช้างอย่างเดียวก่องจะเกิดความสงสารแม่ช้างมาก ที่ต้องพาลูกวิ่งหนีเอาชีวิตให้รอด ด้วยระลึกชาติได้ที่ตัวเอง เคยเป็นลูกช้างและประสบชะตากรรมเช่นนี้มาก่อน จึงตัดสินใจกระโดดขึ้นบนหลังช้างป่าที่เคยเป็นแม่ของตนวิ่งเข้าไปในป่าพร้อม กัน โดยไม่อาลัยอาวรณ์และเป็นห่วงพระมอเฒ่าแต่อย่างไร ในขณะที่พระมอเฒ่าขับช้างไล่ตามก่องไปนั้น พระมอเฒ่าก็ร้องตะโกนเรียกให้ก่องกลับมาแต่ก่องทำเป็นไม่สนใจ ส่วนช้างป่าเมื่อมีคนกระโดด ขึ้นขี่บนหลังแล้วยิ่งตกใจแตกตื่นวิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว วิ่งเร็วขึ้น ๆ จนระยะระหว่างพระมอเฒ่ากับก่องห่างออกไปทุกขณะ พระมอเฒ่าจึงได้แต่ร้องเรียก "ก่องเอย" ก่องก็ขานรับแว่ว ๆ ว่า "กูก" …….ก่องเอย ……กูก….ในที่สุดเสียงขานรับของลูกชายก็จางหายไปเพราะแม่ช้างพาก่องเข้าไปใน ป่าลึกแล้ว เมื่อ พระมอเฒ่าตามลูกชายไม่ทันแล้ว พระมอเฒ่าจึงหวนกลับไปหาภรรยาที่เฝ้ารออยู่ที่จังรมย์ แต่แล้วอนิจจา พระมอเฒ่ากลับมาถึงจังรมย์ ได้พบแต่รอยเลือดและเศษเนื้อกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พระมอเฒ่าก็รู้แล้วว่า เสือได้เข้ามากัดกินภรรยาของตน มีเหลือเพียงเศษเนื้อส่วนแขนของนางเท่านั้น พระมอเฒ่าซึ่งหมดสิ้นแล้วทุกอย่าง ลูกก็เสียเมียก็ตาย พระมอเฒ่า จึงเก็บเอาส่วนแขนนางที่เหลือมาผูกมัดไว้ที่บ่วงบาศเดินทางกลับบ้าน ด้วยความสลดรันทดใจเหลือที่จะพรรณนาได้
เมื่อพระมอเฒ่ากลับมาถึงบ้าน บรรดาหมอช้างทั้งหลายต่างก็มาถามข่าวคราวทุกข์สุขของท่านที่ออก ป่าคนเดียว พระมอเฒ่าจึงตอบว่าเราหมดสิ้นแล้วทุกอย่างในชีวิตพร้อมกับตำแหน่งพระมอเฒ่า ท่านทั้งหลาย อย่ามาถามอะไรเราเลย บรรดาหมอช้างทั้งหลายต่างก็มองเห็นความเศร้าโศกเสียใจของพระมอเฒ่า จึงต่างก็ร่วมแสดงความเสียใจ ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน ฝ่ายพระมอเฒ่าได้ประกาศขึ้นท่ามกลางที่ประชุม หมอช้างทั้งหลายว่า เราหมดสิ้นแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง ต่อไปท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวถึงเราอีกเลย เราขอฝากส่วนที่เป็นบ่วงบาศมีแขนนางติดไว้ด้วย ถ้าเข้าป่า ให้พูดถึงก่องทุกครั้งเพราะเขาได้เป็นเจ้าของช้างทุกเชือกใน ป่าแล้ว และเวลาฝึกหัดช้างทุกครั้งก็ให้เรียกถึงก่องด้วยทุกครั้งเช่นกัน
พระครูปะกำเมื่อเห็นเป็นเช่นนั้น จึงเข้าไปรับคำสั่งอาสาที่จะรับและรักษาประเพณีนี้เอาไว้โดยจะไม่อนุญาต ให้พ่อกับลูกเข้าป่าไปด้วยกัน และจะไม่อนุญาตให้นำภรรยาไปด้วย นอกจากนั้นหากช้างเชือกใดถูก
หมอช้างคล้องมาได้ก็จะไม่อนุญาตให้หมอช้างคนนั้นนั่งคอช้างเข้าป่าเด็ดขาด ดังนั้นระเบียบประเพณีการคล้องช้างเช่นนี้ จึงมีไว้จนถึงปัจจุบันโดยนับถือพระครูปะกำเท่านั้น พระมอเฒ่าจะไม่มีอีกต่อไป
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
...................ตำนานพระมอเฒ่าเป็นนิทานพื้นบ้านของชาวกูยอะจืง (กูยผู้เลี้ยงช้าง) ที่ยึดถือว่าผีปะกำหรือพระครูปะกำ คือวิญญาณอันสูงสุดที่คอยปกป้องคุ้มครองช้าง ส่วนชื่อ ก่อง ลูกชายของพระมอเฒ่า ที่มีอดีตชาติเป็นลูกช้าง ผู้ตามหาแม่นั้น ได้รับการยกย่องให้เป็นวิญญาณคอยปกป้องช้างป่า ปัจจุบันหมอช้างชาวกูยจะเอ่ยชื่อก่องร่วมในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับช้าง เป็นเยี่ยงอย่างในเรื่องความกตัญญูได้อย่างดี

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

Thursday, December 10, 2009

ตำนาน พระมอเฒ่า สุรินทร์

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]


เนื้อเรื่อง
..............พระมอเฒ่า(ตำนาน) เป็นคนที่มีความสามารถสูงในการจับช้างเก่งกว่าคนทั้งหลายตั้งแต่เป็นหนุ่ม จนกระทั่ง ได้รับตำแหน่งสูงสุดเป็นพระมอเฒ่า เมื่อได้รับตำแหน่งเป็นพระมอเฒ่าอันเป็นตำแหน่งทรงเกียรติสูงสุด พระมอเฒ่าจึงได้แต่งงานอยู่กินกับ ผู้หญิงคนหนึ่ง ต่อมาได้กำเนิดบุตรชาย ๑ คน ให้ชื่อว่า ก่อง ซึ่งตามธรรมเนียมประเพณี ของกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง แล้ว ถ้าพระมอเฒ่าได้ลูกคนแรก เป็นผู้ชายบรรดาหมอช้างทั้งหลายก็จะพากันมาแสดงความยินดีและชื่นชม ถือว่าหมอช้างนั้นมีบุญบารมีมาก และหมอช้างทุกคนจะพากันเอาเปลือกไม้กระโดนมารองรับพร้อมกับยก ตำแหน่งสูงสุดให้ โดยไม่ต้องไต่เต้า ถ้าได้ลูกคนแรกเป็นหญิงทุกคนจะเสื่อมศรัทธา ในครั้งนี้เมื่อพระมอเฒ่าได้ ลูกคนแรกเป็นชาย จึงสร้างความยินดีให้กับพระมอเฒ่ายิ่งนัก พระมอเฒ่ามีลูกชายได้ตำแหน่งอันยิ่งใหญ่นี้ ต่อจากตน พระมอเฒ่าคิดอยู่เสมอว่าทำอย่างไรลูกชายของตนจึงจะมีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถสูงใน การจับช้างเหมือนตน
.................ตามตำนานได้กล่าวเอาไว้ว่านายก่อง ลูกพระมอเฒ่าเคยเกิดเป็นช้างมาก่อน ต่อมาหมอช้างคล้องมาได้ จึงได้มาตายในหมู่บ้าน ด้วยสาเหตุอันใดไม่ทราบชัด พอเกิดใหม่มาเป็นลูกพระมอเฒ่าจึงระลึกชาติได้ เมื่อก่องเติบโตขึ้น ย่างเข้าสู่วัยหนุ่มพระมอเฒ่าต้องการฝึกให้ก่องมีความเชี่ยวชาญตามความสามารถในการจับช้าง วันหนึ่งพระมอเฒ่าจึงชวนภรรยาและลูกชายออกไปฝึกหัดจับช้างในป่า โดยไม่ได้บอกกล่าวให้หมอช้างคนอื่น ๆ รู้เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา สามคนพ่อ แม่ ลูก ได้เดินทางถึงป่าดงช้างจึงแวะเข้าไปพักใกล้กับต้นไม้ใหญ่ ซึ่งมีชื่อว่า ต้นมุงมังใหญ่ ที่พวกหมอช้างเรียกว่า จังรมย์ หรือ ที่พักของพวกหมอช้าง เมื่อเก็บสัมภาระเป็นที่เรียบร้อยพระมอเฒ่า จึงให้ภรรยาอยู่เฝ้าจังรมย์ทำหน้าที่หุงหาอาหาร รอตนกับก่องกลับมา พิธีการคล้องช้างหรือพิธีออกไปโบดช้างหรือโพนช้าง ก็เริ่มขึ้นระหว่าง พระมอเฒ่า ผู้ทำหน้าที่เป็นหมอ ขี่คอช้าง ก่อง เป็น มะ ขี่ท้ายช้าง ในระหว่างเดินทางเข้าป่าก่อง ได้พูดกับพ่อพระมอเฒ่าว่า ขอให้พ่อคล้องเอา แม่ช้างแล้วลูกช้างจะตามมาเอง ท่านพระมอเฒ่าก็พยายามพูดให้ก่องเข้าใจว่า โดยธรรมเนียมการคล้องช้าง นั้นไม่ให้คล้องเอาแม่ช้างเพราะช้างจะอยู่ในป่าเพื่อก่อเกิดลูกตัวใหม่ และอีกอย่างหนึ่งแม่ช้างมีพละกำลังมาก และฝึกยากลำบากกว่าลูกช้างด้วย พ่อกับลูกก็ถกเถียงกันด้วยเหตุผลดีทั้งคู่ เมื่อเดินทางมาได้สักพักจึงพบเห็นช้างโขลงหนึ่ง ในช้างโขลงนั้นมีอยู่เชือกหนึ่ง ซึ่งจากการระลึกชาติได้ ของก่องทำให้ทราบทันทีว่าเป็นแม่ของตน เมื่อชาติปางก่อน ฝ่ายมอพระเฒ่าเมื่อเห็นช้างเชือกนั้นมีลูกเล็ก ๆ ก็อยากได้ลูกช้างเชือกนั้นจึงขับไล่เข้าไป ประชิดตัวอย่างไม่ลดละความพยายาม ในขณะที่พระมอเฒ่าทำหน้าที่ไล่ต้อนช้างป่าอยู่นั้น ก่องก็ ตะโกนบอกพระมอเฒ่าว่า "พ่อจ๋าขอให้พ่อคล้องเอาแม่ช้างเถิดอย่าได้คล้องเอาลูกมันเลยเพราะถ้าคล้องเอา
ลูกช้างอย่างเดียวก่องจะเกิดความสงสารแม่ช้างมาก ที่ต้องพาลูกวิ่งหนีเอาชีวิตให้รอด ด้วยระลึกชาติได้ที่ตัวเอง เคยเป็นลูกช้างและประสบชะตากรรมเช่นนี้มาก่อน จึงตัดสินใจกระโดดขึ้นบนหลังช้างป่าที่เคยเป็นแม่ของตนวิ่งเข้าไปในป่าพร้อม กัน โดยไม่อาลัยอาวรณ์และเป็นห่วงพระมอเฒ่าแต่อย่างไร ในขณะที่พระมอเฒ่าขับช้างไล่ตามก่องไปนั้น พระมอเฒ่าก็ร้องตะโกนเรียกให้ก่องกลับมาแต่ก่องทำเป็นไม่สนใจ ส่วนช้างป่าเมื่อมีคนกระโดด ขึ้นขี่บนหลังแล้วยิ่งตกใจแตกตื่นวิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว วิ่งเร็วขึ้น ๆ จนระยะระหว่างพระมอเฒ่ากับก่องห่างออกไปทุกขณะ พระมอเฒ่าจึงได้แต่ร้องเรียก "ก่องเอย" ก่องก็ขานรับแว่ว ๆ ว่า "กูก" …….ก่องเอย ……กูก….ในที่สุดเสียงขานรับของลูกชายก็จางหายไปเพราะแม่ช้างพาก่องเข้าไปใน ป่าลึกแล้ว เมื่อ พระมอเฒ่าตามลูกชายไม่ทันแล้ว พระมอเฒ่าจึงหวนกลับไปหาภรรยาที่เฝ้ารออยู่ที่จังรมย์ แต่แล้วอนิจจา พระมอเฒ่ากลับมาถึงจังรมย์ ได้พบแต่รอยเลือดและเศษเนื้อกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พระมอเฒ่าก็รู้แล้วว่า เสือได้เข้ามากัดกินภรรยาของตน มีเหลือเพียงเศษเนื้อส่วนแขนของนางเท่านั้น พระมอเฒ่าซึ่งหมดสิ้นแล้วทุกอย่าง ลูกก็เสียเมียก็ตาย พระมอเฒ่า จึงเก็บเอาส่วนแขนนางที่เหลือมาผูกมัดไว้ที่บ่วงบาศเดินทางกลับบ้าน ด้วยความสลดรันทดใจเหลือที่จะพรรณนาได้
เมื่อพระมอเฒ่ากลับมาถึงบ้าน บรรดาหมอช้างทั้งหลายต่างก็มาถามข่าวคราวทุกข์สุขของท่านที่ออก ป่าคนเดียว พระมอเฒ่าจึงตอบว่าเราหมดสิ้นแล้วทุกอย่างในชีวิตพร้อมกับตำแหน่งพระมอเฒ่า ท่านทั้งหลาย อย่ามาถามอะไรเราเลย บรรดาหมอช้างทั้งหลายต่างก็มองเห็นความเศร้าโศกเสียใจของพระมอเฒ่า จึงต่างก็ร่วมแสดงความเสียใจ ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน ฝ่ายพระมอเฒ่าได้ประกาศขึ้นท่ามกลางที่ประชุม หมอช้างทั้งหลายว่า เราหมดสิ้นแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง ต่อไปท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวถึงเราอีกเลย เราขอฝากส่วนที่เป็นบ่วงบาศมีแขนนางติดไว้ด้วย ถ้าเข้าป่า ให้พูดถึงก่องทุกครั้งเพราะเขาได้เป็นเจ้าของช้างทุกเชือกใน ป่าแล้ว และเวลาฝึกหัดช้างทุกครั้งก็ให้เรียกถึงก่องด้วยทุกครั้งเช่นกัน
พระครูปะกำเมื่อเห็นเป็นเช่นนั้น จึงเข้าไปรับคำสั่งอาสาที่จะรับและรักษาประเพณีนี้เอาไว้โดยจะไม่อนุญาต ให้พ่อกับลูกเข้าป่าไปด้วยกัน และจะไม่อนุญาตให้นำภรรยาไปด้วย นอกจากนั้นหากช้างเชือกใดถูก
หมอช้างคล้องมาได้ก็จะไม่อนุญาตให้หมอช้างคนนั้นนั่งคอช้างเข้าป่าเด็ดขาด ดังนั้นระเบียบประเพณีการคล้องช้างเช่นนี้ จึงมีไว้จนถึงปัจจุบันโดยนับถือพระครูปะกำเท่านั้น พระมอเฒ่าจะไม่มีอีกต่อไป
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
...................ตำนานพระมอเฒ่าเป็นนิทานพื้นบ้านของชาวกูยอะจืง (กูยผู้เลี้ยงช้าง) ที่ยึดถือว่าผีปะกำหรือพระครูปะกำ คือวิญญาณอันสูงสุดที่คอยปกป้องคุ้มครองช้าง ส่วนชื่อ ก่อง ลูกชายของพระมอเฒ่า ที่มีอดีตชาติเป็นลูกช้าง ผู้ตามหาแม่นั้น ได้รับการยกย่องให้เป็นวิญญาณคอยปกป้องช้างป่า ปัจจุบันหมอช้างชาวกูยจะเอ่ยชื่อก่องร่วมในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับช้าง เป็นเยี่ยงอย่างในเรื่องความกตัญญูได้อย่างดี



[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนาน กุดนางใย มหาสารคาม [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

เนื้อเรื่อง

........................กุดนางใย เป็นชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญของเมืองมหาสารคาม มาตั้งแต่สมัยพระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืององค์แรก ซึ่งมาตั้งเมืองเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคควบคู่กับแหล่งน้ำ ในหนองท่ม (กระทุ่ม) ที่เรียกว่ากุดเพราะเป็นที่สิ้นสุดของสายน้ำ (กุด แปลว่าด้วนหรือสิ้นสุด) หรือเรียกว่าแม่
น้ำด้วน ปัจจุบัน ตื้นเขินมากคงเหลือเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ใกล้กับกุดนางใยเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษา มหาสารคาม และริมกุดนางใย มีร่องรอยของวัตถุโบราณสันนิษฐานว่าพระเจริญราชเดชสร้างไว้เมื่อครั้งตั้งเมือง ได้แก่เสาหงส์ ซึ่งถือว่าเป็นผู้พิทักษ์เมือง
เนื้อเรื่อง
.........................จากนิทานพื้นบ้านกล่าวว่า ครั้งโบราณที่บริเวณแหล่งน้ำนี้มีครอบครัวหนึ่งตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ มีแม่และลูกชาย ภายหลังได้ลูกสะใภ้มาอยู่ร่วมกัน มาวันหนึ่งลูกชายไปค้าขายทางไกล แม่และลูกสะใภ้อยู่ บ้านเพียง ๒ คน คืนหนึ่งแม่ผัวสังเกตเห็นว่าที่ห้องนอนของ ลูกสะใภ้จุดตะเกียงตลอดคืน ซึ่งเป็นการผิดธรรม
เนียมโบราณ กล่าวคือเมื่อเข้านอนต้อง ดับตะเกียง คืนหนึ่งแม่ผัวสงสัยจึงไปแอบดูว่าลูกสะใภ้ทำอะไรอยู่ในห้อง และเห็นว่า ลูกสะใภ้กำลังสาวใยไหม ออกจากปากตัวเองมาม้วนเข้าฝัก จึงเกิดความหวาดกลัวนึกว่า สะใภ้เป็นภูตผีปีศาจ จึงนำความไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟัง คืนต่อมาแม่ผัวและเพื่อนบ้านจึงมาแอบด ูเพื่อจับผิดลูกสะใภ้ ในที่สุดได้จู่โจมเข้าไปในห้องขณะที่ลูกสะใภ้กำลังสาวไหมออกจากปาก จึงซักถามว่าเป็นใครมา จากไหน เป็นภูติผีปีศาจหรือเปล่า ทำให้ลูกสะใภ้อับอาย จึงหนีออกจากบ้านและโดดลงในลำน้ำนั้นหายไป เมื่อลูกชายกลับมาและรู้ความจริงว่าภรรยาโดดน้ำตาย ณ ที่แห่งนั้นจึงได้แต่ เศร้าโศกเสียใจ เมื่อถึงคืน เดือนหงายจะไปนั่งริมลำน้ำแห่งนี้ และจ้องมองลงไปในสายน้ำ นาน ๆ เข้าก็มองเห็นภรรยาในสายน้ำนั้น และสาวใยไหมออกจากปาก ต่อมาที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่ากุดนางใย (ใยหมายถึงใยไหม)
คติ/แนวคิด
๑. เป็นอุทาหรณ์สอนใจว่า การจะลงโทษใครอย่าผลีผลาม ควรถามสาเหตุและเหตุผลข้อเท็จจริงก่อน
๒. นามของสถานที่ส่วนใหญ่จะมีนิทาน ตำนานประกอบและเป็นที่มาของชื่อสถานที่นั้น ๆ

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

นิทาน ฟานด่อน สกลนคร [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

เนื้อเรื่อง
..........................เดิมเมืองสกลนครปรากฏนามว่า เมืองหนองหารหลวง ซึ่งมีอดีตนิทานแห่งองค์สัมมาสัมพุทธโคดม บรมครูเจ้าของเรา
เมื่อศาสนาพระเจ้ากัสสป ขุนขอมราชบุตรเจ้าเมืองอินทปัฐนคร ได้พาครอบครัวบ่าวไพร่ของตนมาสร้างเมืองขึ้นที่ริมหนองหารหลวง ตรงท่านางอาบสมมุตินามว่าเมืองหนองหารหลวง ขุนขอมได้เป็นเจ้าเมืองขึ้น กับเมืองอินทปัฐนครขุนขอมมีราชบุตรคนหนึ่งชื่อสุรอุทกกุมาร คือ เมื่อวันประสูติมีอัศจรรย์บังเกิดขึ้นมีน้ำ พุเกิดขึ้นในที่ใกล้กับเมืองนั้น บิดาจึงให้นามว่า ซ่งน้ำพุ ต่อมาพอพระชนม์ของเจ้าสุรอุทก จำเริญวัฒนาครบ
๑๕ พรรษา ขุนขอมผู้เป็นบิดาถึงแก่กรรม ฝ่ายกรมการราษฎร พร้อมกันเชิญเจ้าสุรอุทกขึ้นเป็นเจ้าเมือง สมมุตินามว่า พระยาสุรอุทก พระยา
สุรอุทก ปกครองบ้านเมืองต่อมามีบุตรชายสององค์ องค์พี่ปรากฏนามว่าเจ้าภิงคาร องค์น้องปรากฏนามว่า เจ้าคำแดง ในวันหนึ่งพระยาสุรอุทก มีคำสั่งให้เสนาข้าราชการจัดรี้พลโยธาออกตรวจอาณาเขตบ้านเมืองของตน ครั้นตรวจไปถึงปากน้ำมูลนที ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับเขตอินทปัฐนคร เสนาข้าราชการทูลชี้แจงว่าที่นี้เป็นที่ แบ่งเขตเมืองหนองหารหลวงกับเมืองอินทปัฐนครตามลำน้ำมูลนทีจรดดงพระยาไฟ ขุนขอมซึ่งเป็นบิดาของพระองค์ กับเจ้าเมืองอินทปัฐนครได้มอบอำนาจให้ธนมูลนาค เป็นผู้รักษาอาณาเขตต่อไป
............................... พระสุรอุทกทรงพิโรธว่า ปู่กับบิดามอบอำนาจให้ธนมูลนาค ซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉานรักษาอาณาเขตบ้าน เมืองยังไม่สมควร พระยาสุรอุทกชักพระขรรค์คู่กำเนิด ออกทำฤทธิ์ไต่ไปบนห้วงน้ำมูลนทีและแกว่งพระขรรค์ แสดงฤทธิ์ข่มขู่ ธนมูลนาคโกรธก็ทำฤทธิ์แสดงตนให้พระยาสุรอุทกเห็นเป็นอัศจรรย์ต่าง ๆ นานา ในขณะนั้น การแสดงฤทธิ์ต่างคนต่างไม่หยุดหย่อนท้อถอยซึ่งกันและกัน พระยาสุรอุทกก็ยกรี้พลโยธากลับบ้านเมืองของ ตน ฝ่ายธนมูลนาคก็ยังไม่ลืมความโกรธ จึงจัดกำลังโยธาเพื่อนงูทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจของตนติดตามพระยา
สุรอุทกไปถึงหนองหารหลวง สำแดงฤทธิ์พลโยธาทั้งหลายให้เป็นฟานเผือกขาวงามบริสุทธิ์ทุกตัวเดินผ่าน เมืองไปที่โพธิ์สามต้น ชาวเมืองทั้งหลายเห็นจึงนำเหตุขึ้นกราบเรียนพระยาสุรอุทก พระยาสุรอุทกไม่มีความตรึกตรองอย่างหนึ่งอย่างใด สั่งให้นายพรานทั้งหลายไปช่วยกันล้อมจับเป็น
มาถวาย ถ้าจับไม่ได้ให้จับตาย นายพรานรับคำสั่งแล้วพร้อมทั้งราษฎรหลายคนติดตามไปจนถึงโพธิ์สามต้น จึงพบฝูงฟานเผือก นายพรานจัดคนเข้าล้อมฝูงนาคที่สำแดงตัวเป็นฟาน ฟานต่างหลบหนีกำบังตัวหายไป ยัง อยู่แต่ธนมูลนาคตัวเดียว ธนมูลนาคทำทีหลอกล่อนายพรานกับกำลังโยธาเข้าไปในป่าพอถึงหนองบัวสร้าง นาคฟานก็ทำทีเป็นเจ็บขา นายพรานกับพวกก็เข้าล้อมจะจับเอาเป็นก็ไม่ได้ จึงยิงด้วยหน้าไม้อันมีลูกปืนผสม ด้วยยาพิษ ลูกปืนถูกฟานเผือกเข้าที่สำคัญ ธนมูลนาคคิดว่าจะสู้รบกับพลไม่รู้เดียงสาก็เสียฤทธิ์จึงสูบเอาดวง
จิตออกจากกาย ฟานเผือกก็ถึงแก่ความตาย
................................ พอฟานเผือกตายแล้ว พระยานาคก็ทำฤทธิ์ให้ร่างกายฟานเผือกใหญ่โตเท่ากับช้างสาร ฝ่ายนายพราน เห็นได้ที ก็ให้กำลังโยธาเจ้ายกหามเอาซากศพฟานเผือกยกก็ไม่ไหวโดยความหนักเกินประมาณ นายพรานก็จัดกำลังเข้าลากเอาศพฟานเผือกลงมาทางโพธิ์สามต้น ครั้นถึงริมหนองหารหลวง จะชักลากซากศพฟาน เผือกสักเท่าใดก็ไม่ไหวจริง ๆ นายพรานจึงใช้ม้าเร็วนำเหตุไปกราบเรียนพระยาสุรอุทก พระยาสุรอุทกมีคำสั่ง
ให้เอาเนื้อมาถวาย นายพรานพร้อมโยธาและพลเมืองโดยมากเข้าเถือเนื้อฟานเผือก ๓ วัน ๓ คืน ก็ไม่หมด เนื้อฟานยังงอกทวีขึ้นเสมอจนคนในเมืองได้รับประทานทั่วกัน
ฝ่ายพระยาสุรอุทกได้รับประทานเนื้อฟานเผือก ก็มีความยินดีปรีเปรมเกษมสุข เพราะเป็นเนื้อที่มีรส หวานอร่อยดีกว่าเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ฝ่ายพระยานาคเมื่อรวบรวมกำลังโยธาได้แล้วก็ยังไม่หายความโกรธ พากัน ทำฤทธิ์มุดลงไปในน้ำหนองหารหลวง พอเวลากลางคืนคนในเมืองนอนสงัดเงียบดี พระยานาคกับกำลังรี้พล ขุดแผ่นดินเมืองให้ล่มลงเป็นน้ำเจือหนองหารหลวง พระยานาคก็ตรงเข้าจับพระยาสุรอุทกได้ ก็พารี้พลผูก
ด้วยบ่วงบาศพันธนาการชักลากลงไปที่ธนนทีแม่น้ำโขง พระยานาคพารี้พลชักลากพระยาสุรอุทก เลี้ยวไปงอ มาคดไปอ้อมมา เพื่อจะทรมานร่างกาย ให้พระยาสุรอุทกถึงแก่ความตายโดยลำบากเวทนา พอถึงแม่น้ำโขง พระยาสุรอุทกก็ถึงแก่มรณะภัย พระยานาคก็เอาศพพระยาสุรอุทก ไปถวายเจ้าเมืองอินทปัฐ ซึ่งเป็นเชื้อสาย วงศ์เดิม
.................................. ฝ่ายเมืองหนองหารหลวง เจ้าภิงคาร เจ้าคำแดง กับญาติวงศ์ข้าราชการ ชาวประชาชนซึ่งรู้สึกตัวก่อนจมน้ำ ก็ต่างคนต่างว่ายน้ำออกไปอาศัยอยู่ตามเกาะดอนกลางหนองหาร (ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่า เกาะดอนสวรรค์) ซึ่งเหลือจากกำลังนาคทำร้ายไม่หมด เจ้าภิงคารเจ้าคำแดงก็พาญาติวงศ์บ่าวไพร่ ขี่แพข้ามมาตั้งพักพลกำลังโยธาอยู่ที่โพนเมือง ริมหนองหารหลวงข้างทิศใต้ เจ้าภิงคารเจ้าคำแดง พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ ไป
ตรวจหาชัยภูมิที่จะตั้งบ้านสร้างเมือง เห็นว่าคูน้ำลอดเชิงชุมเป็นที่ชัยภูมิดี และเป็นที่ประชุมรอยพระพุทธบาทด้วย เจ้าภิงคารจึงตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ข้าพเจ้าจะพาครอบครัวมาตั้งบ้านสร้างเมืองขึ้นที่ภูน้ำลอดนี้ เพื่อปฏิบัติรอยพระพุทธบาทด้วย ขอให้เทพยดาผู้มีฤทธิ์ จงช่วยอภิบาลบำรุงให้บ้านเมืองวัฒนาถาวรต่อไป
ในขณะนั้นมีพญานาคตัวหนึ่ง ชื่อว่าสุวรรณนาค ซึ่งเป็นผู้รักษารอยพระพุทธบาท ทำฤทธิ์เกล็ดเป็นทองคำผุดขึ้นมาจากพื้นพสุธาดล อภิเศกให้เจ้าภิงคารเป็นเจ้าเมืองหนองหารหลวง ให้พระนามว่าพระยาสุวรรณภิงคาร ก็ได้ราชาภิเษกกับพระนางนารายณ์เจงเวงราชธิดาของเจ้าเมืองอินทปัฐนครเป็น เอกมเหสี
พระยาภิงคารได้ครองบ้านเมืองโดยสวัสดิภาพ หนทางที่พระยาธนมูลนาค ชักลากพระยาสุรอุทกลงไปหาแม่น้ำโขงนั้น ก็กลายเป็นคลองน้ำไหลจาก
หนองหารหลวงตกแม่น้ำโขง คนทั้งหลายจึงเรียกคลองนั้นว่า คลองน้ำกรรม (หรือที่เรียกกันว่า ลำน้ำก่ำ) เพราะพระยานาคทรมาน ทรกรรมพระยาสุรอุทก ให้ถึงแก่มรณะภัยที่นั้น ส่วนหนทางที่นายพรานกับชาวเมือง ชักลากศพฟานเผือกลงมา ก็กลายเป็นคลองน้ำไหลตกลงในหนองหารหลวง คนทั้งหลายเรียกคลองนั้นว่า
คลองน้ำลาก
.................................... ฝ่ายเมืองหนองหารน้อย ไม่มีผู้ครองบ้านเมือง เสนาอำมาตย์จึงทำพิธีอธิษฐานเสี่ยงราชรถหาผู้ครองบ้านเมืองต่อไป รถอันเทียมด้วยม้ามีกำลังก็พามาสู่หนองหารหลวง ราชรถเข้าไปเกยที่วังเจ้าคำแดง เสนาอำมาตย์จึงทูลเชิญเจ้าคำแดงไปเป็นเจ้าเมืองหนองหารน้อย เมืองหนองหารน้อยกับเมืองหนองหาร หลวงจึงเป็นไมตรีพี่น้องกัน
คติ/แนวคิด
นิทานเรื่องฟานด่อนหรือเก้งเผือกให้แนวคิดและคติหลายประการ เช่น
๑.แนวคิดเรื่องสัตว์มีฤทธิ์ ในหมู่ชนกลุ่มที่อาศัยตามที่ลุ่ม มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เชื่อว่ามีสัตว์ที่สำคัญ คือพญานาค พญานาคอาจแสดงฤทธิ์ทำให้พื้นดินกลายเป็นห้วยหนองคลองบึงก็ได้ การเกิดหนองหารหลวง ซึ่งกว้างใหญ่เกิดจากพญานาคถล่มเมืองเดิมให้จมลงในหนองน้ำ ซึ่งเป็นการอธิบายการเกิดหนองน้ำของคน สมัยโบราณ
๒.เพื่อให้สมจริง นิทานพื้นบ้านเรื่องนี้ได้เขียนชื่อสถานที่ให้สอดคล้องกับชื่อในนิทานและชื่อหมู่บ้าน เช่น บ้านหนองบัวสร้าง บ้านโพธิ์สามต้น บ้านโพนเมือง ลำน้ำก่ำ เป็นต้น ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสนุก สนานที่มีชื่อบ้านเมืองปรากฏในนิทานและเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง
๓.เป็นการบอกให้ทราบถึงวัฒนธรรมการกินของชาวอีสานที่ชอบรับประทานเนื้อสัตว์ เช่น เก้ง แต่ใน ขณะเดียวกันสัตว์ที่มีลักษณะประหลาด เช่น สัตว์มีสีขาวเผือก หากรับประทานจะมีโทษต่อร่างกายและสังคม เกิดความหายนะได้ ความเชื่อเช่นนี้ทำให้ชาวอีสานถือว่าหากมีสัตว์ประหลาดเช่นนี้เข้าหมู่บ้านต้องทำพิธีขับ
ไล่เสนียดจัญไร
๔.เป็นการบอกให้ทราบว่า แต่เดิมชุมชนในสกลนครเป็นชนกลุ่มขอมมาปกครองก่อนที่จะมีชนกลุ่มอื่น ๆ เข้ามาอาศัยในเวลาต่อมา

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนาน ชื่อเมืองนครราชสีมา นครราชสีมา [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

เนื้อเรื่อง
.....................ตำนานชื่อเมืองนครราชสีมา กล่าวว่าที่นครอินทปัต พระโคตมมหาราช ผู้ครองนครได้สั่งให้ ขุนสิงหฬสาคร ไปค้าขายทางทะเล ขุนสิงหฬสาครได้นำพ่อค้าจำนวน ๕๐๐ คน พร้อมสินค้ามากมายลงเรือสำเภา เดินทางไปได้เจ็ดเดือนเรือก็หยุดนิ่งอยู่ ๑๕ วัน แต่แล้วก็เกิดลมพายุพัดเอาเรือสำเภานั้นออกมหาสมุทรไป พายุได้พัดเอาเรือสำเภานี้ไปถึงเมืองของ พระกาฬ ชื่อ เมืองกุเวร ซึ่งเป็นเมืองที่สวยงาม ปราสาทและกำแพงล้วนแล้วแต่เป็นเงินทองสุกเหลืองอร่าม พ่อค้าทั้งหลายก็ดีใจว่าเรารอดตายแล้ว จึงพากันขึ้นจากเรือไปซื้อหาอาหารกินแล้วกลับมาเรือ บอกแก่ ขุนสิงหฬสาครว่าได้พบผู้หญิงคนหนึ่ง หน้าตาเหมือนกับนายผู้หญิง ขุนสิงหฬดีใจรีบขึ้นจากเรือไปดูก็พบเมีย ของตนจริง ๆ ทั้งสองต่างดีใจร้องไห้รักกัน แล้วนางจึงบอกว่า นางได้ตายไปแล้ว เพราะตอนที่ท่านจากมานั้น นางท้องอ่อน ๆ อยู่ พอท้องได้แปดเดือนพระกาฬได้มาเอาชีวิต เป็นผีมาเฝ้าเมืองนี้ แล้วบอกความจริงว่า ท่าน และชาวพาณิชทั้งหลายจะตายภายใน ๗ วัน ขอให้รีบหนีไป แล้วนางก็บอกว่าก่อนนางสิ้นใจ ท่านได้ฝาก
ทรัพย์ คือ เงิน ๒๐ ชั่ง ทอง ๑ ชั่ง ข้าผู้ชาย ๙ คน ข้าผู้หญิง ๑๐ คน ไว้กับน้องสาว เมื่อกลับไปให้ถามเอากับ น้องสาว และขอให้ทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลมาให้นางด้วย แล้วบอกวิธีที่จะรอดชีวิตว่า ให้ขุนสิงหฬสาคร
ทำข้าวตู ข้าวตากใส่ไถ้พันไว้กับตัวแล้วปีนขึ้นไปอยู่บนเสากระโดงเรือ เมื่อพายุพัดเสากระโดงไปฟัดกับกิ่งมะเดื่อ ให้เกาะกิ่งมะเดื่อไว้จึงจะรอดชีวิต ขุนสิงหฬสาครกลับมาที่เรือสำเภาแล้วออกเดินทางตามคำสั่งเมีย เลาะมาตามริมมหาสมุทร เมื่อเสากระโดงฟัดกับกิ่งมะเดื่อจึงปีนขึ้นไปอยู่บนกิ่งนั้น ส่วนเรือสำเภานั้นแล่นไป ได้ ๗ วัน ก็ตกลงท้องมหาสมุทร ลูกเรือและนายพาณิชทั้งหมดสิ้นชีวิต ขุนสิงหฬสาครอยู่บนกิ่งมะเดื่อต้นใหญ่ นั้นนานวัน กินแต่ลูกมะเดื่อ จึงปีนตามเครือเถาวัลย์ลงมา ๗ วันถึงโคนต้น เห็นราชสีห์ยืนอยู่ก็ตกใจกลัวมาก เอาลูกมะเดื่อขว้างไปยังราชสีห์ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง จึงรู้ว่าราชสีห์ตาย จึงลงมาผลักให้ล้มลง แล้วเอาดาบเถือ หนังราชสีห์แบกไต่ตามแนวป่าขึ้นมากินแต่ข้าวตู ถึง ๑๕ วัน ถึงเมืองด่าน ชาวด่านนำไปพบเจ้าเมือง ขุนสิงหฬสาครเล่าความแต่ต้น และได้หนังราชสีห์มาแต่ป่าหิมพานต์ เจ้าเมืองจึงเถือเอาหนังราชสีห์ไว้หน่อย หนึ่ง ขุนสิงหฬสาครเดินทางผ่านเมืองต่าง ๆ ทุกเมืองก็จะเถือแบ่งเอาหนังราชสีห์ไว้ เมื่อมาถึงเมืองอินทปัต หนังราชสีห์จึงเหลือเท่าพรมปูนั่งเท่านั้น ขุนสิงหฬสาครนำหนังราชสีห์ถวายพระเจ้าโคตมมหาราชแล้วเล่า
เหตุการณ์ พระเจ้าโคตมมหาราช ก็พระราชทานเงินทองมากมาย แล้วทูลลามาบ้านของตน สอบถามข้าไท และน้องสาวก็ได้ความจริงดังที่เมียสั่งไว้ทุกประการ ชื่อของเมืองนี้จึงได้นามตามที่ขุนสิงหฬสาครคอนหนังราชสีห์ มาเป็นคอนราชสีห์มา และนครราชสีมาตามลำดับ
คติ/แนวคิด
......................ตำนานเรื่องนี้ คือ ความพยายามที่จะอธิบายประวัติศาสตร์ชื่อบ้านนามเมืองอย่างมีเหตุมีผลมากขึ้น แทนตำนานท้องถิ่น ที่ดูไม่ค่อยสมเหตุสมผล ตำนานชื่อเมืองนครราชสีมา อ้างถึงเรื่องในพงศาวดารเหนือว่า ขุนสิงหฬสาครซึ่งพระเจ้าโคตมกรุงอินทปัตสั่งให้ไปค้าขาย ได้หนังราชสีห์คอนบ่ามาทางนี้ เมืองนี้จึงชื่อว่า เมืองคอนราชสีห์มา แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวินิจฉัย ชื่อเมืองนครราชสีมาว่า ชื่อเมือง นครราชสีมาเกิดจากชื่อเมืองเก่าสองเมือง คือ เมืองโคราฆะกับเมืองเสมา ซึ่งเป็นเมืองเก่า ก่อนที่จะย้ายมา อยู่ที่เมืองนครราชสีมาปัจจุบัน เมื่อย้ายมาแล้ว จึงเอาชื่อของทั้งสองเมืองมาตั้งเป็นชื่อเมือง นอกจากเหตุผลที่ รองรับความเชื่อเรื่องชื่อเมืองนครราชสีมานั้นแล้ว ยังมีเหตุผลของการเรียกชื่อเมืองนครราชสีมาอีกชื่อหนึ่งคือ เมืองโคราช

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนาน การสร้างปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ศรีสะเกษ [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

เนื้อเรื่อง
.......................เล่ากันว่า….ศรีสุกรรมากำเสตงงิ ได้รับพระราชทานเมืองวิเภทะจากพระบาทกมรเตงกันดวนอัญ ศรีสุริยะวรมันเทวะ (พระเจ้าสุริยะวรมันที่ ๑) เมื่อปีมหาศักราช ๙๕๙ หรือ พ.ศ. ๑๕๘๐ พร้อมกับพระราชทานชื่อเมือง ให้ใหม่ว่า "กุรุเกษตร" ศรีสุกรรมากำเสตงงิ มีมเหสีนามว่า พระนางศรีเทวี มีบุตรีวัยแรกรุ่นนามว่า ไตภัทระ (นางสาวภัทระ) เมื่อครองเมืองกุรุเกษตรแล้วคราวหนึ่งออกตรวจราชการและเที่ยวป่าเดินทางมา ถึง สดุกอำพึล เมืองในอาณาเขตปกครอง จึงตั้งค่ายพักแรมข้างสระน้ำได้พบว่าในสระน้ำนั้นศักดิ์สิทธิ์ ช่วยให้ผู้อาบกินมีสุขภาพพลานามัยดี เวลานั้นได้รับข่าวว่าพระเจ้าสุริยะวรมันให้เข้าเฝ้า จึงเข้าเฝ้าพร้อมกับนำ ไตภัทระบุตรีไปด้วย เพื่อจะถวายบุตรีเป็นข้าบาทบริจาริกา แต่เมื่อพระเจ้าสุริยะวรมันทรงทราบเรื่องสระน้ำ ศักดิ์สิทธิ์แล้ว ให้รู้สึกแปลกพระทัย จึงตรัสสั่งให้สร้างเทวาลัย และให้พราหมณาจารย์ทำพิธีอัญเชิญมหาเทพ มาสถิตย์ ณ ที่นั้น เพื่อให้ชาวเมืองสักการะบูชา บวงสรวง ให้ไตภัทระเป็นข้าบาทแด่องค์มหาเทพ และพระราชทานนามไตภัทระเป็น "พระเทวีศรีกุรุเกษตร" เพื่อเป็นพลีกรรมบวงสรวง "ศรีพฤทเธศวร" เทวรูปแห่ง "กัมรเดงชคตศรีพฤทเธศวร" หรือปราสาทหินสระกำแพงใหญ่นั้นเอง
........................ปัจจุบันปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ตั้งอยู่ในวัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย มีอายุราว ๑,๓๐๐ ปี เชื่อกันว่า ณ สถานที่แห่งนี้คือ ส่วนหนึ่งของอดีตกาลอันรุ่งเรืองของเมืองศรีสะเกษ ตำนานการ สร้างปราสาทหินสระกำแพงใหญ่นี้ จังหวัดศรีสะเกษได้จัดแสดง แสง เสียง ในงานเทศกาลดอกลำดวนเป็น ประจำทุกปี โดยความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทำให้เทศกาลดอกลำดวนยิ่งใหญ่ตระการตา และสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนอย่างมิรู้ลืม
คติ/แนวคิด
๑. การบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นความเชื่อที่ทำให้คนแสดงความกตัญญูต่อบรรพชน
๒. การสร้างเทวสถานต้องอาศัยบารมีจากผู้นำจึงจะสำเร็จ
๓. สระน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นกุศโลบายไม่ให้ประชาชนทำความสกปรกลงไปในน้ำ

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนาน นางผมหอม เลย [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]


เนื้อเรื่อง

.........................มีหญิงสาวคนหนึ่งชื่อนางผมหอม เป็นลูกของพญาช้างกับสาวชาวบ้านคนหนึ่ง ซึ่งตอนคลอดออกมา นางจะมีกลิ่นผมหอม แม่จึงตั้งชื่อ "นางผมหอม" นางผมหอมมีน้องสาวชื่อนางลุน ตั้งแต่เกิดมานางผมหอม ไม่เคยเจอพ่อ เมื่อโตขึ้นได้ชวนน้องไปตามหาพ่อ ก็เจอกับพญาช้าง พญาช้างพิสูจน์หาลูกของตัวเองโดยให้
ปีนขึ้นบนหลังตนนางผมหอมปีนขึ้นได้ แต่นางลุนปีนขึ้นไม่ได้จึงถูกพญาช้างเหยียบตาย ต่อมานางผมหอมได้ไปอยู่ที่ปราสาทกับพญาช้าง วันหนึ่งนางได้ลงเล่นน้ำที่ลำธาร เมื่ออาบน้ำเสร็จจึง เอาเส้นผมใส่ในผอบทองลอยน้ำไป ท้าววรจิตรลูกชายเจ้าเมืองฮ่มขาว ได้ไปอาบน้ำเจอผอบเปิดออกเห็นเส้น
ผมมีกลิ่นหอม ก็หลงรักเจ้าของเส้นผมขึ้นมาทันที จึงนำผอบตามหาเจ้าของเส้นผม ในที่สุดได้เจอกับนางผมหอม ทั้งสองจึงตกลงไปอยู่ด้วยกันที่ปราสาทจนกระทั่งมีลูกชายด้วยกัน โดยไม่บอกให้พญาช้างรู้ ทำให้พญา ช้างทราบทีหลังและตรอมใจตาย นางผมหอมได้เอากระดูกของพญาช้างมาทำเป็นเรือทองคำกลับเมือง ระหว่างทางได้กับเจอนางโพง นางโพงได้ดึงนางผมหอมตกน้ำ แล้วแปลงเป็นนางผมหอมเข้าเมือง แต่นางผมหอมไม่ตายได้มาอาศัยอยู่กับยาย และให้ยายพาลูกชายของตนมาพบได้เล่าความจริงให้ลูกฟังทั้งหมดว่านางผมหอมที่ อยู่กับพ่อนั้นไม่ใช่ตัวจริง ฝ่ายลูกชายจึงเล่าเรื่องราวให้ผู้เป็นพ่อทราบและท้าววรจิตรจึงฆ่านางโพงตาย แล้วรับเอานางผมหอมเข้ามาอยู่ด้วยกันที่เมืองอย่างมีความสุขตลอดมา

คติ / แนวคิด
............................นางผมหอมเป็นนิทานที่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับสัญชาตญาณของความผูกพันทางสายเลือด ซึ่งจะเห็นได้ว่า นางผมหอมมาพบพญาช้างได้ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเห็นหน้าและรู้จักกันมาก่อน เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรักของ พ่อแม่ที่ยิ่งใหญ่ดั่งพญาช้างที่มีความรักต่อลูกคือนางผมหอม แม้กระทั่งตัวตายก็ยังรักและห่วงลูกอยู่เสมอ

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

Wednesday, December 9, 2009

ตำนาน ทุ่งกุลาร้องไห้ ร้อยเอ็ด [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]


เนื้อเรื่อง
..................นานมาแล้วยังมีเมืองใหญ่เมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองจำปากนาคบุรี มีพญาครองเมืองชื่อว่า พญาพรหมทัต มเหสีชื่อ พระนางจันทาเทวี มีลูกสาวชื่อว่า นางแสนสี และมีหลานชื่อว่า นางคำแพงทั้งสองได้ชวนกันไปเล่นน้ำ ที่ทะเลหลวงกว้างใหญ่ (ทุ่งกุลาร้องไห้ในปัจจุบัน) โดยมีผู้อารักขาชื่อว่าจ่าแอ่น มีชายหนุ่มสองคนชื่อท้าวฮาดคำโปง และท้าวทอน ทั้งสองได้ไปเรียนวิชาอาคมกับพระฤาษีที่ป่าหิมพานต์ เมื่อเรียนจบจึงได้เดินทาง กลับมาบ้านเมืองของตน มาถึงฝั่งทะเลหลวง ไม่มีเรือข้ามจึงได้ใช้คาถาเสกเป่าฟางให้เป็นเรือสำเภา ทั้งสองได้นั่งมา ฟังเสียงคลื่นและลมพัดมาด้วยความสุขใจ จักกล่าวถึงเมืองจำปากนาคบุรี มีนาคตนหนึ่งเป็นพญาเฝ้าดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของเมืองให้ ประชาชนอยู่ด้วยความสงบตลอดมา ส่วนนางแสนสี นางคำแพง กับจ่าแอนไปเล่นน้ำที่แม่น้ำทะเลหลวงกว้าง ใหญ่ท้าวฮาดคำโปงและท้าวทอน ได้ขี่สำเภามาพบจึงเกิดความรักต่อนางแสนสีและนางคำแพงผู้หลาน จึงได้
เกี้ยวพาราสี และทั้งหมดได้ตกลงปลงใจพากันขึ้นสำเภาหนีไป พญาพรหมทัต ทราบข่าวจากทหารว่ามีคนเก่ง กล้าสามารถมาลักลูกสาวหนีไป จึงได้ไปบอกพญานาคให้ช่วยเหลือ พญานาคจึงเห็นว่าถ้าไม่อยากให้สำเภาแล่นไปได้ก็ ต้องทำให้น้ำทะเลเหือดแห้ง ดังนั้นพญานาค จึงดูดน้ำทะเลออกหมดทำให้ทะเลเหือดแห้งไป เมื่อ ทะเลแห้งแล้วท้าวฮาดและท้าวทอนได้พานางแสนสีและนางคำแพงพร้อมด้วยจ่าแอ่นเดินทางไปตั้งบ้านแห่ง
หนึ่งและพักอยู่ที่นั้นจึงได้ชื่อว่าบ้านแสนสี (ปัจจุบันบ้านแสนสีอยู่ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย) จากนั้นได้เดินทางมาถึงริมป่าลำธารแห่งหนึ่ง และได้ข้ามลำธารไปยังโนนบ้านแห่งหนึ่งจ่าแอ่นเกิด ความเมื่อยล้าจึงไม่ขอเดินทางไปกับนางแสนสีและนางคำแพง ขอพักอยู่บ้านแห่งนั้นต่อมาจ่าแอ่นได้เสียชีวิต
ชาวบ้านได้ฝังร่างจ่าแอ่นไว้ที่บ้านแห่งนั้นและตั้งชื่อว่าบ้านจ่าแอ่น (ปัจจุบันคือบ้านแจ่มอารมณ์ อำเภอเกษตรวิสัย) ทั้งสี่คนเดินทางมาถึงเขตป่าดง ท้าวฮาดคำโปงกับท้าวทอนได้ต่อสู้กันเองเพราะรักนางแสนสีคนเดียวกัน ท้าวฮาดคำโปงจึงได้ถูกท้าวทอนฆ่าตาย ที่กลางทุ่งจึงได้เรียกหมู่บ้านในที่นั้นว่าบ้านฮาด (ต่อมาเป็นบ้านฮาด อำเภอเกษตรวิสัย) ด้วยความอาฆาตวิญญาณของท้าวฮาดจึงได้เป็นผีโป่ง (ผีหัวแสง) ตามไล่ท้าวทอนใน เวลากลางคืน ท้าวทอนพานางแสนสี และนางคำแพงหนีไปบริเวณทางตะวันตกที่เป็นทุ่งกว้างใหญ่ ด้วยความอ่อนเพลียทั้งสามได้นอนหลับอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ท้าวทอนและนางแสนสีตื่นก่อน จึงได้ปล่อยให้นางคำแพงอยู่ เพียงคนเดียว และต่อมาจึงได้เรียกชื่อทุ่งนี้ว่า ทุ่งป๋าหลาน (อำเภอพยัคฆภูมิพิสัยในปัจจุบัน) ฝ่ายพระอินทร์ได้ออกมาส่องญาณวิเศษดูโลกมนุษย์ ได้มองเห็นทะเลหลวงแห้ง และพวกปลาหอย กุ้ง และ สัตว์น้ำนานาชนิดได้ ตายเน่าเหม็นจึงได้บอกนกอินทรีย์มากินปลาที่ทะเลหลวง นกอินทรีย์ได้กินปลา หอย ถ่ายออกเป็นก้อนขนาดใหญ่มีอยู่ทั่วไปตามทุ่ง ชาวบ้านเรียกว่าขี้นกอินทรีย์ นกอินทรีย์กินปลา หอย ในทะเลหลวงหมดแล้วก็ไม่มีอาหารกินจึงได้ไปขอรางวัลจากพระอินทร์ ๆ ก็ให้ช้างเป็นอาหารเป็นรางวัล นกอินทรีย์แย่งกัน หมู่หนึ่งคาบหัวไปกินทิ้งหัวไว้กลายเป็นป่าดง ต่อมาเรียกว่า ดงหัวช้าง (ปัจจุบันคือบ้านหัวช้างในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน) ส่วนอีก หมู่หนึ่งคาบได้เท้าช้างไปกินแถว ดงแห่งหนึ่งชื่อว่า ดงเท้าสาร (เขตอำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน) และอีกส่วนหนึ่งก็เป็น เขตดงช้าง มีช้าง มากมาย (ปัจจุบันคือบ้านดงช้าง อำเภอปทุมรัตต์) ท้าวทอนและนางแสนสี ได้กลับมายังเมืองจำปากนาคบุรี มาพบแต่เมืองร้าง เพราะประชาชนหนีไป เนื่องจากกลัวนกอินทรีย์ พญานาคก็ดำดินหนีไปอยู่ที่แดนไกลเขตแม่น้ำโขง พญาพรหมทัตกับนางจันทราเทวี ก็สิ้นพระชนม์ด้วยความคิดถึงลูกมาก ท้าวทอนและนางแสนสีได้รวมไพร่พล และประชาชนที่เหลืออยู่ มาบูรณะสร้างเมืองจำปากนาคบุรี ขึ้นใหม่ สร้างพระธาตุพันขันขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับบิดา มารดา และไถ่บาปให้กับตนเอง ทั้งสองก็ได้ครอง เมืองสืบต่อมาอย่างมีความสุขตราบจนสิ้นชีวิต

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนาน จำปาสี่ต้น ขอนแก่น [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]


เนื้อเรื่อง

........................มีเมืองใหญ่อยู่เมืองหนึ่งถูกพญาเหยี่ยวรุ้ง ซึ่งอยู่ในหุบเขาไม่ไกลนักบินมาโฉบประชาชนกินเป็นประจำ ประชาชนพลเมือง จะต่อสู้ด้วยอาวุธต่าง ๆ อย่างไรก็สู้พญาเหยี่ยวรุ้งไม่ได้ เจ้าเมืองจึงเอาพระธิดาซ่อนไว้ใน กลองใบใหญ่ พลเมืองนอกจากนั้นก็รอต่อสู้กับพญาเหยี่ยวรุ้ง ผลสุดท้ายถูกพญาเหยี่ยวรุ้งโฉบไปกินหมด พระเจ้าจุลมณีซึ่งเป็นกษัตริย์อีกเมืองหนึ่ง เสด็จมาพบโดยบังเอิญจึงได้อัญเชิญพระธิดาไปอภิเษกเป็น พระมเหสี ให้นามว่า พระนางคำกลอง เพราะพบอยู่ในกลอง เมื่อนางคำกลองประสูติพระโอรส ๔ พระองค์ พร้อมกัน แล้วนางก็ถูกกลั่นแกล้งจากพระมเหสีองค์เก่าชื่อว่า นางอัคคี จนต้องพลัดพรากไปอยู่กับตายายที่ ท้ายเมือง เมื่อนางอัคคีทราบเรื่องก็ให้นางสนมนำขนมใส่ยาพิษไปเบื่อ ๔ กุมารจนเสียชีวิตหมด เมื่อนำไปฝัง ดินก็เกิดเป็นต้นจำปา ๔ ต้น มีดอกหอมไปทั่วเมือง นางอัคคีก็ให้คนไปใช้อุบายถอนต้นจำปาทั้งสี่ต้นลอยน้ำ
ไป พระฤาษีซึ่งบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่กลางป่ามองเห็นด้วยญาณวิเศษว่า ต้นจำปาทั้งสี่ต้นนั้นเป็นคนจึงได้ ช่วยชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ แล้วสอนวิชาอาคมให้จนแก่กล้าแล้ว พระฤาษีจึงให้ ๔ กุมารไปช่วยเหลือแม่คือนาง คำกลอง จากนั้นได้ไปช่วยตายาย และนำกระดูกของพลเมืองที่ถูกพญาเหยี่ยวรุ้งกินทำพิธีชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ อีกครั้งหนึ่ง แล้วตามไปฆ่าพญาเหยี่ยวรุ้งตาย
ปัจจุบัน ชาวขอนแก่นเชื่อว่า พญาเหยี่ยวรุ้งที่มากินมนุษย์นั้นคือไดโนเสาร์ชนิดมีปีก ที่พบโครงกระดูก อยู่ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

คติ/แนวคิด
...........................การกระทำของนางอัคคีพระมเหสีองค์เก่าของพระเจ้าจุลมณีนั้นเป็นการกระทำชั่ว ผลสุดท้ายก็ต้องได้
รับกรรม พญาเหยี่ยวรุ้งและบริวารที่บินมาโฉบมนุษย์กินนั้น ก็ถูกฆ่าตายหมด

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนาน กล่องข้าวน้อย ยโสธร [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]


เนื้อเรื่อง

................สมัยโบราณนานมาแล้ว สองแม่ลูกทำนาอยู่ที่บ้านตาดทอง ลูกไปไถนาแต่เช้า แม่ก็ไปส่งห่อข้าวช้าผิดปกติ ลูกเกิดหิวจัด เห็นแม่ส่งห่อข้าวช้าและก่องข้าวก็เล็กนิดเดียวกลัวว่าจะกินไม่อิ่ม จึงเกิดบันดาลโทสะ ใช้แอกน้อย ตีแม่จนถึงแก่ความตาย เมื่อแม่ตายแล้วจึงเอาก่องข้าวน้อยมาเปิดกิน ถึงก่องข้าวจะเล็กแต่กินอย่างไร ก็กินไม่หมด ด้วยเหตุนี้ จึงสำนึกผิดจึงได้สร้างธาตุขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์แห่งการสำนึกบาป เรียก ธาตุก่องข้าวน้อย อยู่ที่บ้านตาดทอง ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
................... ตำนานก่องข้าวน้อย เป็นเพียงเรื่องเล่าประกอบกับโบราณสถานที่สำรวจพบ ส่วนใครจะคิดอย่างไร หรือมีวินิจฉัยอย่างไรก็เป็นส่วนที่พึงศึกษาต่อไป

คติ/แนวคิด

.....................ตำนานเรื่องก่องข้าวน้อยให้คติสอนใจในเรื่องความโกรธ ทำให้คนเราขาดความยั้งคิด ฆ่าได้แม้แต่แม่ผู้มีพระคุณ

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

ตำนาน เมืองฟ้าแดดสงยาง กาฬสินธุ์ [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]


เนื้อเรื่อง
......................เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในอดีตมาก่อน มีความอุดมสมบูรณ์ ผู้ปกครองเมืองคือ พญาฟ้าแดด มีพระมเหสีชื่อ พระนางจันทาเทวี (เขียวค่อม) มีพระธิดาชื่อ พระนางฟ้าหยาด เป็นผู้ที่มีสิริโฉม งดงามมาก เป็นที่หวงแหนของพระราชบิดามารดา พญาฟ้าแดดได้ให้ช่างสร้างปราสาทเสาเดียวไว้กลางน้ำ โดยใช้ศิลาแลงในการก่อสร้าง บริเวณนี้ปัจจุบันเรียกว่า "โนนฟ้าแดด" นอกจากนั้นมีการขุดสระไว้รอบเมือง มี คูค่ายและเชิงเนิน มีหอคอยที่แข็งแรง สระที่ขุดไว้ปัจจุบันเป็นหนองน้ำสาธารณะ เมืองลูกหลวงของเมืองฟ้า แดด คือเมืองสงยางมอบให้อนุชาชื่อพญาอิสูรย์ (เจ้าฟ้าระงึม) เป็นผู้ครองเมือง เมืองทั้งสองห่างกัน ๒ กิโลเมตร เลยรวมกันเรียกว่า "เมืองฟ้าแดดสงยาง" เมืองเซียงโสม เป็นเมืองหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับ เมืองฟ้าแดด มีพญาจันทราชเป็นผู้ปกครองและจะมีเทศกาลเล่นหมากรุก และตีคลี เป็นประเพณี ใครแพ้ ชนะ ก็จะส่งส่วยกินเมืองตามประเพณี ครั้งหนึ่งพญาจันทราชได้ออกล่าสัตว์ และต่อไก่ มุ่งหน้าลงมาทางใต้ จนถึงหนองเลิง ได้หลงทางเข้าไปในอุทยานของนางฟ้าหยาด เมื่อพบนางฟ้าหยาดก็เกิดความรักใคร่ชอบพอกัน ครั้นเดินทางกลับเมืองเซียงโสม ได้มอบให้ขุนเล็ง ขุนดาน นำเครื่องบรรณาการมาสู่ขอนางฟ้าหยาด แต่ไม่สำเร็จ พญาจันทราชจึงยกไพร่พล เคลื่อนขบวนทัพมาตีเมืองฟ้าแดดสงยาง โดยขอความช่วยเหลือไปยังเมือง เซียงสง เซียงสา เซียงเครือ ท่างาม น้ำดอกไม้ สาบุตรกุดดอก ให้ส่งกองทัพมาช่วย ฝ่ายพญาฟ้าแดดเมื่อทราบข่าว ก็ขอความช่วยเหลือจากเมืองสงยางผู้เป็นอนุชามาช่วยรบ เมื่อเกิดสงครามคนล้มตายเป็นจำนวนมาก พญาจันทราชสิ้นพระชนม์บนคอช้าง แม่ทัพนายกองที่ติดตามก็ยอมแพ้ เมื่อนางฟ้าหยาดทราบข่าวก็มี ความเศร้าโศกจนสิ้นชีวิตบนปราสาทกลางน้ำ ต่อมาพญาฟ้าแดดได้นำศพของพระนางฟ้าหยาด และศพพญาจันทราชบรรจุลงในหีบทองคำ ตกแต่ง อย่างสมพระเกียรติ ให้สร้างเจดีย์คู่เป็นอนุสรณ์ไว้ ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตก ของโนนเมืองฟ้าแดดสงยาง ก่อนที่จะบรรจุอัฐิของนางฟ้าหยาดกับพญาจันทราช ได้รับสั่งให้ช่างหล่อพระพุทธรูป และเทวรูปทองคำ
จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ประกาศให้ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางหล่อพระพุทธรูปทุกหลังคาบ้าน โดยให้หล่อด้วยทองคำ อิฐ หิน หรือดินเผาแล้วแต่ศรัทธา แล้วบรรจุไว้ที่เจดีย์คู่ เพื่อเป็นการบูชา และล้างบาปที่ได้กระทำไว้ จากนั้นได้มอบให้พญาธรรม ไปครองเมืองเซียงโสม ส่งบรรณาการแก่เมืองฟ้าแดดประจำทุกปี

คติ / แนวคิดคิด

.....................ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยางเป็นตำนาน ที่แสดงให้เห็นถึงเมืองฟ้าแดดสงยางเป็นเมืองที่เคย เจริญรุ่งเรือง มีชื่อมาตั้งแต่โบราณกาล

[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]

Thursday, November 26, 2009

เด็กซิ่งอิง... ธรรมะ อุดม แต้พานิช [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]


[เรื่องเล่า ข้อคิด โน๊ต อุดม]

เมื่อเดือนธันวาคม
2551 ผ่านไปแถวร้านหนังสือ เห็นนิตยสาร Secret หน้าปกเป็นรูป

อุดม แต้พานิช รีบพลิกเข้าไปภายใน อยากรู้ว่าอุดมจะพูดเรื่องอะไรนะ ผมว่า
วิชาสำคัญที่สุดในการเกิดเป็นมนุษย์ คือ วิชาพุทธศาสนา สำคัญกว่าวิชาอื่นที่มนุษย์ทั้งโลกเรียนอยู่ด้วยซ้ำ
[ ...ฮ่า... พูดได้ไง ]
นิตยสารที่นำพุทธศาสนามาย่อยให้อ่านง่าย ปกติหนังสือแนวนี้มีพระทั้งเล่ม หรือ มีตัวหนังสือเยอะมากๆ ทำให้คนยุคนี้เห็นเป็นของยาก แต่ Secret ทำให้เป็นของง่าย
[ ...เอ... สนใยธรรมะด้วยหรือ.... ] ความสำเร็จในการทำเดี่ยวไมโครโฟน คือ สมาธิ[ ... ยังไงล่ะนี่ ... ] กำลังกายเกิดจากการเคลื่อนไหว กำลังใจเกิดจากการหยุด[ ... นั่น ... ]

คนเราถ้าไปนึกถึงอะไร ไอ้สิ่งนั้นจะโต เหมือนไปให้อาหารมัน ถ้านึกถึงความดี ความดีก็จะโต แต่ถ้านึกถึงบาป บาปก็จะโต [... ว้าว . ช่างอุปมาอุปไมยนะโน้ต ... ]
ตอนนั้นบวชเพราะอะไรครับ เกเรครับ เกเรมากจนไม่มีใครเอาเลย แม่เอาไปฝากเลี้ยงบ้านญาติ ญาติก็ไม่เอาเพราะไปขโมยสตางค์เขา กล้าบอกเลยว่าชีวิตของตัวเองเปลี่ยนแปลงได้เพราะได้พบพระพุทธศาสนา ทุกวันนี้เวลาผมอธิษฐาน ผมจะขอทุกครั้งว่า ขอให้ได้เกิดและได้บวชในพระพุทธศาสนาอีกทุกชาติ ขอให้ได้ศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าของแท้ หลังบวชเณรทัศนคติผมเปลี่ยนไปเลย ญาติเห็นแล้วแปลกใจกันหมด แม่ก็งง[ .... ท่านกล้าเผย เรากล้าอ่าน ... ]
อะไรทำให้เด็กเกเรคนหนึ่งเปลี่ยนไปได้ขนาดนั้น ....
[... ตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้ เพราะเกรงเจ้าของร้านจะมองหน้า ที่สำคัญเราอยากอ่านต่อ ... ]

อ่าน Secret จบแล้ว ยังมีคอลัมน์ที่น่าสนใจ แล้วเราก็ส่งให้เพื่อน ๆ อ่านต่อ เพื่อนซี้บอกว่า สนใจเรื่องโน้ตบวชหรือ
?... โน้ตเคยพูดให้น้อง ๆ นักศึกษาฟัง น่าสนใจ จะไปค้นก่อนนะว่าซีดียังอยู่หรือเปล่า


ศาสนาไม่มีจริง
ผมเองเคยคิดว่าศาสนาไม่มีจริง คิดตามความโง่เขลาในวัยโน้น จะมีพระพุทธศานาได้อย่างไร จะมีพระพุทธเจ้าได้อย่างไร คิดว่าทุกเรื่องเป้นนิทานแต่งขึ้นให้คนกลัวบาป ใช้แทนกฎหมายในยุคสมัยโน้น จึงไม่เชื่อเรื่องบุญบาป นรกสวรรค์ คิดดูแคลนว่า ถ้าอยากให้เชื่อก็ไปจับตัวบุญ ตัวบาป มาให้ดูซิ


มิจฉาทิฐิ
เห็นผิดเป็นชอบ

คำว่ากรรม ยิ่งไม่เชื่อหนัก เพราะเกิดแล้วก็ตายหมดในชาตินี้ คนเราก็เหมือน แบคทีเรีย ที่เกิดมาและตายไป ฉะนั้นอยากทำอะไร ก็จงทำไป ตามใจของเรา
พอมีความคิดเป็นมิจฉาทิฐิ คือ เห็นผิดเป็นชอบ
เวลาทำอะไรไป จึงไม่คิดถึงใจคนอื่น และไม่คิดกังวลหรือกลัวว่า สิ่งที่เราทำ ... จะผิดหรือไม่ผิด
เป็นความมั่นใจแบบโง่ ๆ แต่ไปคิดว่าถูกและเท่ห์
ในช่วงเรียนมัธยมผมเป็นคนมีนิสัยลักเล็กขโมยน้อย อะไรที่ขโมยได้ ก็จะขโมย ตอนนั้นเด็กวัยรุ่นแถวบ้านผม ส่วนใหญ่มีจักรยาน BMX แต่บ้านผมไม่มี เพราะแม่ขายส้มตำ เรียกว่าจน
อยากได้จักรยานก็ต้องขโมยเอา เคยร่วมมือกับเพื่อนที่เป็นจิ๊กโก๋ไปขโมยจักรยานอีกโรงเรียนหนึ่ง พอขโมยแล้ว ไม่เคยสนใจว่าเด็กเจ้าของจักรยานคนนั้น จะเดือนร้อนหรือไม่อย่างไร

สำหรับพระ
เวลามองดูพระ ก็ไม่เคยเคารพพระ ตอนนั้นคิดแต่เพียงว่า พระก็เป็นอาชีพหนึ่ง แค่นั้น


หลงทาง เพราะตั้งหางเสือผิด
พอเราคิดแบบนี้การกระทำของเราก็ไปอีกอย่างหนึ่ง หางเสือ พอตั้งผิด ก็ผิดทาง เหมือนเวลาเราหลับตาดำน้ำ ใจคิดว่ากำลังขึ้นผิวเบื้องบน แต่จริงๆ ดำดิ่งลงเบื้องล่าง
ชีวิตผมตอนนั้นก็เป็นไปตามทัศนคติ มีแต่ปัญหา เรื่องปวดหัว ชีวิตสับสนวุ่นวาย ไม่มีหลัก
คิด ไม่รู้จะแก้ปัญหาในชีวิตอย่างไร




มรสุมชีวิตเข้ารุมเร้า

จุดเปลี่ยนชีวิต คือ หนีออกจากบ้าน พอเรามีตวามคิดผิด เราก็ไม่รักแม่
แม่อะไร ... ขอเงินก็ไม่ได้จักรยานก็ไม่ได้เหมือนคนอื่นๆ แบบเรียนก็เป็นมือสอง ทำไมครอบ
ครัวเราจนแบบนี้ เกิดเป็นลูฏแม่คนนี้ มีแต่ลำบาก ลูกคนอื่นทำไมสบาย

วันหนึ่งขโมยเงินแม่ทั้งหมด แล้วหนีออกจากบ้าน ไปอยู่กับญาติที่ ชลบุรี พอไปเจอญาติ ก็
ใส่ร้ายแม่ตัวเองว่า แม่ทรมานเรา เลี้ยงเราไม่ดี เราจึงหนีมา

ญาติก็หาโรงเรียนให้เรียนด้วยความสงสาร อยู่กับญาติไปสักพัก ไปทำความเดือนร้อน
ให้ญาติ

ด้วยนิสัยไม่เชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ ไม่เรียนหนังสือโดดเรียน เล่นไพ่ในห้อง เที่ยวเตร่
คบเพื่อนชั่ว ญาติก็เอือม

จนวันหนึ่งเรียน ปวช ปี 1 มันเอือมตัวเองมากจนไม่ไหว ไปขโมยเงินครั้งสุดท้าย แล้วเขาจับได้ตอนขโมยพอดี ญาติก็ไม่เอาเราแล้ว เราก็เซ็งตัวเอง คือ ไม่รู้จะไปไหน จิตใจไม่มีที่พึ่ง ที่เราจะพึ่งตัวเอง นับถือตัวเอง มันไม่มีอะไรน่านับถือ เรียนที่โรงเรียน โรงเรียนก็ร่ำๆ จะให้พักการเรียน

เผอิญมีคนชวนไปนั่งสมาธิที่วัดบึงบวรสถิต อ.บ้างบึง จ.ชลบุรี ช่วงเวลา 18.30 – 19.30 น. ก็ไปกับเขา ที่ไปนั่งเพราะไม่รู้จะทำอะไร
ก็ไปอย่างนั้นเอง สมาธิคืออะไรก็ไม่รู้จัก พระท่านสอนนั่งสมาธิ แต่เราไม่นั่ง กลับลืมตาดูคนนั่งหลับตา และขำคนนั้น คนนี้ ที่นั่งหลับสัปหงก


ไปวัด เพราะไม่มีที่ไป

ตอนนั้นไปทุกวัน ไม่ใช่เป็นคนดี ไม่ได้เลื่อมใส แต่เพราะไม่มีที่ไป พอตอนเลิกเขาจะแจกน้ำปานะด้วย เราก็พลอยได้กินไปด้วย

อยากบอกว่า
มนุษย์เราโดยทั่วไป โดยจิตลึกๆ โหยหาความดีงาม ชอบสิ่งดีงามอยู่แล้ว ไม่ว่าเป็นโจร หรือมหาโจรก็ตาม ก็แสวงหาสิ่งที่ดีงาม เช่น เวลาเราเห็นใครสักคนจูงคนแก่ข้ามถนน
เรายังรู้สึกดี ผมไปเห็นเขาพับเสื่อที่วัดนี้ เขาช่วยกัน เขายกมือไหว้กันที่วัด พูดจาไพเราะ ผมเห็นก็รู้สึกดี



คบบัญฑิต บัณฑิตพาไปหาตัวเอง

เขาอนุโมทนาบุญกันแรก ๆ ก็งง งงไปสักพักก็หัดทำบ้าง ก็รู้สึกว่าดี ได้รวมยินดีกับคนอื่นที่ทำความดี คือ เหมือนกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้บำบัดเรา ระหว่างนั้นเราได้ยินเขาพูด เรื่อง บุญเรื่องบาป เหมือนเราไม่เชื่อ แต่ก็เริ่มซึมซับ ผมก็เริ่มนั่งบ้าง จากเริ่มนั่งสมาธิ แม้เริ่มนั่งจะไม่เห็นอะไร แต่พอใจสงบแล้วจะเห็นตัวเอง จะเห็นความไม่ดีของตัวเอง
อุปมาเหมือนจิตใจของคนเรา คือ เรา ตักน้ำมาจากคลองแสนแสบ ใจเราจะเหมือนอย่างนั้น คือ มีปัญหาความรัก การเงิน การงาน เราเกลียดคนนั้นคนนี้ มีเรื่องสารพัด ใจเราจะเต็มไปด้วยเรื่องราวหมักหมม

แต่พอทำสมาธิผ่านไป ใจจะนิ่ง เหมือนเราตักน้ำขึ้นมา ธรรมชาติมันจะตกตะกอน
ใจเราเมื่อตกตะกอน จะมีความใสเหมือนผิวน้ำ
แล้วเห็นอะไรต่ออะไร อย่างน้อยก็เห็นตัวเอง

[เรื่องเล่า ข้อคิด โน๊ต อุดม]


ตอนนั้นก็เริ่มรู้สึกว่าไปวัดแล้วสนุกดี ว่างๆ ก็เดินตามพระไปบิณฑบาต

ที่วัดนี้เขาเปิดเทปธรรมะระหว่างฉัน และเทปนั้นเป็นเทศน์ เรื่องมงคลชีวิต 38 ประการ ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าคืออะไร บางวันที่ฟังก็ตรงกับชีวิตของเรา ก็ค่อย ๆ เอาธรรมะที่ฟังมาปรับใช้ในชีวิตตัวเอง
ช่วงนั้นเราได้รับธรรมะ เหมือนเราได้รับ Moisturizer จากผิวชั้นบน จนถึงผิวชั้นล่าง เราเห็นพระ หรือแม่ชี หน้าท่านจะใสสว่างโดยไม่ต้องใช้ครีมไวท์เทนนิ่งใด ๆ ความสว่างนั้นเกิดจากจิตใจที่เบิกบานจาก.ธรรมะนี่เอง


สิ่งที่เราไม่รู้ ไม่ได้แปลว่าไม่มี
เผอิญเขามีการบรรพชาสามเณร ผมก็สมัครกับเขาสักหน่อย ได้เริ่มห่มผ้า
เดินบิณฑบาต สนุกดี ศีลของเณรไม่เยอะมาก แต่เป็นการเริ่มต้นกรุยทางพระพุทธศาสนาอย่างดี

ตอนนั้นก็เริ่มคิดแล้วว่า บุญบาปมันน่าจะมี กรรมก็น่าจะมี ทั้งที่ยังไม่เชื่อทั้งร้อย ดูเหมือนมันมีบางสิ่งบางอย่างที่เราไม่รู้ประกอบกับพระหลายท่านเทศน์ว่า สิ่งที่เราไม่รู้
ไม่ได้แปลว่ามันไม่มี

เหมือนคนตาบอด ถ้าเราไปบอว่ามีสัตว์รูปร่างคล้ายจิ้งจก ชื่อ อีกัวน่า ตัวใหญ่ สีเขียว แผ่คอได้ด้วย คนตาบอดบอกไม่เชื่อ ไม่มี ที่พูดแบบนั้นเพราะเขาไม่เคยเห็น
การไม่เคยเห็น ไม่ใช่ว่ามันไม่มี
เหมือนบุญบาป
ที่เราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น แต่ไม่ใช่ว่ามันไม่มี เพียงแต่ว่าปัญญาของเราเป็นแบบทางโลก เราจึงไม่รู้

บาปกรรมที่เราไม่เคยเห็น
ไม่ได้หมายความว่าไม่มี



เปลี่ยนความคิด ชีวิตผันเปลี่ยน
ผมได้บวชเณรและสึกออกมาเรียนต่อ ใน ช่วงที่ออกมา ผมรู้ได้เลยถึงสภาพแวดล้อมรอบตัว ตั้งแต่ญาติพี่น้อง เพื่อน มีความรู้สึกต่อเราเปลี่ยนไป เหมือนเราได้รับความรักจากคนรอบข้างมากขึ้น เรารู้สึกว่าเราไปเจอสิ่งดีๆ มา ส่วนเพื่อนชั่วๆ ก็ค่อยๆ หายไป และพบว่า คนเรากำหนดตัวเองได้ เช่นถ้าเราเสพยาบ้า เพื่อนยาบ้าก็เข้ามาแล้ว เราเป็นคนแบบไหน ก็ถึงดูดคนแบบนั้นเข้ามา
แล้วผมมีโอกาสมาเรียนต่อที่เพาะช่าง กรุงเทพฯ ช่วงนั่นผมไปวัดปากน้ำ ไปไหว้พระบ้าง
ไปนั่งสมาธิบ้าง อยู่ๆ ก็รักหลวงพ่อวัดปากน้ำขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว รู้สึกว่าชอบวิธีการสอนนั่งสมาธิของท่าน ซ่งเป็นวิธีที่สะดวกกับจริตของผม บางคนชอบเพ่งกสิณ บางคนชอบจงกรม บางคนชอบกำหนดลมหายใจ แต่ละคนจะชอบไม่เหมือนกัน แล้วแต่จริตใคร

ใกล้เรียนจบ ผมมีโอกาสได้ไปทำงานกับสำนักพ์แห่งหนึ่ง อยู่แถวบางกะปิ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายศิลป์ของเขา ช่วยนั้นมีเพื่อนชวนไปใส่บาตรที่ชมรมพุทธฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นเรื่องบังเอิฐที่พระที่มาบิณฑบาตสอนสมาธิแบบหลวงปู่ วัดปากน้ำ ทำให้เราไปเรื่อยๆ
ไปจนตรงกับช่วงที่เขารับสมัครอุปสมบทภาคฤดูร้อน ตอนนั้นคิดว่าอย่างไรก็คงบวชไม่ได้ เพราะติดงานของสำนักพิมพ์แต่ไม่รู้เป็น เพราะอะไรรู้สึกอยากบวชเป็นพระมาก ๆ



3 อยากนี้ ที่ทำให้มาบวช
ที่อยากบวขก็เพราะว่า หนึ่ง คือ อยากทำอะไรให้แม่บ้าง ตั้งแต่เป็นเด็กจนโตมา ผมมีแต่เรื่องทำให้ท่านปวดร้าวทั้งนั้น คิดในใจว่าจะมีอะไรที่ทำให้ผู้หญิงคนนี้ได้บ้างใจคิดอยากทำอะไรให้เขาชื่นใจ ก่อนที่เขาจะตาย
สอง คือ อยากฝึกตนเอง ให้เป็นคนที่เข้าท่ากว่าที่เป็นอยู่ และ สาม คือ
อยากพิสูจน์ว่าพุทธศาสนาเป็นอย่างไร
เราเป็นชาวพุทธแต่ในทะเบียนบ้านเท่านั้น แต่จริงๆ ไม่เคยรู้เลยว่าพุทธศาสนาเป็นอย่างไร
สามอย่างนี้
ทำให้เกิดความรู้สึกอยากบวชมาก ๆ

เพื่อนผมจึงแนะนำให้ผมอธิษฐานจิต
ผมอธิษฐานจิตบ่อยๆ หลังจากนั้น
ไม่เกิน 7 วัน เจ้าของบริษัทมาบอกว่า
ไม่ต้องทำหนังสือแล้ว เราจะปิดบริษัท

เขานึกว่าผมจะเสียใจ ในใจผมนี้ ไชโย คิดว่า

'แหม.... เราจะได้บวชคราวนี้เองสมปรารถนาแล้ว'

สมาธิเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ผมจำได้
ผมอยากบอกว่าสมาธิเป็นสิ่งสำคัญ การทำเดี่ยวไมโครโฟน 3 หรือ 4 ชั่วโมง ต้องอาศัยสมาธิ สมาธิเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ผมจำได้ ผมเองไม่ได้อยากมีภาพลักษณ์คล้ายกับว่าโน้ตเป็นคนดี .... โน้ตใจบุญสุนทาน... นั่งสมาธิเป็นประจำ... โอ้.. โน้ตรักทุกคนไม่อยากเป็นอย่างนั้น แค่เป็นตูดหมึกธรรมดา แต่ผมอยากบอกว่า
สมาธิเป็นเคล็ดลับจริง ๆ ในการดำเนินชิวิต
ซึ่งเรื่องประโยชน์ของสมาธินี้ โน้ตก็เคยให้สัมภาษณ์ไว้ใน Secret ฉบับเดือนธันวาคมว่า
“.... ความสำเร็จในการทำเดี่ยวไมโครโฟน คือ สมาธิ ลำพังตัวผมเองไม่มีปัญญาจำอะไรได้เยอะขนาดนั้นหรอก แต่ผมเคยบวชมาก่อน เวลาต้องการลำดับความคิด หรือคิดอะไรไม่ออก ผมจะนั่งสมาธิ นั่งแค่ช่วงสั้นๆ ก็ช่วยได้
การทำเดี่ยวฯ เต็มไปด้วยปัญหา ผมไม่ได้แค่เขียนบทอย่างเดียว แต่เป็นทั้งผู้แสดง
และทำโปรดักชั่น พอถึงช่วงเขียนบทซึ่งเป็นหัวใจของการทำเดี่ยวฯ สมาธินี่แหล่ะช่วยแยกแยะว่าควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร ก่อนเขียนบททุกครั้ง ทีมงานรู้ว่าผมจะหายตัวไปนั่งสมาธิ ไม่ได้ไปนั่งเขียนบท แต่ไปนั่งนิ่งๆ ผมเชื่อว่า

กำลังกายเกิดจากการเคลื่อนไหว …. กำลังใจเกิดจากการหยุด

นึกถึงเมื่อไร ก็สุขใจ ที่เคยได้เป็นพระ
ผมรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ ที่จะได้ห่มผ้าเหลือง จะได้เป็นพระ และจะมีแม่เรา ที่เราบวชให้เขา และที่เราทุ่มเทฝึกตัวเองมา คือ ทำให้แม่ได้ บวชให้แม่ได้
ถ้าถามว่าทำไมต้องฝึกตัวหนักอย่างนี้ด้วย
พระอาจารย์ก็จะตอบว่าต้องทำตัวเองให้รู้สึกว่าเรากราบตัวเองให้ได้ก่อน เพราะวันนั้นวันบวช แม่เราจะมากราบเรา ยายเราจะมากราบเรา ถ้าตราบใดที่เรายังกราบตัวเองไม่ได้ เราก็จะรู้สึกขึ้นมา

ก่อนบวช... จะมีพิธีกรรมขอขมา นาคเตรียมบวชจะแต่งกายชุดขาวทั้งหมด และกล่าวคำว่า
อุกาสะ... ดังข้าพเจ้าทั้งหลาย... จะขอวโรกาส กราบลา พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพื่อบรรพชา ณ บัดนี้.... ฯลฯ

เป็นการขอขมาลาโทษ เป็นโอกาสที่เราจะได้กล่าวกับพ่อ แม่ของเรา ผมเป็นผู้ชายคนหนึ่งที่ไม่เคยกล่าวคำขอโทษแม่ของผม เมื่ออยู่ในพิธีขอขมา
ความรู้สึก ตาต่อตา แม่ที่ยอมรับ ปิติใจ ที่เห็นลูกเป็นคนดีของเขาอย่างน้อยก็ช่วงหนี่งในชีวิต ภาพต่าง ๆ ที่ผมทำไม่ดีกับแม่ เหมือนนั่งดูหนัง มันกรอกลับมาให้เห็น เรารู้สึกว่า

เราทำไม่ดีกับผู้หญิงคนนี้มามาก

เราทำให้เขาเจ็บช้ำน้ำใจ ทำไม่ดีกับเขามามากมาย

เท่านั้นเอง พอตาต่อตา ประสานกัน

น้ำตาก็ไหล มันเป็นทั้งความสุข ความปิติ

และอยากเป็นพระดี ๆ ให้แม่ได้บุญเยอะๆ

ประทับใจภาพหนึ่ง เช้าวันหนึ่งเราไปบิณฑบาต เห็นคุณยายคนหนึ่งไปเตรียมตักบาตร
พระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าๆ แสงเรืองรอง คุณยายมือสั่นตอนใส่บาตรด้วยความมีอายุ บ้านคุณยายก็ฐานะไม่ค่อยดี แต่มีศรัทธาที่จะตักบาตร ตักข้าวปากหม้อเม็ดงาม ๆ มาถวายพระ ผมเห็นแล้วปิติน้ำตาจะไหล อธิษฐานในใจ ขอให้บุญที่ยายถวายภัตตาหารพระด้วยความนอบน้อม และประณีต และ
บุญที่พระตั้งใจบวช อบรมตัวเองในครั้งนี้ทั้งหมด ขอผลบุญ ดลบันดาลให้คุณยายคนนี้ .... ไม่พบกับความยากจนอีกเลย ไปทุกภพ ทุกชาติ

เลิกหลงทาง ตั้งหางเสือใหม่
บวชแล้วได้แนวทางในการดำเนินชิวิตครับ ซึ่งแต่ก่อนไม่มี แต่ก่อนผมใช้ชีวิตไปเรื่อย ๆ ถ้าเป็นเรือ ก็คือเรือที่อยู่ในท้องมหาสมุทร ที่ไม่มีหางเสือ ถามว่าอยู่บนผิวน้ำได้ไหม อยู่ได้ แต่ไม่มีเป้าหมาย
ล่องลอยไปเรื่อยเปื่อยไม่มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ

แต่การได้บวช เหมือนการที่เราได้ตั้งหางเสือแล้ว เช่นเรา จะไปเกาเสม็ด เราตั้งหางเสือไว้ว่า เราจะไปทางทิศนี้ จะช้า จะเร็ว เราจะไปถึงเกาะเสม็ด
แต่ถ้าชีวิตไม่ได้ตั้งหางเสือ ไม่รู้จะไปไหน สะเปะสะปะ บางคนไปหลงติดยาอยู่หลายปี มันเหมือนเผชิญกับการไปชนกับหินโสโครก ไปเจอพายุ ฝนตก เรือแตก ไม่มีเป้าหมาย ใช้ชีวิตไปวัน ๆ เพื่อจะให้อยู่ในท้องทะเลนั้นเอง แล้วรอวันหนึ่งก็ตายไป ไปไม่ถึงเป้าหมาย

แต่มาบวชนี่ รู้สึกว่าชีวิตได้แนวทางในการดำเนินชีวิต ถึงแม้ออกไปจะไม่ใช่คนดีเลิศประเสริฐนัก แต่อย่างน้อยเรามีธรรมะไว้เป็นที่พึ่ง
เช่น เราอกหัก มีทุกข์ แก้ปัญหาบางเรื่องไม่ได้ มีปัญหาใหญ่ๆ เรามีธรรมะมาสอนตัวเรา เรามีบุญ มีกุศล มีความดีงามที่เป็นเส้นทางอยู่ ก็เลยรู้สึกว่า ชีวิตนี่มันไม่เหงา ถ้าเป็นการโดดร่ม เรามีร่มสำรองอยู่บ้าง ไม่ใช่ร่มใหญ่ขาดปั๊บ แล้วเราก็ไม่รู้ว่า เราจะไปลงที่ไหน
ธรรมะเสมือนสิ่งนั้นเองที่คอยประคองชีวิตอยู่ ก็มีสโลแกน ผมใช้ว่า เด็กซิ่ง อิงธรรมะครับ


คำถามคาใจวัยรุ่น
ถาม ถ้าผมติดหญิงล่ะ ทำไงดี
ตอบ ให้มาบวชเสียก่อน
สึกออกไปหญิงจะติด ไม่มีผู้หญิงคนไหนในโลกที่ไม่ชอบผู้ชายดี ยกเว้นตอนเขาบอกเลิกกัน เมื่อเราบวชออกมาแล้ว ความคิดความอ่าน ความไตร่ตรอง จะสุขุมขึ้น จะมองโลกในแง่ดี แทนที่จะมองในแง่ร้าย
ไม่ใช่แค่คิดบวก ไม่คิดลบ แต่คิดเป็นด้วย
ถาม ถ้าผมติดเหล้า เบียร์ล่ะ

ตอบ ควรจะมาด่วนเลยครับ

ถาม ถ้าผมติดเพื่อนล่ะ
ตอบ เราเกิดมาไม่ใช่เกิดมาเพื่อเพื่อน เราเกิดมาเพื่อตัวเราเอง
การบวชนั้น บวชให้แม่ก็ให้ แต่ที่ให้มากที่สุด คือ ให้ตัวเราเอง เวลาเราตายใครก็ช่วยไม่ได้ เช่น ตอนตายมีสายระโยงรยางค์ เหนี่ยวรั้งไว้เต็มตัว มีไหมครับ หากมีเพื่อนมาขอว่ายมบาล ... คนนี้ซี้มากเลย ขอไว้ได้ไหมไม่เคยมีใครทำสำเร็จ

เรามาคนเดียว ตายคนเดียว การบวชเป็นเรื่องที่เราควรเห็นแก่ตัว มาบวชแล้วเราดีขึ้น เพื่อนเราก็จะดีขึ้นด้วย อยู่ใกล้ใครมันจะแผ่ไปถึงคนนั้นด้วย เพื่อนจะดีไปด้วย เพื่อนน่าจะอนุโมทนาด้วย ถ้ารักกันจริงเพื่อนก็น่าจะมาบวชเป็นเพื่อนไปด้วย เหมือนเพื่อนผม คุณเฉลิมพล เป็นกัลยาณมิตรให้ผมและมาบวชเป็นเพื่อนผมด้วย เรามาเจอกันที่ชมรมพุทธฯ ราม ก็ช่วยประคับประคองกันไป และนี่เรียกว่ากัลยาณมิตร
คนที่เป็นเพื่อนเราจริงๆ เราควรจะมาบวชเป็นเพื่อน ถ้าบวชไม่ได้จริงๆ ต้องมาช่วยสนับสนุน

ถาม ถ้าอยากบวชแต่ไม่ใช่ตอนนี้ล่ะ
ตอบ เราไม่รู้ว่าเราจะตายเมื่อไร ปีหน้าเราบอกว่าเราจะบวช บางทีเราไม่รู้ว่าเราจะตาย
ผมยกตัวอย่าง มีเพื่อนที่ทำกราฟฟิก เรียนมาด้วยกัน เป็นคนนั่งสมาธิ ที่บ้านชอบทำบุญ เพื่อนบอกว่า
กูว่านะ ... ปิดเทอมจะพาแม่ไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ เห็นทุเรียนอยากซื้อไปให้แม่กิน เหมือนธรรมดาที่เราพูดถึงแม่กัน
วันรุ่นขึ้นแม่ตายกะทันหัน หลับแล้วตายไปเลย เขาช็อกมาก เพราะแม่ไม่ได้เป็นโรคอะไร แม่เป็นคนสุขภาพจิตดี อยู่ๆ ก็ตาย เขาโทรมาร้องไห้กับผม บอกว่า
กูเสียใจมาก..... กูบอกว่ากูจะพาแม่ไปนั่น ไปนี่ จะหาอะไรมาให้เขากิน
เขาไปซะแล้ว นี่กูไม่มีโอกาสทำให้แม่อีกแล้ว มันเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ มึงดูแลแม่มึงดี ๆ นะ

ผมอยากบอกว่า เราไม่รู้ว่า พ่อแม่ของเราจะตายเมื่อไร คนสนิทของเราจะตายเมื่อไร เป็นเรื่องที่ไม่มีใครรู้ ให้ดอกไม้ต้องให้ขณะที่เขาดมได้

ฉะนั้นทำอะไรได้ตอนนี้.... ทำ....ถือคติไปเลย.... ใช้ชีวิตทำปัจจุบันให้ดีที่สุดแล้วอนาคตมันจะดูแลตัวของมันเองครับ

ที่มา... หนังสือ
"จุดเปลี่ยน"


[เรื่องเล่า ข้อคิด โน๊ต อุดม]