Tuesday, January 26, 2010
ตำนาน วันวาเลนไทน์ [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ประวัติวันวาเลนไทน์ Valentine's Day
คือวันที่ระลึกถึงนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine) ผู้เปี่ยมไปด้วยความรักและความปรารถนาดี ต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริงแต่เขาต้องจบชีวิต ลงด้วยการรับโทษประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ.270 หรือเมื่อประมาณ 1,734 ปี ล่วงเลยมาแล้วในจักรวรรดิโรมัน ประวัติความเป็นมาของเรื่องนี้ เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 3 มีผู้นำคริสตชนคนหนึ่งชื่อ "วาเลนตินัส" เขาเป็นคนที่มีความรักและความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์มาก โดยทุกๆ วันเขาจะแอบนำอาหาร และของใช้ที่จำเป็นไปวางไว้ประตูหน้าบ้านของคนยากจนโดยไม่ให้คนเหล่านั้นรู้ ซึ่งในสมัยนั้นศาสนาคริสต์ยังไม่เป็นที่ยอมรับในจักรวรรดิโรมัน และถือว่าใครที่นับถือศาสนาคริสต์จะมีความผิดร้ายแรงมาก พวกคริสตนชนจึงถูกข่มเหงและทารุณกรรมอย่างหนัก เพื่อบังคับให้เลิกเป็นคริสต์ ใครที่ไม่ยอมเลิกนับถือคริสต์จะถูกทรมานและฆ่าทิ้ง "วาเลนตินัส" ก็รวมอยู่ในกลุ่มขบวนการถูกขู่เข็ญและทรมาน บังคับให้เลิกนับถือศาสนาคริสต์แต่เขาไม่ยอมจึงถูกจับเข้าคุกในข้อหาเป็นคริ สตชน
ของขวัญวันวาเลนไทน์ ที่นิยมให้แก่กันในวันนี้ นั่นก็คือ กุหลาบแดง แสลงใจ หรืออะไรก็ได้ที่มี รูปหัวใจ แปะอยู่
ในขณะที่ วาเลนตินัส ถูกจับขังคุกนั้น เขาได้พบรักกับสาวตาบอด ซึ่งเธอเป็นลูกสาวของผู้คุมในนั้นและด้วยความรักและคำอธิษฐานของเขา พระเจ้าได้ทรงโปรดรักษาตาของคนรักของเขาให้หายเป็นปกติ จากเหตุการณ์นี้เองจึงทำให้ผู้คุมและครอบครัวของเขาหันมานับถือ และเชื่อในพระเจ้าของชาวคริสต์
ต่อมาเรื่องนี้รู้ถึง จักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ของโรม พระองค์ทรงกริ้วมากได้สั่งให้ลงโทษ วาเลนตินัส อย่างหนัก ด้วยการโบยและนำไปประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ ในคืนสุดท้ายก่อนที่เขาจะถูกนำไปประหารนั้น วาเลนตินัส ได้เขียนจดหมายสั้นๆ เป็นการอำลาส่งไปให้เพื่อนหญิงคนรักของเขา และลงท้ายในจดหมายว่า "จากวาเลนไทน์ของเธอ" รุ่งขึ้นของเช้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 วาเลนตินัสก็ถูกนำไปตัดศีรษะและเอาศพไปฝังไว้ที่ เฟลมิเนี่ยนเวย์ ซึ่งภายหลังมีการสร้างโบสถ์หลังใหญ่คร่อมสุสานของเขาไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ รำลึกถึงชีวิตและความรักอันยิ่งใหญ่ของเขา คนทั่วไปประทับใจกับความรักของเขา จึงยึดถือเอา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันวาเลนไทน์" ภาษาอังกฤษเรียก ว่า "Saint Valentine's Day" หรือ Valentine's Day หรือ "วันแห่งความรัก"
ซึ่งต่อมาได้นิยมแพร่หลายไปทั่วยุโรปและอเมริกาและเข้ามาในทวีปเอเชียและประเทศไทย ให้ของขวัญวันแห่งความรัก
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
Monday, January 25, 2010
ตำนาน เสี่ยงเหมี่ยงเจ้าปัญญา นิทานที่มาของประเพณีแรกนาขวัญ กาญจนบุรี [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เนื้อเรื่อง
...............กาลครั้งหนึ่ง มีสามีภรรยาอาศัยอยู่ในป่าชนบท วันหนึ่งได้ออกไปเก็บฟืนเพื่อนำไปแลกกับร้านค้าเป็นข้าวของในการเป็นอยู่ ทุก ๆ ปี สามีภรรยาคู่นี้ได้ออกไปเก็บฟืนในตอนเช้าเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งฝ่ายสามี มีความคิดว่าควรแยกทางกันไปช่วยหาฟืน เพื่อจะได้ของมากกว่าที่จะมาหาด้วยกัน ดังนั้นทั้งสองได้แยกทางกันไปช่วยกันต่างฝ่ายต่างหา จนใกล้เวลาตกดิน ฝ่ายสามีก็เก็บฟืนได้มากพอก็ตะโกนเรียกภรรยาของตนที่อยู่อีกทางหนึ่ง ปรากฏว่าได้ยินเสียงขานรับเกิดขึ้นสองทาง สามีชักสงสัยเป็นอย่างมากเมื่อเห็นคนที่เดินออกมา จากเสียงตะโกนเรียกก็คือภรรยาของเขา แต่มีสองคน ฝ่ายสามีได้เห็นก็ตกใจได้พิจารณาวิเคราะห์อยู่สักครู่หนึ่ง ได้ทดสอบสอบถามก็ยังไม่รู้ว่าคนใดคือภรรยาของตนเอง เนื่องจากทั้งบุคลิกหน้าตาเหมือนกับภรรยาตน
ตลอด ดังนั้นสามีก็พาภรรยาทั้งสองของตนกลับบ้าน
...............อยู่มาหลายวันด้วยความสงสัยสามีได้ไปหาผู้เก่งกล้าในวิชา เพื่อพิสูจน์ทดสอบว่าภรรยาตัวจริงคือคนใด ทั้งชาวบ้าน อาจารย์ หมอผี ก็ไม่สามารถบอกได้ จนมาวันหนึ่ง มีเด็กเลี้ยงควายคนหนึ่งชื่อเสี่ยงเหมี่ยง กำลังเลี้ยงควายอยู่ข้าง ๆ คันนาที่ชาวบ้านปลูกข้าวไว้ รับอาสาจะช่วยหาภรรยาคนจริงให้ วันที่ทดสอบ
ชาวบ้านต่างก็มาดูการกระทำของเสี่ยงเหมี่ยงว่าจะมีวิธีใดมาพิสูจน์ เสี่ยงเหมี่ยงก็พาภรรยาทั้งสองให้ไปทดสอบ ๓ ข้อ คือ ข้อที่ ๑ ชอบสีอะไร ข้อที่ ๒ ชอบกินอะไร คำถามสองข้อ ทั้งสองก็คงตอบได้เหมือนกัน เสี่ยงเหมี่ยงจึงใช้อุบายถามข้อที่ ๓ ว่า ข้อนี้เป็นข้อตัดสินว่าใครเป็นตัวจริง มีรูปูอยู่นี่ไงหากใครมุดเข้าไปในรูปู
นี้ได้ก่อนกัน คนนั้นแหละเป็นตัวจริง ทันใดก็มีอยู่คนหนึ่งมุดเข้าไปในรูปูได้ด้วยความรวดเร็ว เสี่ยงเหมี่ยงก็ใช้ ส้นเท้าเหยียบดินปิดปากรูมิดชิด จึงทำให้ผีนางไม้ที่ปลอมแปลงมาออกมาไม่ได้
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
..................นิทานดังกล่าวเป็นความเชื่อของชาวนา เวลาไปไถนาต้องทำพิธีแรกนาเสียก่อน เนื่องจากคันไถอาจจะ ไปขุดดินที่กลบรูปูที่ผีอาศัยอยู่ จึงมีการทำพิธีแรกนาเซ่นไหว้มาจนบัดนี้
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
Friday, January 22, 2010
ตำนาน สัตว์โบราณของตํานานกรีก [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
คิมีร่า Chimera หรือ Chimaera ชื่อกรีก= Χιμαιρα ชื่อภาษาละติน= Chimæra
คิมีร่าเป็นสัตว์ในตำนานกรีก มีส่วนผสมของสัตว์อีกสามชนิด ได้แก่ สิงโต แพะ และงูหรือมังกร โดยมันมีส่วนหัวปกติจนไปถึงอกเป็นสิงโต ส่วนกลางของมันเป็นแพะ และมีส่วนท้ายเป็นงู มีหัวงูอยู่ที่ตรงปลายหางสามารถศัตรูได้ ซึ่งแต่ละหัวของมันนั้น มีความคิดเป็นของตัวเอง หัวมังกรของมันสามารถพ่นไฟได้ หายใจเป็นเปลวไฟ หางมันเป็นงูพิษร้ายแรง กัดแล้วถึงตายในทันที คิเมร่าเป็นลูกของอสูรกายไทฟอน และอิคิดนา มีพี่น้องหกตัวได้แก่ เซอร์บีรัส ไฮดรา นีเมียน สฟิงซ์ และเลดอน
คิมีราบุกเข้าทำลายเมือง ลีเซีย(Lycia) ทำให้กษัตริย์โลเบทีสซึ่งเป็นเจ้าปกครองเมืองอยู่ในขณะนั้น ต้องการผู้มาปราบเจ้าสัตว์ร้ายตนนี้ บังเอิญวีรบุรุษ เบลเลอโรฟอน ขี่ม้าบินปีกาซัสผ่านมาพอดีจึงอาสาที่จะฆ่าเจ้าสัตว์ร้ายตนนี้ แต่มันออกจะเป็นเรื่องยาก เพราะแต่ละหัวของมันมองได้ทุกทิศทาง เบลเลอโรฟอนขี่ม้าบินเพกาซัสฉวัดเฉวียนอยู่เหนือคู่ต่อสู้ คอยหลบเปลวเพลิงที่พรุ่งพรวยออกมาจากปากของมัน และกระหน่ำห่าธนูใส่ จนในที่สุดเจ้าอสูรร้ายก็สิ้นชีพ
ส่วนอีกตำนานกล่าวว่า เบลเลอโรฟอนใช้ตะกั่วเสียบไว้ที่ปลายหอกของเขา เมื่อโดนไฟของคิมีราทำให้ตะกั่วละลายเข้าไปในปากของมัน ทำให้มันถึงจุดจบ....
บาซิลิสก์ (Basilisk) เป็นงูใหญ่ที่น่ากลัวและน่าสยดสยองในตำนานกรีกและยุโรป ซึ่งแค่มองผ่านเหยื่อก็ทำให้เหยื่อตายได้ ในทำนองเดียวกับ เมดูซ่า
ได้มีนักเล่านิทานคนหนึ่งอธิบายว่า บาซิลิสก์เป็น "งูที่มีมงกุฎสีทองเล็กๆ บนหัว ในยุคกลางมีผู้เชื่อว่ามันเป็นเพียงงูที่มีหัวเหมือนไก่ บางครั้งก็มีหัวเป็นคน บาซิลิสก์เกิดจากไข่ที่ออกมาจากพ่อไก่ระหว่างที่ กลุ่มดาวสุนัขใหญ่ ปรากฏบนท้องฟ้า และได้คางคกเป็นผู้กกไข่ การมองเห็นบาซิลิกก์นั้นน่ากลัวสยดสยองมาก ถ้าสัตว์ใดก็ตามได้เพียงเห็นมันมองผ่าน แม้แต่ทางกระจกก็อาจตายได้ทันทีเพราะความกลัว วิธีเดียวที่จะฆ่ามันได้ก็คือต้องถือกระจกไว้ข้างหน้าตัวมันก่อนที่มันจะมอง ผ่านมา เมื่อมันมองมาในกระจกนั้น มันก็จะเห็นเงาตัวมันเองในกระจกและตายในทันที มีผู้เชื่อว่าบาซิลิสก์มีเขาหรือมีพังผืดด้วย"
ในยุโรปสมัยกลาง บาซิลิสก์ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย โดยคู่กับกริฟฟิน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความดี บาซิลิสก์เป็นสัญลักษณ์ของเมือง บาเซิล (Basel) ใน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บาซิลิสก์ถูกนำไปใช้หลายครั้งตามนิยายแฟนตาซีต่างๆ และเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากเรื่อง แฮรี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ
กริฟฟิน (หรือกรีฟอน) ที่ใครหลายคนรู้จักกันดีอยู่แล้วนั้น คุณแน่ใจแล้วหรือว่าคุณรู้จักมันจริงๆ? ถ้าคิดว่าแน่ลองมาตอบคำถามข้อนี้ของผมดู
^ ตัวนี้เพศผู้หรือเพศเมีย?
แค่นี้แหละครับ ถามสั้นๆ ง่ายๆ.. แต่ตายเรียบถ้าคุณรู้คำตอบก็ยินดีด้วย แสดงว่าคุณคลั่งไคล้เรื่องแฟนตาซีเอาการเชียวล่ะ เพราะมีแค่ไม่กี่คนหรอกที่รู้ว่ากริฟฟินที่เราเห็นกันบ่อยๆ นั้นเป็นเพศเมียแทบทั้งสิ้น
ใช่แล้วครับ คำตอบคือเพศเมีย เพราะอะไรน่ะรึ? ก็เพราะกริฟฟินตัวผู้ไม่มีปีกน่ะสิ! ถ้าผมไปถามใครว่า "นายรู้ไหมว่ากริฟฟินมีลักษณะอย่างไร" คำตอบที่ได้ก็มักจะเป็นสัตว์ที่ "มีหัวและปีกเป็นอินทรี มีลำตัวเป็นสิงโต" ใช่มั้ยล่ะ? แต่ข้อเท็จจริงก็คือมีแต่กริฟฟินตัวเมียเท่านั้นที่มีปีก ส่วนตัวผู้บริเวณที่เป็นปีกจะเป็นหนามแหลมแทนครับ ลักษณะทางกายภาพเด่นๆ บางอย่างของกริฟฟินที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนักก็คือการที่มันมีหูอย่างม้า หรือลา และในบางครั้งก็มีหางเป็นงูด้วย (ภาพข้างต้นกริฟฟินมีหูแบบลา แต่ไม่มีหางเป็นงู) นอกจากนี้กริฟฟินยังมีอุปนิสัยบางประการคล้ายกับมังกร เช่นชอบทองและอัญมณี ในบางครั้งก็ขโมยมาปกปักไว้เป็นของตัวเองเสียด้วย ด้วยเหตุนี้กริฟฟินจึงเป็นสัญลักษณ์ของการพิทักษ์รักษาสิ่งมีค่าต่างๆ
ตำนานเกี่ยวกับเทพเจ้าของกรีกรวมทั้งกวีนิพนธ์ของ โฮเมอร์ ปราชญ์ใหญ่เรื่อง อีเลียดกับโอดิสซีย์นั้น ได้มีการเอ่ยอ้างถึงการต่อสู้ ระหว่างวีรบุรุษกับอสุรสัตว์ไว้มากมาย มีภาพเขียนและประติมากรรมแสดงถึงอสุรสัตว์เหล่านี้ไว้ด้วย ทำให้นักโบราณคดีต่างพากันพิศวงว่าสัตว์ใหญ่รูปร่างประหลาดทั้งหลายนี้มีตัว ตนจริงหรือไม่ โดยเฉพาะ เอเดรียน เมเยอร์ นักตำนานศาสตร์ เธอจึงออกค้นคว้าหาร่องรอยของอสุรสัตว์ที่ปรากฏในตำนานกรีกโบราณ
แหล่งแรกที่เธอเดินทางไปศึกษาในปี ค.ศ. 1982 ก็คือเกาะซามอส แห่งทะเลเอเจียน ณ ที่นี้ เคยเป็นสมรภูมินองเลือดซึ่งกวีกรีกนาม พลูตาร์ช ได้รจนาไว้ถึงการศึกระหว่าง ไดโอนีซุส ผู้ได้ สมญาว่าเทพแห่งไวน์กับนักรบสตรีเผ่าอเมซอน ที่เรารู้จักกันดี บนเกาะนี้มีโครงกระดูกโบราณเกลื่อนกลาดอยู่มากมาย จนในพิพิธภัณฑ์ของซามอสมีจัดแสดงห้องหนึ่งโดยเฉพาะที่เรียกว่า “ห้องกระดูก” กล่าวกันว่าห้องนี้เป็นที่รวบรวมกระดูกของเหล่านักรบกรีก หากทว่าโครงกระดูกที่เอเดรียนเห็นนั้น มันมีขนาดใหญ่โตกว่าร่างมนุษย์ธรรมดาถึง 3 เท่า แม้จะรู้ว่าคนโบราณตัวใหญ่กว่าคนปัจจุบัน แต่ก็ดูจะมหึมาเกินไป และสารานุกรมเกี่ยวกับยุคหิน ที่ตีพิมพ์ในปี 1997 ก็ระบุว่า “ใหญ่กว่ามนุษย์ธรรมดา น่าจะเป็นกระดูกสัตว์ยักษ์มากกว่า”
งั้นเป็นยักษ์ตนใดในตำนานของโฮเมอร์?
เอเดรียนค้นคว้าต่อไปและพบบันทึกของ ฟิโลสตราตัส ปราชญ์กรีกเขียนไว้ในศตวรรษที่ 2 ถึงเรื่องโครงกระดูกยักษ์ที่จมดินอยู่บนเกาะเล็มนอส ทางตอนเหนือของทะเลเอเจียน และเมื่อเอเดรียนติดตามไปดูโครงกระดูกดังกล่าว เธอก็ต้องตื่นตะลึงเมื่อได้เห็นหัวกะโหลกของร่างนั้นมีขนาดมหึมาด้วยความจุ ถึง 40-50 ลิตร!
กะโหลกดังกล่าวมีรูกลมเบ้อเริ่มอยู่บริเวณหน้าผาก เมื่อพิเคราะห์แล้วไม่น่าจะใช่รูจมูก ซึ่งทำให้เอเดรียนพลันหวน รำลึกถึงตำนานโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ที่กล่าวถึง ไซคลอป (Cyclop) ยักษ์ตาเดียวที่เลี้ยงฝูงแกะอยู่บนเกาะ และคอยจมเรือที่ผ่านไปมาเพื่อจับมนุษย์กินเป็นอาหารอันโอชะ เมื่อ โอดิสซีอุส วีรบุรุษกรีกเดินทางกลับมาตุภูมิ หลังจากเสร็จสิ้นสงครามกรุงทรอย เขากับสมัครพรรคพวกได้แวะที่เกาะซึ่งไซคลอปอาศัยอยู่แล้วถูกจับขังไว้ในถ้ำ แต่โอดิสซีอุสได้ทำอุบายเอาไม้ยาวทิ่มลูกตาของไซคลอปจนบอดและหลบหนีออกมาได้
หัวกะโหลกนี้จะเป็นของยักษ์ตาเดียว หรือแท้ที่จริงเป็นกะโหลกของมาสโตดอน หรือแมมมอธช้างดึกดำบรรพ์ เป็นสิ่งที่เอเดรียนต้องวิเคราะห์ต่อไป
ที่มา : http://www.zheza.com
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
Thursday, January 21, 2010
แนวความคิด ความโกรธและศัตรู [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
"ข้ามาสู่โลกนี้โดยไม่มีศัตรู...ข้าก็จะจากโลกนี้โดยไม่มีศัตรู".......(สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
"การให้อภัย เป็นสัญลักษณ์ของคนจิตใจสูง".............(เช็กสเปียร์)
"จงยกโทษให้แก่ศัตรูของเราเ้ถิด แต่อย่าได้ไว้ใจมันเป็นอันขาด".............(ทิมูร์ มหาราช)
"คนทุกคน คิดว่าศัตรูของตนเป็นคนเลว".............(สุภาษิตฮินดู)
"คนมีปัญญา ไม่ต้องการฆ๋าศัตรู จะฆ่าเฉพาะความเป็นศัตรูของเขาเท่านั้น....แล้วทำศัตรูให้กลับเป็นมิตร"
"อำนาจกับความโกรธ มีผลต่างกัน อำนาจทำให้คนกลัว แต่ความโกรธทำให้คนเกลียดชัง .... บัณฑิตจึงไม่ใช้ความโกรธเลือกใ่ช้แต่อำนาจเท่านั้น"
"คนขี้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ คนขี้โกรธย่อมไม่รู้ธรรม คนขี้โกรธฆ่าได้แม้กระทั่งมารดาของตน ผู้ถูกความโกรธครอบงำย่อมฉิบหาย"
"คนมักโกรธ ย่อมทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อหายโกรธแล้วเขาย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตน"
"ความริษยาย่อมทำลายให้โลกพินาศ....รวมทั้งตัวผู้ริษยาเองด้วย"
"มนุษย์ผู้มีเวรวันย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้ไม่มีเวรกันย่อมอยู่เป็นสุข ... บุคคลจึงไม่ควรก่อเวร"
"อารมณ์ฉุนเฉียว ไม่เคยทำให้ใครได้ดี หรือมีความสุขเลย"
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
Tuesday, January 19, 2010
ตำนาน บุญคูณลาน ร้อยเอ็ด [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เนื้อเรื่อง
..........................ตามตำนานเล่าว่า ครั้งพุทธกาลสมัยพระกัสสปะ มีชายสองพี่น้องทำนาในที่เดียวกันพอข้าวออกรวง เป็นน้ำนม น้องชายได้ชวนพี่ชายทำข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์ แต่พี่ชายไม่เห็นชอบด้วยสองพี่น้องจึงแบ่ง นากันคนละส่วน เมื่อน้องชายได้เป็นเจ้าของที่นาที่แบ่งกันแล้ว จึงถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ตามความพอใจ โดยทำบุญเป็นระยะถึง ๙ ครั้ง นับแต่ข้าวเป็นน้ำนมก็ทำข้าวมธุปายาสถวายครั้งหนึ่ง เวลาข้าวพอเม่าก็ทำ ข้าวเม่าถวายครั้งหนึ่ง เวลาจะลงมือเก็บเกี่ยวข้าวก็ถวายทานครั้งหนึ่ง เวลามัดข้าวทำเป็นฟ่อนก็ถวายทานครั้งหนึ่ง เวลาขนข้าวเข้าลานก็ถวายทานครั้งหนึ่ง เวลาทาลอม(กองข้าว) เสร็จก็ถวายทานครั้งหนึ่ง เวลานวด ข้าวก็ถวายทานครั้งหนึ่ง เวลาตวงข้าวก็ถวายทานครั้งหนึ่ง และเวลาเก็บข้าวใส่ยุ้งฉางเสร็จก็ทำบุญอีกครั้งหนึ่ง แต่ตั้งปณิธานปรารถนาให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในอนาคต พอถึงพุทธศาสนาพระสมณโคดมจึงได้เกิด เป็นโกณฑัญญะ ได้ออกบวชและสำเร็จเป็นพระอรหันต์เป็นปฐมสาวกได้ชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ ส่วน พี่ชายได้ทำบุญเพียงครั้งเดียวเฉพาะตอนทำนาเสร็จแล้ว เมื่อถึงศาสนาพระสมณโคดม ได้เกิดเป็น
สุภัทปริพาชก ได้สำเร็จอนาคามิผลเป็นพระอริยบุคคลองค์สุดท้ายในพระพุทธศาสนา เนื่องจากอานิสงส์จาก ให้ข้าวเป็นทานน้อยกว่าน้องชาย ชาวอีสานเมื่อทราบอานิสงส์จากการทำบุญดังกล่าว จึงได้นิยมทำบุญคูณ ลานกันต่อ ๆ มา จนปัจจุบัน
แนวคิด/สาระ
............................การรู้จักให้ทานจะทำให้ได้รับอานิสงส์ที่ดีต่อตนเอง
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ตำนาน พญาคันคาก (คางคก) ยโธร [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เนื้อเรื่อง
....................เมื่อพระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นพญาคางคก ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันธุมวดีในครั้งนั้น พญาแถนซึ่งเคยอนุญาต ให้พญานาคจากเมืองบาดาลขึ้นไปเล่นน้ำในสระอโนดาตเกิดขัดใจกับพญานาค ไม่ยอมให้พญานาคขึ้นไปเล่นน้ำ ในสระอโนดาตอย่างที่เคยทำมาทุกปี เมื่อพญานาคไม่ได้ขึ้นไปเล่นน้ำในสระ ของพญาแถน น้ำก็ไม่โอกาสได้กระฉอกหล่นลงมาเป็นฝนสู่เมืองมนุษย์ทำให้โลกมนุษย์เกิดความ แห้งแล้งติดต่อกันหลายปี สัตว์ทั้งหลาย ในโลกมนุษย์ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก จึงมาชุมนุมหารือกันที่ร่มโพธิ์ใหญ่ ที่พญาคางคกอยู่เพื่อวางแผนที่จะสู้รบกับพญาแถน ให้พญาแถนอนุญาตให้นาคขึ้นไปเล่นน้ำในสระอโนดาตอย่างที่เคย สัตว์ทั้งหลายมองไม่เห็นทางที่จะต่อสู้กับพญาแถนได ้ ในที่สุดพญาคางคก ได้ขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถนจึงได้วางแผนการรบให้ปลวกทั้งหลายก่อสร้างจอม ปลวกขึ้นให้สูงถึงเมืองแถน เกณฑ์
สัตว์มีพิษทั้งหลาย เช่น แมลงป่อง ตะขาบ ผึ้ง ต่อ แตน แมลงป่อง ให้ไต่ขึ้นไปตามจอมปลวก ให้ปลวกกัดแทะ ทำลายปราสาทของพญาแถน ส่วนมอดก็ให้ทำหน้าที่กัดแทะทำลายด้ามหอก ดาบ ของพญาแถน และเครื่อง อาวุธของทหารเมืองแถน แมลงมีพิษอื่น ๆ เช่น ผึ้ง ต่อ แตน แมลงป่อง ก็ให้เข้าไปแอบซ่อนตัวอยู่ตามเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายของพญาแถนและพลทหาร แม้ในครัวของพลเมืองแถนก็ให้สัตว์มีพิษเข้าไปหลบอาศัยเพื่อคอย ทำร้ายพลเมืองแถนทั่วกัน เมื่อทุกฝ่ายพร้อมแล้ว พญาคางคกก็คลานขึ้นไปท้ารบกับพญาแถน พญาแถนกริ้ว มาก หมายจะคว้าดาบตัดหัวพญาคางคก พอไหวตัวแท่นที่นั่งของพญาแถนก็ทรุดฮวบลง จะคว้าหอก ดาบ ด้ามหอกดาบก็หักสิ้น พร้อมกันนั้นแมลงมีพิษก็รุมต่อยพญาแถน พร้อมพลทหาร พญาแถนได้รับความเจ็บ ปวด จนที่สุดต้องยอมพ่ายแพ้ พญาคางคกแจ้งให้พญาแถนทราบว่าที่ยกทัพมาครั้งนี้ ด้วยมีประสงค์ที่จะให้ สามโลก คือ เมืองบาดาล โลกมนุษย์ และเมืองฟ้า(แถน) ได้ให้การสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ด้วยว่าขณะนี้โลก เดือดร้อน เพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อถึงเวลาอันสมควร ขอให้พญาแถนโปรดได้อนุญาตให้พญา นาคจากเมืองบาดาล ขึ้นมาเล่นน้ำในสระอโนดาตเพื่อทำให้เกิดฝนตกลงสู่โลกมนุษย์ พญาแถนถามว่าจะรู้ได้ อย่างไรว่าโลกมนุษย์ต้องการให้ฝนตกตอนใด พญาคางคกจึงบอกว่าเมื่อต้องการให้ฝนตกจะจุดบั้งไฟขึ้นมา บอก พร้อมกับจะส่งพญานาคให้ขึ้นมาเล่นน้ำที่สระอโนดาต ถ้าได้ยินเสียงกบเขียดร้อง ก็เป็นสัญญาณว่าโลก มนุษย์ได้รับน้ำฝนแล้ว ถ้าได้ยินเสียง สนูว่าว หรือเสียงโหวด ก็ขอให้ฝนหยุดตก พญาแถนก็ยินยอมตกลงตาม ที่พญาคางคกขอร้องทุกอย่าง
คติ/แนวคิด
.........................นิทานเรื่องพญาคันคากจึงเป็นตำนานการทำบุญบั้งไฟ และบั้งไฟนั้นนิยมประดับส่วนหัวด้วยรูปนาค เพื่อแสดงว่าได้ส่งพญานาคขึ้นมา เพื่อให้มาเล่นน้ำในสระอโนดาตของพญาแถน น้ำจะได้กระเพื่อมกระฉอก กลายเป็นเม็ดฝนอันชุ่มเย็นสู่โลกมนุษย์
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ตำนาน การสร้างปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ศรีสะเกษ [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เนื้อเรื่อง
.......................เล่ากันว่า….ศรีสุกรรมากำเสตงงิ ได้รับพระราชทานเมืองวิเภทะจากพระบาทกมรเตงกันดวนอัญ ศรีสุริยะวรมันเทวะ (พระเจ้าสุริยะวรมันที่ ๑) เมื่อปีมหาศักราช ๙๕๙ หรือ พ.ศ. ๑๕๘๐ พร้อมกับพระราชทานชื่อเมือง ให้ใหม่ว่า "กุรุเกษตร" ศรีสุกรรมากำเสตงงิ มีมเหสีนามว่า พระนางศรีเทวี มีบุตรีวัยแรกรุ่นนามว่า ไตภัทระ (นางสาวภัทระ) เมื่อครองเมืองกุรุเกษตรแล้วคราวหนึ่งออกตรวจราชการและเที่ยวป่าเดินทางมา ถึง สดุกอำพึล เมืองในอาณาเขตปกครอง จึงตั้งค่ายพักแรมข้างสระน้ำได้พบว่าในสระน้ำนั้นศักดิ์สิทธิ์ ช่วยให้ผู้อาบกินมีสุขภาพพลานามัยดี เวลานั้นได้รับข่าวว่าพระเจ้าสุริยะวรมันให้เข้าเฝ้า จึงเข้าเฝ้าพร้อมกับนำ ไตภัทระบุตรีไปด้วย เพื่อจะถวายบุตรีเป็นข้าบาทบริจาริกา แต่เมื่อพระเจ้าสุริยะวรมันทรงทราบเรื่องสระน้ำ ศักดิ์สิทธิ์แล้ว ให้รู้สึกแปลกพระทัย จึงตรัสสั่งให้สร้างเทวาลัย และให้พราหมณาจารย์ทำพิธีอัญเชิญมหาเทพ มาสถิตย์ ณ ที่นั้น เพื่อให้ชาวเมืองสักการะบูชา บวงสรวง ให้ไตภัทระเป็นข้าบาทแด่องค์มหาเทพ และพระราชทานนามไตภัทระเป็น "พระเทวีศรีกุรุเกษตร" เพื่อเป็นพลีกรรมบวงสรวง "ศรีพฤทเธศวร" เทวรูปแห่ง "กัมรเดงชคตศรีพฤทเธศวร" หรือปราสาทหินสระกำแพงใหญ่นั้นเอง
........................ปัจจุบันปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ตั้งอยู่ในวัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย มีอายุราว ๑,๓๐๐ ปี เชื่อกันว่า ณ สถานที่แห่งนี้คือ ส่วนหนึ่งของอดีตกาลอันรุ่งเรืองของเมืองศรีสะเกษ ตำนานการ สร้างปราสาทหินสระกำแพงใหญ่นี้ จังหวัดศรีสะเกษได้จัดแสดง แสง เสียง ในงานเทศกาลดอกลำดวนเป็น ประจำทุกปี โดยความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทำให้เทศกาลดอกลำดวนยิ่งใหญ่ตระการตา และสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนอย่างมิรู้ลืม
คติ/แนวคิด
๑. การบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นความเชื่อที่ทำให้คนแสดงความกตัญญูต่อบรรพชน
๒. การสร้างเทวสถานต้องอาศัยบารมีจากผู้นำจึงจะสำเร็จ
๓. สระน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นกุศโลบายไม่ให้ประชาชนทำความสกปรกลงไปในน้ำ
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
Wednesday, January 13, 2010
ประวัติศาสตร์ หมื่นเก้า หมื่นศรีนาวา ปราจีนบุรี [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ประวัติ
...............ในสมัยกรุงธนบุรีต่อจากสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์ บ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย ประชาชนแตกกระสานซ่านเซ็น ข้าวยากหมากแพง ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้รับความเดือดร้อน กันไปทั่ว ต้องเสียบ้านเมือง ถูกจับถูกริบทรัพย์สมบัติ ชาวเมืองปราจีนบุรีก็คงถูกเกณฑ์ให้เข้ารับราชการทัพ
ไปช่วยป้องกันพระนครศรีอยุธยาร่วมกับชาวเมืองอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ขณะนั้นกรมหมื่นเทพพิพิธได้พาสมัครพรรคพวกหนีพม่ารวบรวมกันตั้งค่ายอยู่ ณ บริเวณ
บึงพระอาจารย์ ปากน้ำโยทะกา (เขตต่อแดนระหว่าง อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก กับอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ที่ตรงนี้เป็นที่ดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์ทางราชการเคยตักไปใช้สำหรับพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์-สัตยา) ทัพพม่าได้โจมตีชุมนุมกรมหมื่นเทพพิพิธจนแตก กองทัพกระจายไปคนละทาง พระองค์หนีพม่าไปตั้ง ชุมนุม ณ เมืองพิมาย จนมีพระนามว่าเจ้าพิมาย พร้อมทหารคู่พระทัย ซึ่งในทหารเหล่านี้ได้มีวีรบุรุษของ
ปราจีนบุรี ๒ ท่าน คือ หมื่นเก้า หมื่นศรีนาวา ได้นำทหารไทยร่วมรบกับกรมหมื่นเทพพิพิธ และได้ต่อสู้พม่า อย่างกล้าหาญ แต่ในที่สุดก็เสียทัพแก่พม่า สำหรับวีรบุรุษ ๒ ท่านนั้นเมื่อกองทัพแตกแล้ว ก็รวบรวมทหาร ที่เหลืออยู่หลบและสวามิภักดิ์กับพระยาวชิรปราการขอเข้าเป็นสมัครพรรคพวกร่วมต่อสู้พม่ากู้ชาติบ้านเมือง
ต่อไป พระยาวชิรปราการได้อาวุธยุทธภัณฑ์ ทัพสัมภาระ ช้างม้า และ ผู้คนเป็นอันมาก จึงเดินทัพจากบ้าน บางคาง (เมืองบางคาง คือเมืองปราจีนบุรี) เดินทัพขึ้นไปทางทิศตะวันออกเลียบริมแม่น้ำบางปะกงถึงตรง หน้าวัดกระแจะ ตำบลท่างาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี ฝั่งทิศเหนือ คือ บริเวณปากคลองประจันตคาม ตรงข้าม
วัดกระแจะ แล้วเดินทัพไปตั้งพักอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์ (บริเวณใต้ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ ตำบลโคกปีบ อำเภอ ศรีมโหสถ) ทัพพม่าได้เดินทางติดตามไปโจมตีอีก ได้ต่อสู้กันในที่สุดทัพพม่าก็แตกหนีไป พระยาวชิรปราการ จึงพาทหารเดินทางไปเมืองพนัสนิคมเมืองชลบุรี จนกระทั่งถึงเมืองจันทบุรี แล้วเข้ายึดเมืองจันทบุรีได้ ส้องสุม
ผู้คน ช้าง ม้า อาวุธยุทธภัณฑ์ที่นั่น เมื่อเห็นว่าพอที่จะทำการขับไล่พม่าได้แล้ว พระยาวชิรปราการจึงได้นำ กองทัพออกต่อสู้กับพม่าและปราบก๊กต่างๆ ซึ่งท่านหมื่นเก้า หมื่นศรีนาวา ก็ร่วมรบด้วยจนพม่าพ่ายแพ้ ในที่สุดก็ได้สถาปนากรุงธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงธนบุรี
เกียรติคุณที่ได้รับ
..............ท่านหมื่นเก้า หมื่นศรีนาวา ทั้งสองท่านวีรบุรุษของชาวปราจีนบุรีได้เป็นกำลังของสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีอย่างสำคัญในการกู้ชาติด้วยความกล้าหาญ สมกับเป็นชาตินักรบโดยแท้ ท่านได้สละเลือดเนื้อและ ชีวิตเป็นชาติพลี อันควรแก่การที่ชาวปราจีนบุรีจะเคารพสักการะและเทิดทูนดวงวิญญาณของท่านทั้งสองไว้
อย่างสูงสุด ชาวปราจีนบุรีมีความภาคภูมิใจว่า มีวีรบุรุษที่ได้สร้างเกียรติประวัติไว้ให้เป็นมรดกตกทอดมาถึง เราผู้เป็นลูกหลานตราบเท่าทุกวันนี้
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ฃ ขวดกับ ฅ คนหายไปตั้งแต่เมื่อไร [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
รศ. ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ผู้เขียนหนังสือ ฃ, ฅ หายไปไหน ? ได้ศึกษาความเป็นมาของพยัญชนะทั้งสองตัวนี้ และชี้
ให้เห็นว่า หากเริ่มนับตั้งแต่ที่พบ ฃ, ฅ ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยเป็นครั้งแรก จนถึงการประกาศเลิกใช้ ฃ, ฅ ในปทานุกรม พ.ศ. ๒๔๗๐ และพจนานุกรม พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเกณฑ์ พยัญชนะทั้งสองมีที่ใช้อยู่ในภาษาไทยนานถึง ๗๐๐ ปี หากแต่อัตราการใช้ และความแม่นยำที่ใช้แตกต่างกันไปตามยุคสมัย
เดิม ฃ, ฅ เป็นพยัญชนะแทนเสียงซึ่งเคยใช้กันมาแต่เดิม(ซึ่งแตกต่างจากเสียง ข และ ค) แต่เสียงนี้ได้หายไปในระยะหลังเป็นเหตุให้พยัญชนะทั้งสองตัวหมดความสำคัญลง ในภาษาไทย
ปัจจุบัน
เมื่อครั้งที่มีการประดิษฐ์พิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ผู้ประดิษฐ์ได้ตัดตัว ฃ, ฅ ทิ้งไป ด้วยเหตุว่าพื้นที่บนแป้นพิมพ์ดีดไม่เพียงพอ และยังให้เหตุผลว่าเป็นพยัญชนะที่ “ไม่ค่อยได้ใช้และสามารถทดแทนด้วยตัวพยัญชนะอื่นได้”
นี่อาจเป็นครั้งแรกที่พยัญชนะ ฃ, ฅ ถูก “ตัดทิ้ง” อย่างเป็นทางการ ส่วนครั้งต่อ ๆ มาก็คือการประกาศงดใช้ ฃ, ฅ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อครั้งปรับปรุงภาษาไทยให้เจริญก้าวหน้าในยุครัฐนิยม รวมถึงการประกาศเลิกใช้ในปทานุกรมและพจนานุกรมดังกล่าวแล้ว
มีข้อน่าสังเกตว่า แต่ก่อนพยัญชนะ ฅ ไม่ได้ใช้ในคำว่า คน เลย (ฅ ใช้ในคำ ฅอ ฅอเสื้อ เป็นอาทิ) ความสับสนในเรื่องนี้คงเกิดมาจาก ก ไก่ คำกลอน ผลงานของครูย้วน ทันนิเทศ (ในหนังสือแบบเรียนไว เล่ม ๑ ตอนต้น, พ.ศ. ๒๔๗๓) ที่แต่งว่า “ฅ ฅนโสภา” แล้วต่อมาหนังสือ ก ไก่ ฉบับประชาช่าง ก็แต่งว่า “ฅ ฅนขึงขัง” ซึ่งเป็น ก ไก่ คำกลอนฉบับที่คนรุ่นปัจจุบันคุ้นเคยที่สุด แล้วก็เลยพลอยเข้าใจว่า ฅ ใช้ในคำว่า คน
“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
Tuesday, January 12, 2010
รามเกียรติ์ [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
รามเกียรติ์ เป็น วรรณคดีของไทยที่สำคัญเรื่องหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เนื้อเรื่องและสำนวนกลอนในเรื่อง รามเกียรติ์ มีความไพเราะ มีคติสอนและแง่คิดในด้านต่าง ๆ อยู่เป็นอันมาก สอดแทรกเอาไว้ตลอดทั้งเรื่อง ตามหลักนิยมของอินเดียในเนื้อเรื่อง และหลักนิยมของไทยในสำนวนกลอน บทละครเรื่องรามเกียรติ์ได้วาดเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้ที่ศาลารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) นิยมนำมาแสดงเป็นโขน เขียนขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าฯ จำนวน 178 ห้อง เขียนโดยจิตรกรที่มีฝีมือยอดเยี่ยมของไทย เป็นภาพวิจิตรงดงาม ทรงคุณค่าทางศิลปกรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยมีการ ซ่อมแซมหลายครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2375, พ.ศ. 2425, พ.ศ. 2475 และครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2525 นอกจากเนื้อเรื่อง รามเกียรติ์ แท้ ๆจากห้อง 1 ถึงห้อง 178 ยังมีเรื่องการอวตารของพระนารายณ์ในปางก่อน ๆ อันเป็นที่มาของเรื่อง รามเกียรติ์ อีกหลายปางคือนรสิงหาวตาร ซึ่งเป็นปางที่สี่ วราหาวคาร ซึ่งเป็นปางที่ก่อให้เกิดวงศ์พระนารายณ์ขึ้น ที่โลกมนุษย์คือ ท้าวอโนมาตัน โอรสพระนารายณ ์ ที่เกิดจาก องค์พระนารายณ์เอง ให้ครองกรุงศรีอยุธยาที่ พระอิศวร โปรดให้ พระอินทร์ ลงมาสร้างให้หลานปู่ของ ท้าวอโนมาตัน คือ ท้าวทศรถ ผู้เป็นพระราชบิดาของ พระราม
กำเนิดรามเกียรติ์
กำเนิดเรื่องรามเกียรติ์นั้นเดิมเป็นเรื่องของชาวอินเดีย เรียกตามภาษาของชนชาตินั้นว่า รามายณะ ชาวอินเดียโดยเฉพาะที่นับถือพระวิษณุ ถือว่า รามายณะนี้เป็นคัมภีร์สำคัญ เท่ากันเป็นคัมภีร์ศาสนา ใครได้อ่านถือว่าได้บุญ กุศลได้ขึ้นสวรรค์ เมื่อราวประมาณ พ.ศ. 1900 ชาวอินเดียตอนใต้ได้เข้ามาทำการค้าขาย และตั้งถิ่นฐานทางฝั่งตะวันออกแห่งมหาสมุทร พวกนี้จึงได้นำวัฒนธรรมมาใช้ในหมู่เกาะใต้ ผู้แต่งเรื่องรามายณะนี้ เป็นฤาษีชื่อ วาลมิกี ได้แต่งเรื่องนี้เมื่อประมาณ 2400 ปีเศษมาแล้ว ตามตำนานว่า พระวาลมิกีได้ฟังเรื่องพระรามายณะจากพระนารท ต่อมาพระวาลมิกีได้ไปที่ฝั่งแม่น้ำกับนางตมสา ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำคงคา ได้เห็นนางนกกระเรียนตัวหนึ่ง ร้องคร่ำครวญถึงตัวผู้ ซึ่งถูกพรานยิงตาย พระวาลมิกีเห็นเช่นนั้นก็อุทานออกมาด้วยความสลดใจ เสียงที่อุทานมานั้นรู้จะอยู่ในคณะฉันท์ ใช้สำหรับขับได้ จึงได้นำทำนองนี้ซึ่งพบใหม่มาแต่งเรื่องรามายณะ และเรียกฉันท์นี้ว่า โศลก (โศก) เพราะฉัทน์นี้เกิดจากความสลดใจ เรื่องรามายณะนี้ เป็นเรื่องยาวประกอบด้วยฉันท์ถึง 24000 โศลก แบ่งออกเป็นตอนๆเรียกว่า กัณฑ์ รวมทั้งหมด 7 กัณฑ์ คือ พาล อโยธยากัณฑ์ อรัณยกัณฑ์ กีษกินธา กัณฑ์ สุนทรกัณฑ์ ยุกธ-กัณฑ์ และอุตตรกัณฑ์ เรื่องรามเกียริ์มีบุคคลสำคัญในเรื่องคือ พระราม นางสีดา และทศกัณฐ์ นักปราชญ์บางท่านเชื่อว่าเป็นเรื่องที่มีมานานกว่า 2400 ปี แต่เป็นเรื่องที่กระจัดกระจายอยู่ และวาลมิกีได้รวบรวมขึ้นมาใหม่
รามเกียรติ์ในประเทศไทย
ตามหลักฐาน ที่พอจะอนุมานได้ ปรากฎว่าเรื่องรามเกียรติ์ หรือรามายณะได้เข้ามายังประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 900 ปีล่วงมาแล้ว เพราะที่ปราสาทหินเมืองพิมายมีภาพสลักศิลาเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนในสมัยสุโขทันก็มีพูดถึงถ้ำพระราม ถ้ำสีดา ในจารึกของพ่อขุนรามคำแหง แต่เรื่องที่ปรากฏเป็นวรรณคดีนั้น เดินเราจะเคยมีหรือไม่ ไม่มีหลักฐานแน่ชัด มีคำฉันท์อยู่เรื่องหนึ่ง ชื่อ ราชาพิลาป คำฉันท์(นิราศสีดา) ผู้แต่งไม่ปรากฏนาม เป็นเรื่องที่แต่งสมัยสมเด็จพระนารยณ์มหาราช พรรณนาความคร่ำครวญของพระราม ตอนออกเดินทางเที่ยวตามหานางสีดา (เรื่องนี้นับเป็นรามเกียรติ์เรื่องเดียวที่เกิดขึ้นก่อนรามเกียรติ์ฉบับพระ เจ้ากรุงธนฯ และตกทอดมาจนถึงสมัยปัจจุบัน) ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่อง รามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น ได้ทรงเลือกมาเป็นตอน ๆ รามเกียรติ์ นี้จึงมีสำนวนกลอนที่ไพเราะที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรง พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ โดยดัดแปลงจากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เพื่อใช้ในการเล่นโขนซึ่งจะมีอยู่เพียงบางตอนที่คัดเลือกไว้เท่านั้น เช่น ตอนนางลอย ตอนหักคอช้างเอราวัณ ตอนสีดาลุยไฟ เป็นต้น
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
Monday, January 11, 2010
นิทาน จันทโครพ [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เรื่องจันทโครพนี้ บางครั้งก็เรียกว่า “เรื่องโมรา” เพราะว่าโมรามักจะถูกมองว่าเป็นหญิงชั่วร้ายที่ฆ่าได้แม้กระทั่งสามีตนเอง โดยส่งพระขรรค์ให้โจรป่าฆ่าสามีตนเอง และต่อไปนี้คือเนื้อเรื่องโดยย่อ
จันทโครพเป็นโอรสของพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงรักพระโอรสดั่งดวงพระทัยของพระองค์เลยที่เดียว ดังนั้นพระกุมารจึงแวดล้อมไปด้วยพระพี่เลี้ยงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากพระกุมารจะต้องปกครองบ้านเมืองในภายภาคหน้า จึงจำเป็นจะต้องศึกษาวิชาทุกแขนงอันเป็นประโยชน์ต่อการปกครองของตนในอนาคต วันหนึ่งในขณะที่ทรงเพลิดเพลินอยู่ในพระราชอุทยานนั้น พระราชาก็ทรงรับสั่งให้พระกุมารเข้าเฝ้าแล้วรับสั่งให้พระกุมารไปศึกษาศิลปวิชาการกับพระฤๅษีในป่า พระกุมารก็ยินดีปฏิบัติตามพระประสงค์พระราชบิดา และเดินทางไปอยู่กับพระฤๅษี
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว เจ้าชายจันทโครพก็เข้าไปกราบลาพระอาจารย์กลับบ้านเกิดเมืองนอน ของตน ว่าแล้วพระฤๅษีก็หยิบผอบเล็ก ๆ ส่งให้พร้อมกับกำชับอย่างหนักแน่น
“ เจ้าจงเก็บไว้กับตัว แต่จงจำไว้ว่าเจ้าจะเปิดผอบได้ก็ต่อเมื่อถึงเมืองของตนแล้วเท่านั้น อย่าเปิดในระหว่างเดินทาง มิฉะนั้นเจ้าจะประสบอันตรายถ้าไม่เชื่อฟัง ” พระฤๅษีกล่าวขึ้น
“ ครับท่านอาจารย์ หลานจะเปิดผอบก็ต่อเมื่อหลานถึงบ้านเมืองของหลานแล้วเท่านั้น ” เจ้าชายยืน ยันหนักแน่น
และแล้วจันทโครพก็มุ่งหน้าเดินทางกลับบ้านเมืองของตน เมื่อถึงเวลาเสวยอาหารกลางวันก็เข้าไปนั่ง ใต้ต้นโคนร่มไม้แล้วควักห่ออาหารแห้งที่เตรียมไว้ก่อนลาพระอาจารย์มาเสวย หลังจากเสวยเสร็จก็เกิดเคลิ้มหลับไป และก็สุบินว่า ผอบที่พระอาจารย์ให้ไว้นั้นหลุดจากมือตนตกลงน้ำไปแล้ว พระสุบินนี้เองที่กระตุ้นให้พระองค์อยากเปิดผอบดู แต่ก็ยังคงกังวลถึงคำสั่งของพระอาจารย์
ในระหว่างทาง เจ้าชายหนุ่มก็ทรงครุ่นคิดถึงผอบที่ติดตัวมาตลอดเวลา และแปลกพระทัยว่าอะไรหนอที่อยู่ข้างในนั้น ยิ่งนึกก็ยิ่งอยากเปิดดูให้แน่ และในที่สุด พระองค์ก็ตัดสินพระทัยผิดคำพูดโดยการเปิดผอบออก และในทันทีที่ฝาผอบถูกเปิดออก ก็มีหญิงสาวผู้เลอโฉมปรากฏออกมาจากผอมใบนั้น เธอส่งยิ้มหวาน ๆ ให้เจ้าชายหนุ่มผู้ซึ่งทอดพระเนตรอยู่ด้วยความตื่นเต้นและแนะนำตัวนางว่า
“ นายจ๋า หม่อนฉันชื่อโมราเพคะ พระฤๅษีใส่หม่อมฉันไว้ในผอบใบนี้ หม่อมฉันดีใจมากที่ได้เป็นอิสระเสียที ”
ทันทีที่เห็นหญิงสาว เจ้าชายหนุ่มก็ตกหลุมรักในทันที และขอให้นางเป็นชายาของพระองค์และแล้วทั้งคู่ก็เดินทางกันในป่า เจ้าชายจันทโครพดีพระทัยมากที่เพื่อนเดินทางแต่ในขณะเดียวกันก็ทรงกังวลว่าทำไมพระฤๅษีจึงห้ามไม่ให้เปิดผอบในระหว่างทาง ทรงครุ่นคิดเพียงลำพังแล้วก็สรุปเอาเองว่าพระฤๅษีอาจจะทดสอบดูว่าตนเป็นคนสอดรู้สอดเห็นหรือไม่เท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตามสิ่งที่พระฤๅษีพูดนั้นก็ปรากฏว่ากำลังจะเป็นจริงแล้วพระว่ามีโจรป่าแอบซุ่มอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ ๆ นั้น เขาแอบดูความเคลื่อนไหวของทั้งคู่อยู่อย่างเงียบ ๆ และเมื่อได้เห็นความงามของนางโมราก็อยากได้ไปเป็นภรรยา ช่วงเวลานั้นโมรารู้สึกกระหายน้ำมาก คอของนางแห้งผากแต่ว่าไม่มีน้ำสักหยดให้นางดื่มกินได้ เจ้าชายจันทโครพก็ใช้พระขรรค์แทงเนื้อรินพระโลหิตให้โมราดื่มกินแก้กระหาย ในขณะนั้นเองโจรป่าก็โผล่ออกมาจากพุ่มไม้ทันทีและยืนอยู่เบื้องหน้าของทั้งคู่ โจรป่ากล่าวหาทั้งคู่ว่าบุกรุกเข้ามายังถิ่นของตน แต่เจ้าชายยืนกรานว่าป่าไม้ใช่ที่ของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ชายทั้งสองจึงเกิดโต้เถียงกันอย่างรุนแรง
โดยไม่พูดพร่ำทำเพลงอะไรอีกต่อไป เจ้าโจรพุ่งเข้าใส่จันทโครพแล้วชกเขาล้มลงกับพื้นก่อนที่ จันทโครพจะมีโอกาสชักพระขรรค์ออกมาเสียด้วยซ้ำไป ทั้งคู่ต่อสู้กันอยู่บนพื้นอยู่พักหนึ่งก่อนที่โจรป่าได้เปรียบ แต่เจ้าชายมีทักษะในการต่อสู้ได้ดีกว่าเพราะได้รับการสั่งสอนมาจากพระฤๅษี จันทโครพจึงสามารถผลักโจรป่าและเรียกให้ภรรยาพระขรรค์ให้ตน โมราจับพระขรรค์ไว้แต่ลังเลที่จะส่งให้สามีตนเพราะไม่ต้องการให้เจ้าชายฆ่า โจรป่าผู้ซึ่งเป็นคนที่นางมีใจให้อยู่ด้วยเหมือนกันในตอนนี้ เมื่อไม่สามารถจะตัดสินใจได้ในยามคับขันเช่นนี้ นางก็วางพระขรรค์ไว้ตรงกลางชายทั้งสอง แต่ว่าให้ด้ามหันไปทางโจรป่า ในขณะที่ด้านคมหันไปทางสามีทั้งคู่จึงกรูกันไปแย่งอาวุธในเวลาพร้อมกัน จันทโครพถูกคมมีดบาดจึงปล่อยพระขรรค์ เป็นจังหวะที่โจรป่าได้โอกาสเพราะกำด้ามพระขรรค์ได้โอกาสเพราะกำด้ามพระขรรค์ได้ จึงแทงเจ้าชายจันทโครพสิ้นพระชนม์อยู่ตรงนั้นเอง ร่างของเจ้าชายนอนจมกองเลือดอยู่อย่างนั้น
ตอนนี้เองที่โมรารู้สึกใจที่เห็นร่างอันไร้วิญญาณของเจ้าชายจันทโครพแต่ก็สายเกิน ไปที่จะช่วยชีวิตให้ ฟื้นคืนมาได้ และแล้วนางก็ตามโจรป่าผู้ซึ่งจูงมือนางนำทางไป หลังจากได้โมราเป็นภรรยาแล้วโจรป่าก็มาคิด ตรึกตรองว่า หญิงผู้นี้เป็นคนชั่วร้ายเพราะแม้แต่สามีของนางก็ยังทรยศได้ลงคอ นางฆ่าได้แม้กระทั่งชายผู้ซึ่งเสียสละเลือดให้นางดื่มกินแทนน้ำ ในภายภาคหน้านางก็อาจจะกระทำแบบนี้กับเขาก็ได้ ในขณะที่โมรานอนหลับโจรป่าก็ทิ้งนางไว้ในป่าแต่เพียงลำพัง
เมื่อตื่นขึ้นมา ไม่พบสามีใหม่ โมราก็หลงทางในป่าแต่เพียงลำพัง และรู้สึกหิวอย่างมาก นางไม่รู้ว่า จะหาอาหารอย่างไร จึงได้แต่นั่งร้องไห้อยู่ตรงนั้น
ฝ่ายพระอินทร์เมื่อเล็งทิพยเนตรเห็นเหตุการณ์ทั้งหมด ก็เสด็จลงมายังโลกมนุษย์เพื่อสอนบทเรียน แก่โมราให้เข็ดหลาบและช่วยชุบชีวิตจันทโครพแล้วพระองค์ก็แปลงร่างเป็นเหยี่ยวคาบชิ้นเนื้อไว้ในปาก
ทันทีที่เห็นชิ้นเนื้อในปากนก โมราก็ร้องเรียกขอส่วนแบ่งบ้าง แต่เหยี่ยวทำเป็นแกล้งถามว่านางจะ ให้อะไรเป็นของแลกเปลี่ยนกับชิ้นเนื้อของตน โมราไม่รีรอที่จะเสนอตัวเองเป็นภรรยาของสัตว์เดรัจฉานอย่าง เช่นเหยี่ยว เมื่อได้ยินเช่นนี้ นกเหยี่ยวก็โกรธมากและทันใดนั้นก็กลายร่างเป็นพระอินทร์อย่างเดิม พระองค์ ชี้นิ้วไปที่โมราและประมาณว่า
“ เจ้าเป็นหญิงชั่วร้าย แม้ว่าเจ้าจะมีสามีที่ดีแสนดีก็ยังแบ่งใจให้ชายอื่นที่ตนไม่รู้จักมาก่อนเมื่อโจร ป่าหนีไปจากเจ้าตอนนี้เจ้าตอนนี้ก็ยังยกกายให้เป็นภรรยาของเหยี่ยวอีกเพียงเพื่อ ให้ได้มาซึ่งชื้นเนื้อเท่านั้น เจ้าพร้อมที่จะสมสู่กับสัตว์เดรัจฉานโดยปราศจากยางอาย ”
ทันทีที่สิ้นคำประมาณของพระอินทร์ร่างของโมราก็กลายเป็นชะนี พร้อมน้ำตานองหน้าร้องเรียกหา ผัว ผัว ผัว ผัว แล้วนางชะนีที่มีหน้าเศร้าก็โดดเข้าป่าหายไป ตั้งแต่นั้นมาชะนีก็จะร้องหาผัวอยู่ตลอดเวลา บางแห่งก็จบเนื้อเรื่องแต่เพียงเท่านี้ แต่ก็มีบางแห่งกล่าวว่าพระอินทร์ทรงร่ายมนต์ชุบเจ้าชายจันทโครพให้ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง และทรงตรัสสอนเจ้าชาย
เราคือพระอินทร์ เจ้ามีกรรมแต่หนหลัง โมราเป็นหญิงชั่วร้ายไม่เหมาะสมที่จะเป็นคู่ครองของเจ้า หญิงที่เกิดมาเพื่อเป็นภรรยาของเจ้าแท้ที่จริงแล้วเป็นธิดาพญานาค พระอินทร์ทรงตรัสแล้วก็หายไป
กล่าวกันว่าและแล้วเจ้าชายจันทโครพก็ได้พบเนื้อคู่ในอนาคตของพระองค์มีนามว่า “ นางมุจลินท์ ” ซึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำทอง บิดาของนางรักนางดุจดวงใจ จึงให้นางอยู่แต่ในถ้ำท่ามกลางการอารักขาอย่างแน่นหนา
อย่างไรก็ตาม จันทโครพก็สามารถเล็ดลอดเข้าไปจนได้และเกี๊ยวพาราสีนาง จนกระทั่งนางหลงรักพระองค์ทั้งคู่อยู่ด้วยกัน จนกระทั่งนางมุจลินทร์มีครรภ์แล้วจันทโครพก็ตัดสินใจเข้าไปขอขมาพญานาคและแล้วทั้งคู่ก็ออกเดิน ทางไปยังเมืองของเจ้าชายจันทโครพ เพราะราชบิดาของพระองค์กำลังรอการกลับมาของ พระองค์ ในเนื้อเรื่อง กล่าวว่าในระหว่างที่ทั้งคู่เดินทางไปนั้น ทั้งคู่ก็พบกับศตรูและอุปสรรคมากมาย แต่ท้ายที่สุดทั้งคู่ก็ได้กลับมาอยู่ และปกครองเมืองพรหมทัตจนกระทั่งชราภาพ และสิ้นพระชนม์อย่างสงบ พระโอรสของทั้งสองพระองค์พระนามว่า “ เจ้าชายจันทวงศ์ ” ได้ขึ้นครองราชย์แทน และปกครองพระนครอย่างมีความสุขเรื่อยมา
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
Sunday, January 10, 2010
ตำนาน บึงหล่ม อุตรดิตถ์ [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เนื้อเรื่อง
....................บึงหล่มเดิมเคยเป็นเมือง ๆ หนึ่ง ซึ่งไม่ทราบว่าชื่อเมืองอะไร เมืองนี้มีหมอคนหนึ่งผลิตยาวิเศษได้ ๒ เม็ด ยาวิเศษที่ว่านี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดกาล เจ้าเมืองได้ รับยาวิเศษทั้ง ๒ เม็ด จึงเสวยยาไป ๑ เม็ด และให้ชายาเสวยไป ๑ เม็ด ทั้งสองจึงคงสภาพเป็นหนุ่มสาวเช่น
เดิม เจ้าเมืองและชายามีบุตรชาย ๑ คน ได้ส่งไปศึกษาเล่าเรียนอีกเมืองหนึ่งที่เจริญกว่า ต่อมาเจ้าเมืองได้ไปช่วยการทัพเมืองอื่น และตายในที่รบ เมื่อชายาทราบ จึงให้บุตรชายกลับมาช่วยจัด พิธีศพจนเรียบร้อย คณะกรมการเมืองและชายาได้ปรึกษาหารือกันที่จะให้บุตรชายครองเมือง แต่ทั้งนี้บุตรชาย จะต้องมีชายาก่อนจึงจะครองเมืองได้ บุตรชายได้พยายามหาหญิงที่ สวยงามและดีมาเป็นคู่ครองแต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะไม่มีหญิงใดที่สวยเท่าแม่ของตนเลย บุตรชายได้อยู่ใกล้ชิดกับแม่ทั้งสวยทั้งเก่งจึงหลงรักแม่ของ ตนเองโดยแม่ไม่รู้ตัว จนวันหนึ่งบุตรชายคิดว่าคนที่ เหมาะสมกับการเป็นชายาของตนมากที่สุดก็คือแม่ของ
ตนนั่นเอง
.....................อยู่มาวันหนึ่งจึงถามแม่ว่า ประตูที่ออกมาแล้วสามารถเข้าไปอีกได้หรือไม่ ส่วนแม่ก็คิดว่าประตู ที่บุตรชายถามหมายถึงประตูที่ใช้เป็นทางเดินเข้าออก หรือประตูบ้านประตูเมือง จึงตอบไปว่า ได้ซิลูก ทำไมจะไม่ได้ล่ะ ดึกของคืนนั้นลูกชายซึ่งคิดจะปลุกปล้ำแม่เป็นภรรยา จึงพยายามจะลักลอบเข้าไปในห้องนอน ขณะที่
เปิดประตูจะก้าวเท้าเข้าไปในห้องของแม่ ทันใดนั้นก็เกิดแผ่นดินไหวสั่นสะเทือนขึ้นทันที และไหวถึง ๗ วัน ๗ คืน ผู้คนต่างหนีตายไปในที่ต่าง ๆ กัน ทำให้บ้านเมืองที่ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินนั้นถล่มลงไปกลายเป็น หนองบึง มีน้ำท่วมขัง ต่อมาจึงเรียกว่า บึงล่ม หรือบึงหล่ม (ปัจจุบันบึงหล่มคือบึงน้ำขนาดใหญ่ในตำบล
นาอิน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์)
คติ / แนวคิด
.....................การคิดที่จะเอาแม่เป็นภรรยานั้น เป็นการล่วงละเมิดศีลธรรม จริยธรรม และ จารีตประเพณี ทำให้ผู้นั้น ไม่มีความเจริญ และถูกฟ้าดิน (สังคม) ลงโทษ
ในด้านภูมิปัญญานั้น แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านจะผูกนิทานหรือตำนานให้เข้ากับ ท้องถิ่นของตนและ สอดแทรกบทเรียนทางศีลธรรมไว้ด้วย
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ตำนาน ฤาษีกับหม้อทองคำ แม่ฮ่องสอน [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เนื้อเรื่อง
..................มีตุ๊กต่าคนหนึ่ง เก็บหม้อทองคำได้ ซึ่งหนักมากและได้พบกับฤาษี ๓ ตน ที่นั่งภาวนาอยู่จึงเข้าไปฝากหม้อทองคำนั้นกับฤาษี ฤาษีสองตนนั้นมีอายุมากแล้วและอีกตนหนึ่งนั้นยังหนุ่มอยู่ บอกว่าไม่รับฝาก แต่ในที่สุดก็ต้องรับฝาก แล้วตุ๊กต่าก็กลับไปและบอกว่าวันพรุ่งนี้จะจ้างคนมาหาม พอไปถึงบ้านรุ่งเช้าก็จ้างคนเพื่อไป หามหม้อทองคำกลับบ้าน แต่พอไปถึงก็ไม่เห็นหม้อของตน ก็ร้อนใจและเป็นห่วงว่าจะไม่ได้คืนก็เลยไปใน
เมืองพาราณสี และได้พบกับนางซูมานตะหลี่ ซึ่งเป็นลูกสาวของขุนหอคำในเมืองนั้น ได้สอบถามนายตุ๊กต่าว่า ตอนนำหม้อไปฝากนั้นมีใครบ้าง ตุ๊กต่าก็ตอบว่า มีฤาษี ๓ ตน ๒ ตนแก่และอีกตนเป็นหนุ่ม นางก็บอกว่า ถ้าอย่างนั้นนางจะไปสอบถามดูเองว่าเป็นอย่างไร นางก็เดินทางมายังป่านั้น และนางเตรียมปริศนาสามข้อ
เพื่อจะมาถามฤาษีทั้งสามนั้นว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งมาขอนางแต่นางมีคู่หมายอยู่แล้วแต่เป็นคนจน เศรษฐีนั้น มาทีหลัง แต่ถ้าหากเศรษฐีรักนางจริงก็ขอให้เอาเงินทองให้นางก่อน และขอไปนอนกับคนรัก ๑ คืนก่อน แล้ว จะกลับมา ถ้าให้ก็จะเอา ถ้าไม่ให้ก็ไม่เอา เศรษฐีก็ยอมตกลงที่ตามที่นางขอ และพอเดินทางไปก็ไปพบกับเสือ
และเสือก็จะกินนางให้ได้ แต่นางก็บอกว่านางจะไปนอนกับคนรักก่อน ๑ คืน แล้วจะกลับมา แล้วนางก็เดิน ทางต่อก็ไปพบกับโจรก็บอกว่าจะปล้นเอาเงินเอาทองของนาง นางก็บอกว่าอย่าเพิ่งปล้นเอาเงินเอาทองของนาง เพราะนางต้องแต่งตัวเพื่อไปพบกับคนรักของนางก่อนแล้วจะกลับมาให้ปล้น นางก็ถามฤาษีทั้งสามตน
ว่า ถ้าเป็นท่าน ๆ จะทำอย่างไร
ฤาษีตนที่ ๑ บอกว่า ตนสงสารและรู้สึกเห็นใจในตัวของท่านเศรษฐีที่ให้ทั้งเงินทองแล้วยังรู้ด้วยว่านางไปนอนกับคนรักยังให้ไป
ฤาษีตนที่ ๒ บอกว่า ตนเห็นใจเสือ ทั้งที่รู้ว่านางจะไปนอนกับคนรักแล้วจะกลับหรือไม่กลับแต่ก็ยังให้ไป
ฤาษีตนที่ ๓ บอกว่า ตนเห็นใจโจร และรู้ว่าถ้าปล่อยนางไปแล้วไม่กลับมาก็จะไม่ได้อะไรเลย ถ้าเป็นตน ๆ จะไม่ปล่อย
........................นางได้ฟังดังนั้น ก็คิดได้ว่าต้องเป็นฤาษีตนที่สามนี้แน่ที่เอาหม้อทองคำของตุ๊กต่าไป จึงเดินทางกลับไปยังที่พัก และพอรุ่งเช้านางได้มาหาฤาษีตนที่ ๓ ได้พูดคุยและถามฤาษีตนนั้นว่า นางต้องการที่จะหนีตามฤาษีไป แต่ว่านางไม่ได้เอาเงินทองทรัพย์สินมาด้วย ถ้าหากว่านางพร้อมที่จะอยู่กินกับฤาษีนั้นจะมีเงินทองพอที่
เลี้ยงนางได้หรือไม่ ฤาษีได้ฟังดังนั้นก็นึกว่านางคงต้องการตนจริง ๆ ก็เลยตอบไปว่าได้เพราะเขาได้เอาหม้อทองคำของตุ๊กต่าไปซ่อนไว้ และนางก็ถามต่อไปว่า เอาไปซ่อนไว้ที่ไหน ฤาษีก็ได้บอกที่ซ่อน นางจึงได้ไปนำหม้อทองคำนั้นไปคืนให้กับตุ๊กต่า
คติ / แนวคิด
..............นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การเอาของของคนอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตมาเป็นของตนนั้น ทำให้เกิดความเดือดร้อน และเสื่อมเสียชื่อเสียงได้ ถ้าหากเจ้าของหรือผู้อื่นรู้ทีหลัง
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
Saturday, January 9, 2010
ตำนาน ผีแม่ม่าย สระแก้ว [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ลักษณะความเชื่อ
..............ประมาณกลางปี พ.ศ. ๒๕๓๗ มีข่าวลือไปทุกหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดสระแก้วว่ามีผีแม่ม่ายออก อาละวาดในยามค่ำคืน เพื่อตระเวนหาชายหนุ่มไปเป็นสามีในเมืองผี โดยจะมาเอาชีวิตชายหนุ่มในเวลากลาง คืน ๆ ละ ๑ คน หากครอบครัวใดไม่อยากให้ลูกชายตายไปเป็นสามีผีแม่ม่าย ให้สร้างหุ่นผู้ชายไว้หน้าบ้าน
เมื่อผีแม่ม่ายออกมาในเวลากลางคืนก็จะคิดว่าหุ่นนั้นเป็นชายหนุ่ม จึงนำกลับไปเป็นสามีทำให้บุตรชายใน ครอบครัวนั้นไม่ต้องเสียชีวิต จึงนิยมสร้างหุ่นไว้หน้าบ้านของคน โดยพบเห็นอยู่ทั่วไป บางคนมีความเชื่อว่าผีแม่ม่ายคนนี้เป็นม่ายตั้งแต่ยังสาวมีความต้องการทางเพศสูง มักมากในผู้ชาย จึงทำอวัยวะเพศ (ปลัดขิก) อันใหญ่โตทาด้วยสีแดง ให้ปลัดขิกโผล่ออกมานอกกางเกงของหุ่นนั้นด้วย บางบ้านจะทำใหญ่มาก เพื่อให้ผีแม่ม่ายชอบใจแล้วนำกลับไปเป็นสามีโดยไม่สนใจชายหนุ่มภายในบ้านเลย
ความสำคัญ
.............หญิงที่เป็นแม่ของชายหนุ่มและหญิงผู้เป็นภรรยา จะคลายความวิตกกังวลในเรื่องความกลัวการสูญเสียบุตรหรือสามี
พิธีกรรม
..............ทำหุ่นแบบหุ่นไล่กาแต่งตัวแบบผู้ชาย นำไม้เนื้ออ่อนค่อนข้างโตมาแกะสลักเป็นรูปปลัดขิกทาปลาย ปลัดขิกด้วยสีแดง นำไปผูกติดกับด้านหน้าหุ่นไล่กา ให้ปลัดขิกโผล่ออกนอกกางเกง ขนาดยาวพอประมาณให้สังเกตเห็นเด่นชัด เสร็จแล้วนำไปตั้งไว้หน้าประตูทางเข้าบ้านของตน
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ตำนาน นางกาไว จันทบุรี [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เนื้อเรื่อง
..............นานมาแล้วนับพันปีมีเมืองๆ หนึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขาสระบาปมีเจ้าผู้ครองเมืองสืบราชสันติวงศ์มาหลายสมัย จนถึงสมัยของพระเจ้าพรหมทัต ซึ่งมีโอรสกับเอกอัครมเหสี ๒ พระองค์ คือ พระไวยทัต และพระเกตุทัต ต่อมาพระมเหสีสิ้นพระชนม์ พระเจ้าพรหมทัตจึงมีมเหสีใหม่มีพระนามว่า "พระนางกาไว" และมีโอรสด้วยกัน
๑ พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม พระนางกาไวมีรูปสมบัติความงามเป็นเลิศ แต่จิตใจมักใหญ่ใฝ่สูงนัก ต้องการให้บุตรของตนขึ้นครองราชย์แทนพระบิดาต่อไป ทำให้โอรสทั้ง ๒ ของพระมเหสีองค์แรกต้องออกจากเมือง จึงทูลขอให้พระเจ้าพรหมทัตส่งพระโอรสทั้งสองไปสร้างเมืองใหม่ในที่ที่กันดาร เมื่อพระเจ้าพรหมทัตได้ฟังแล้วก็ ทรงถามความเห็นในที่ประชุมขุนนาง ทุกคนก็เห็นดีด้วย พระไวยทัตกับพระเกตุทัตจำใจต้องไปสร้างเมืองใหม่ โดยขอคัดเลือกคนไปด้วย เอาเฉพาะคนหนุ่มฉกรรจ์แข็งแรง มีฝีมือในการรบ พร้อมทั้งแบ่งครอบครัวผู้คนพลเมืองพากันไปสร้างเมืองใหม่เรียกเมืองนั้นว่า "เมืองสามสิบ" (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโป่งน้ำร้อน) ใกล้ชายแดนกัมพูชา พระไวยทัตกับพระเกตุทัตก็รีบเร่งซ่องสุมผู้คนไว้เป็นกำลัง ต่อเมื่อพระเจ้าพรหมทัตสิ้นพระชนม์พระนางกาไวจึงแต่งตั้งบุตรของตนเป็นเจ้า เมืองแทน แต่เนื่องจาก
พระโอรสยังทรงพระเยาว์พระนางจึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ชาวบ้านจึงเรียกเมืองๆ นั้นว่า "เมืองกาไว" ฝ่ายพระไวยทัตกับพระเกตุทัตทราบเรื่องว่าพระราชบิดาสิ้นพระชนม์จึงยกทัพลงมาเพื่อชิงเมืองคืน แต่ กองทัพของพระไวยทัตกับพระเกตุทัต สู้กำลังกองทัพของพระนางกาไวไม่ได้ จึงถอยทัพไปและขอกำลังจาก กษัตริย์ขอมซึ่งประทับอยู่ ณ เมืองนครธม ช่วยแก้แค้นโดยสัญญาว่า ถ้าตีเมืองได้แล้วจะแบ่งเมืองให้กึ่งหนึ่ง กษัตริย์ขอมส่งกองทัพมาช่วยและยกมาตั้ง พลับพลา พักพลอยู่นอกเมือง ตำบลที่พักพลนี้เรียกว่า
"พลับพลา" ในปัจจุบันบริเวณนี้เรียกว่า ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เมื่อส่งคนไปเจรจาไม่ได้ผล กองทัพของพระยาไวยทัตและขอมก็เข้าตีเมืองกาไว พระนางกาไวเห็นว่า สู้ไม่ได้จึงขนทรัพย์สมบัติขึ้นหลังช้างและหนีออกมาได้ทางประตูเมืองด้านทิศใต้ พอกองทัพของพระไวยทัต
เข้าเมืองได้ก็ให้ทหารติดตามไป พระนางกาไวเห็นว่าจวนตัวก็เอาทองเพชรพลอยออกหว่านโปรย เพื่อล่อ ทหารข้าศึกให้พะวงเก็บทอง แล้วรีบหนีลงเรือสถานที่ที่พระนางกาไวหว่านทองคำไว้เรียกว่า "บ้านทองทั่ว" (ปัจจุบันก็คือ บริเวณวัดทองทั่วเพนียดช้างก็ยังอยู่จนบัดนี้ทำด้วยศิลาแลง)
คติ/แนวคิด
.................ตำนานเรื่องนางกาไวเป็นตำนานที่บ่งบอกถึงประวัติชื่อบ้าน นามเมืองของจันทบุรี ซึ่งปรากฏอยู่ในตำนานเรื่องนี้ เช่น เพนียด กาไว สามสิบ พลับพลา และทองทั่ว นอกจากนี้ยังให้แนวคิดว่าความโลภไม่เกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ตำนาน แหลมงอบเกาะช้าง ตราด [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เนื้อเรื่อง
................สมัยหนึ่งพระโพธิสัตว์ได้มาสร้างตำหนักเลี้ยงช้างอยู่ที่เกาะช้าง มีช้างพลายเชือกหนึ่งเป็นจ่าโขลง ชื่อว่า อ้ายเพชร และมีสองตายายผู้เลี้ยงชื่อ ตาบ๋าย และยายม่อม วันหนึ่งอ้ายเพชรจ่าโขลงตกมันหนีเตลิด เข้าป่าไปผสมพันธุ์กับนางช้างป่า ตกลูกมา ๓ เชือก เมื่อพระโพธิสัตว์ทราบเรื่องจึงสั่งให้สองตายายไปติดตาม
โดยให้ไปคนละทาง อ้ายเพชรหนีไปจนสุดเกาะด้านเหนือจึงว่ายน้ำข้ามทะเลมาขึ้นฝั่งซึ่งเดี๋ยวนี้เรียกว่า บ้าน ธรรมชาติ ส่วนลูกทั้งสามที่ตามมาด้วยว่ายน้ำไม่เป็น จึงจมน้ำตาย กลายเป็นหินสามกองอยู่บริเวณอ่าว คลองสน ชาวบ้านเรียกว่า หินช้างสามลูก ในขณะที่อ้ายเพชรว่ายน้ำไปถึงกลางทะเลลึกก็ได้ถ่ายมูลไว้กลาย
เป็นหินกองอยู่ตรงนั้นเรียกว่า "หินขี้ช้าง"ปัจจุบันมีกระโจมไฟ (ประภาคาร) บนหินกองนี้ เมื่อขึ้นฝั่งได้แล้ว อ้ายเพชรก็มุ่งหน้าเลียบไปตามชายฝั่งด้านทิศใต้ ตาบ๋ายซึ่งเป็นผู้เลี้ยงเห็นว่าตามไปไม่ทันแล้วจึงเดินทาง กลับ จึงคงปล่อยให้ยายติดตามไปแต่เพียงผู้เดียว ยายม่อมตามไปจนทันช้างขึ้นฝั่งแต่ไม่กล้าเข้าป่ากลัวสัตว์
จะทำร้าย ในที่สุดก็ตกลงไปในโคลนถอนตัวไม่ขึ้นถึงแก่ความตาย ร่างกายของแกกลายเป็นหินกองอยู่ตรงนั้น ชาวบ้านจึงเรียกว่า "หินยายม่อม" ส่วนงอบที่แกสวมไว้ได้ลอยไปติดปลายแหลมและกลายเป็นหิน ชาวบ้าน เรียกว่า "แหลมงอบ" ตรงบริเวณที่ตั้งกระโจมไฟในปัจจุบัน ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากงอบของยายม่อมที่ลอยไปติด ชายฝั่ง
....................เมื่อพระโพธิสัตว์ทราบเรื่องจากคนเลี้ยงว่า อ้ายเพชร มุ่งหน้าไปทางทิศใต้ จึงเข้าใจว่า อ้ายเพชรจะต้อง คิดไปที่เกาะอีก จึงเกณฑ์คนให้ทำคอกดักไว้เกือบถึงท้ายเกาะด้านใต้ ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านแถบนี้ว่า "บ้านคอก" และเกาะซึ่งเกิดจากลิ่มและสลักที่ทำคอกนั้น เรียกว่า "เกาะลิ่ม" "เกาะสลัก" ส่วนมากเรียกรวมกันว่า "บ้านสลักคอก" ฝ่ายอ้ายเพชรนั้นเมื่อเลียบชายฝั่งมาจนถึงท้ายเกาะก็คิดข้ามไปยังเกาะจริงตามที่คาดไว้ พอ
ว่ายน้ำไปได้หน่อยหนึ่งก็ถ่ายมูลออกมากลายเป็น "หินกอง" มาจนทุกวันนี้ น้ำในบริเวณนั้นลึกมาก แม้มีหินโผล่ขึ้นมาแต่มิได้อยู่ในเส้นทางการเดินเรือ จึงไม่ได้มีการจัดตั้งประภาคารไว้ที่หินเหล่านี้ เมื่ออ้ายเพชรไปถึง แล้วแทนที่จะกลับเข้าคอกกลับเดินเลียบฝั่งอ้อมแหลมเข้าไปทางอ่าวด้านนอก พระโพธิสัตว์สั่งให้คนไปสกัด
ให้กลับมาเข้าคอก ชาวบ้าน จึงเรียกที่ไปสกัดข้างนี้ว่าไปสลักหน้า และเรียกหมู่บ้านบริเวณนี้ว่า "บ้านสลัก เพชร" ซึ่งหมายถึง สลักหน้าอ้ายเพชร โดยเหตุที่เกิดความยุ่งยากนี้พระโพธิสัตว์จึงฝังอาถรรพ์ไว้ตามเกาะ ต่าง ๆ มิให้ช้างอาศัยอยู่อีกต่อไปนับแต่นั้นมาเกาะต่าง ๆ จึงไม่มีช้างอาศัยจนถึงปัจจุบัน
คติ / แนวคิด/สาระ
..................เป็นเรื่องเล่าต่อกันมา โดยสอดแทรกเนื้อหาสาระ เพื่ออธิบายความเกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตของตนเองกับสภาพแวดล้อมรอบตัวอย่าง เป็นเหตุเป็นผล โดยสอดแทรกความสนุกสนานให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่อยู่ รอบตัวได้ง่าย และชวนให้สนใจอยากหาคำตอบบางประการ เช่น ชื่อเกาะช้าง ทำไมจึงไม่มีช้างอาศัยอยู่เลย
เป็นต้น
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
Friday, January 8, 2010
ธรรมะของหลวงปู่ทวด [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
หลวงปู่ทวด
วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ท่านเป็นพระมหาเถระที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในนาม
" หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด "
คาถาบูชาท่าน คือ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
ชาติกาล 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
ชาติภูมิ บ้านเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
บรรพชา เมื่ออายุได้ 15 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี
มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ.2225
สิริรวมอายุได้ 99 ปี
คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด
ธรรมประจำใจ
พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์
ละได้ย่อมสงบ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ
สันดาน
" ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง
ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก
ชีวิตทุกข์
การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ
จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ
เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้าน
ก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ
นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย
บรรเทาทุกข์
การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม
เราต้องเป็นตัวของเราเองและเราจะต้องวินิจฉัย ในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง
กับตัวเราว่าสิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
ยากกว่าการเกิด
ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก
เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย
ไม่สิ้นสุด
แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด
กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น
ยึดจึงเดือดร้อน
ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโน่น ยึดนี่ ยึดพวกยึดพ้อง
ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรม สากลจักรวาลโลกมนุษย์นี้
ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม
ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน
เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า
สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ
อยู่ให้สบาย
ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด
อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย
อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์
เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง
ธรรมารมณ์
การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน
และรู้หน้าที่ในการงาน คือรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ
ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆแล้ว
ถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์
กรรม
ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว
ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง
มารยาทของผู้เป็นใหญ่
" ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง " มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่
ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ
โลกิยะหรือโลกุตระ
คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้
คนที่เดินทางโลกิยะย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ?
ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว
ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า
ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ?
แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน เราต้องตัดสินใจ
ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง
ศิษย์แท้
พิจารณากาย ในกาย พิจารณาธรรม ในธรรม พิจารณาวิญญาณ
ในวิญญาณ นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
รู้ซึ้ง
ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ
เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา
ใจสำคัญ
การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จะต้องทำด้วยความศรัทธา
ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้น เกินความคาดหมาย
หยุดพิจารณา
คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน
และถ้าภาวะนั้นตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือหยุดพิจารณา
แล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้
บริจาค
ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอก
การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน
เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ
การบริจาคภายในย่อมได้กุศล มากว่า การบริจาคภายนอก นี่คือเรื่องของนามธรรม
ทำด้วยใจสงบ
เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน
เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน
เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้ว
ปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก
มีสติพร้อม
จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ
อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผลมาอยู่เหนือความจริง
เตือนมนุษย์
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีงานทำในไม่ช้า
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า
พิจารณาตัวเอง
คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร
ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่าที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร
คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น
เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง
คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน
เล่มของหลวงปู่ทวดขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ตำนาน เหตุที่วัวฟันหัก ภูเก็ต [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
........................ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสด็จไปบนสวรรค์เพื่อโปรดพุทธมารดา โดยมีเต่าตามไปด้วย โดยพระพุทธเจ้าให้เต่าคาบจีวรแล้วเหาะไป ในขณะที่เต่าอยู่กลางอากาศวัวก็เห็นเต่าก็ตะโกนดังๆว่า "แลโด้เต่าเหาะได้" เมื่อเต่าได้ยินก็พูดอวดตัวเอง ว่าเก่งที่เหาะได้เลยได้พูดว่า "ตอเดียวเราจะเหาะให้สูงกว่านี้อีก"
แต่พออ้าปากพูดเต่าลงหล่นลงมา วัวก็หัวเราะด้วยความสมน้ำหน้า และเต่าได้หล่นตรงปากวัวพอดีทำให้ หน้าฟันบนหักหมด แล้วกระดองเต่าก็ร้าวเหมือนที่เห็นกันในปัจจุบัน
คติ/แนวคิด
........................ในการพูดสิ่งใดก็ตามในแต่ละครั้ง ก็ต้องดูสถานที่หรือโอกาสที่จะพูดว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนไม่ควรพูด และไม่ควรพูดจาโอ้อวดจนลืมความปลอดภัยของตนเองไปได้ อีกอย่างหนึ่ง ก่อนกระทำการใด ๆ ก็ตามก็ต้องคิดตรึกตรองให้รอบคอบเสียก่อน จึงพูดออกมา หรือกระทำจึงส่งผลให้เกิดในทางที่ดีที่ถูกต้อง และที่สำคัญไม่เกิดผลกระทบต่อบุคคลอื่น
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ตำนาน โนรา พัทลุง [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
............................โนราเป็นการละเล่นพื้นเมืองภาคใต้ที่มีมาแต่โบราณ ด้วยกาลเวลาที่ยาวนานทำให้เรื่องเล่า "โนรา" ผิดเพี้ยนกันเป็นหลายกระแส เช่น
กระแสที่เล่าโดย ขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราพุ่มเทวา) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ความว่า พระยาสายฟ้าฟาดเป็นกษัตริย์ครองเมือง ๆ หนึ่ง มีชายาชื่อ นางศรีมาลา มีธิดาชื่อ นวลทองสำลี วันหนึ่ง นางนวลทองสำลีสุบินว่ามีเทพธิดามาร่ายรำให้ดู ท่ารำมี ๑๒ ท่า มีดนตรีประโคม ได้แก่ กลอง โหม่ง ปี่ ทับ ฉิ่ง และ แตระ นางให้ทำเครื่องดนตรี และหัดรำตามที่สุบิน เป็นที่ครึกครื้นในปราสาท วันหนึ่ง นางอยากเสวยเกสรบัวในสระหน้าวัง ครั้นนางกำนัลเก็บถวายให้เสวย นางก็ทรงครรภ์ แต่ยัง
คงเล่นรำอยู่ตามปกติ วันหนึ่งพระยาสายฟ้าฟาดเสด็จมาทอดพระเนตรการรำของธิดา เห็นนางทรงครรภ์ ทรง ซักไซ้เอาความจริง ได้ความว่าเหตุเพราะเสวยเกสรบัว พระยาสายฟ้าฟาดไม่ทรงเชื่อ และเห็นว่านางทำให้ อัปยศ จึงรับสั่งให้เอานางลอยแพพร้อมด้วยสนมกำนัล ๓๐ คน แพไปติดเกาะกะชัง นางจึงเอาเกาะนั้นเป็นที่
อาศัย ต่อมาได้ประสูติโอรส ทรงสอนให้โอรสรำโนราได้ชำนาญ แล้วเล่าเรื่องแต่หนหลังให้ทรงทราบ ต่อมากุมารน้อยซึ่งเป็นโอรสของนางนวลทองสำลี ได้โดยสารเรือพ่อค้าไปเที่ยวรำโนรายังเมือง พระอัยกา เรื่องเล่าลือไปถึงพระยาสายฟ้าฟาด ๆ ทรงปลอมพระองค์ไปดูโนรา เห็นกุมารน้อยมีหน้าตาคล้าย
พระธิดา จึงทรงสอบถามจนได้ความจริงว่าเป็นพระราชนัดดา จึงรับสั่งให้เข้าวัง และให้อำมาตย์ไปรับ นางนวลทองสำลีจากเกาะกะชัง แต่นางไม่ยอมกลับ พระยาสายฟ้าฟาดจึงกำชับให้จับมัดขึ้นเรือพามา ครั้นเรือมาถึงปากน้ำจะเข้าเมือง ก็มีจระเข้ลอยขวางทางไว้ ลูกเรือจึงต้องปราบจระเข้ ครั้นนางเข้าเมืองแล้ว
พระยาสายฟ้าฟาดได้จัดพิธีรับขวัญขึ้น และให้มีการรำโนราในงานนี้ โดยประทานเครื่องต้น อันมีเทริด กำไลแขน ปั้นเหน่ง สังวาลพาดเฉียง ๒ ข้าง ปีกนกแอ่น หางหงส์ สนับเพลา ฯลฯ ซึ่งเป็นเครื่องทรงของ กษัตริย์ให้เป็นเครื่องแต่งตัวโนรา และพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้แก่กุมารน้อยราชนัดดา เป็นขุนศรีศรัทธา
ตำนานกระแสนี้ ยังมีเล่าเป็นคำกาพย์ไว้ด้วยใจความอย่างเดียวกัน
นางนวลทองสำลี เป็นบุตรีท้าวพระยา
นรลักษณ์งามหนักหนา จะแจ่มดังอัปสร
เทวาเข้าไปดลจิต ให้เนรมิตเทพสิงหร
รูปร่างอย่างขี้หนอน ร่อยรำง่าท่าต่างกัน
แม่ลายฟั่นเฟือน กระหนกล้วนแต่เครือวัลย์
บทบาทกล่าวพาดพัน ย่อมจำแท้แน่หนักหนา
จำได้สอบสองบท ตามกำหนดในวิญญาณ์
เมื่อฟื้นตื่นขึ้นมา แจ้งความเล่าเหล่ากำนัล
แจ้งตามเนื้อความฝัน หน้าที่นั่งของท้าวไท
วันเมื่อจะเกิดเหตุ ให้อาเพศกำจัดไกล
ให้อยากดอกมาลัย อุบลชาติผลพฤกษา
เทพบุตรจุติจากสวรรค์ เข้าทรงครรภ์นางฉายา
รู้ถึงพระบิดา โกรธโกรธาเป็นฟุนไฟ
ลูกชั่วร้ายทำขายหน้า ใส่แพมาแม่ย้ำไหล
พร้อมสิ้นกำนัลใน ลอยแพไปในธารัง
พระพายก็พัดกล้า เลก็บ้าพ้นกำลัง
พัดเข้าเกาะกะชัง นั่งเงื่องงงอยู่ในป่า
ร้อนเร้าไปถึงท้าว โกสีย์เจ้าท่านลงมา
ชบเป็นบรรณศาลา นางพระยาอยู่อาศัย
พร้อมสิ้นทั้งฟูกหมอน แท่นที่นอนนางทรามวัย
ด้วยบุญพระหน่อไท อยู่เป็นสุขเปรมปรีดิ์
เมื่อครรภ์ถ้วนทศมาส ประสูติราชจากนาภี
เอกองค์เอี่ยมเทียมผู้ชาย เล่นรำได้ด้วยมารดา
เล่นรำตามภาษา ตามวิชาแม่สอนให้
เล่นรำพอจำได้ เจ้าเข้าไปเมืองอัยกา
เล่นรำตามภาษา ท้าวพระยามาหลงไหล
จีนจามพราหมณ์ข้าหลวง ไปทั้งปวงอ่อนน้ำใจ
จีนจามพราหมณ์เทศไท ย่อมหลงไหลในวิญญาณ์
ท้าวพระยาสายฟ้าฟาด เห็นประหลาดใจหนักหนา
ดูนรลักษณ์และพักตรา เหมือนลูกยานวลทองสำลี
แล้วหามาถามไถ่ เจ้าเล่าความไปถ้วนถี่
รู้ว่าบุตรแม่ทองสำลี พาตัวไปในพระราชวัง
แล้วให้รำสนองบาท ไทธิราชสมจิตหวัง
สมพระทัยหัทยัง ท้าวยลเนตรเห็นความดี
แล้วประทานซึ่งเครื่องทรง สำหรับองค์พระภูมี
กำไลใส่กรศรี สร้อยทับทรวงแพรภูษา
แล้วประทานซึ่งเครื่องทรง คล้ายขององค์พระราชา
แล้วจดคำจำนรรจา ให้ชื่อว่าขุนศรีศรัทธา
............................บางกระแสเชื่อว่าการตั้งครรภ์ของนางศรีมาลา หรือนางนวลทองสำลีเกิดจากการลักลอบได้เสียกับพระม่วง หรือตาม่วงทองซึ่งเป็นมหาดเล็กในพระราชวัง จากนั้นจึงไปเสวยเกสรดอกบัวที่เทพสิงหรแบ่งภาคลง มาอยู่เพื่อถือกำเนิดในเมืองมนุษย์เป็นขุนศรีศรัทธา ดังความว่า เมืองพัทลุงที่บางแก้วมีเจ้าเมืองชื่อ
จันทรโกสินทร์ มเหสีคือนางอินทรณีมีเชื้อสายของชาวอินเดีย เมื่อทรงครรภ์ใกล้กำหนดจะประสูติ นางอินทรณีก็เดินทางกลับไป เพื่อประสูติที่บ้านเมืองของตนตามประเพณีที่ชาวอินเดียปฏิบัติกันมา แต่ พระครรภ์ครบกำหนดจึงต้องประสูติในเรือพระที่นั่งกลางทะเล พระธิดาที่ประสูติใหม่จึงได้นามว่า "ศรีคงคา" จากนั้นนางจึงนำขบวนเรือกลับพัทลุง ครั้นนางศรีคงคาเจริญวัยขึ้นเทวดามาดลจิตให้นิมิตฝันว่ามีเทพธิดามา ร่ายรำให้ดู ท่ารำมี ๑๒ ท่า นางจำได้และฝึกหัด โดยดูเงาในน้ำจนชำนาญ จึงได้ชักชวนพี่เลี้ยง นางสนมกำนัล และอำมาตย์ ลักลอบร่ายรำกันในปราสาท บรรดาทหารเห็นว่านางศรีคงคามีความสนุกสนานจึงจึงช่วยกันตัด
ต้นกล้วยพังลา (กล้วยตานี) มาทำเป็นหน้าพราน แล้วจัดทำเครื่องดนตรี มีกลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง และแตระ ตีประโคมประกอบการร่ายรำ เรื่องล่วงรู้ไปถึงพระบิดามารดา แต่ก็ทรงเก็บเรื่องเงียบไว้ ไม่ทัดทานแต่อย่างใด ครั้นต่อมาพระม่วงทองมหาดเล็กซึ่งเป็นบุตรของพระยาทองอู่หรือท้าวทองอู่ได้ลักลอบเข้าไปหานางศรีคงคม
และได้เสียเป็นสามีภรรยากัน ในเวลาต่อมานางเสวยเกสรดอกบัวในสระหน้าวัง โดยไม่มีใครรู้ว่าดอกบัวนั้น เทพสิงหรได้แบ่งภาคลงมาอยู่เพื่อกำเนิดในเมืองมนุษย์ เมื่อเสวยเกสรดอกบัวแล้ว นางศรีคงคาก็ตั้งครรภ์ ความทั้งหมดทราบถึงพระบิดามารดา ทรงสอบสวนเรื่องราวว่าใครเป็นสามีของนาง นางศรีคงคาไม่เปิดเผย
ความจริง ทำให้พระบิดาโกรธและเห็นว่าเป็นเรื่องชั่วร้าย ทำให้เกิดความอัปยศแก่บ้านเมือง จึงให้เนรเทศโดยเอานางลอยแพ พร้อมด้วยพระพี่เลี้ยงและนางสนมกำนัล แพลอยไปติดเกาะกะชัง นางและพี่เลี้ยงได้อยู่ที่เกาะ นั้นกับตายาย และได้เปลี่ยนชื่อเป็นนวลทองสำลี ต่อมาได้ประสูติโอรส ให้ชื่อว่า เจ้าชายน้อย และให้เจ้าชาย
น้อยฝึกหัดรำโนราจนชำนาญ แล้วเล่าเรื่องแต่หนหลังให้ทราบ เจ้าชายน้อยและพระมารดาได้ออกเที่ยวรำ โนราจนเป็นที่หลงใหลของชาวบ้าน และบรรดานายสำเภาที่เดินทางค้าขาย ข่าวการรำโนราของแม่ลูกล่วงรู้ ไปถึงพระอัยกา จึงให้นายสำเภารับ ๒ แม่ลูกเข้าเมือง แต่นางนวลทองสำลีไม่ยอมกลับ ท้าวจันทรโกสินทร์จึง พาทหารไปรับนางด้วยตนเอง เมื่อมาถึงบ้านเมือง ทุกคนก็อยากดูการรำโนรา ดังนั้นในงานพิธีรับขวัญ นางนวลทองสำลีและเจ้าชายน้อยจึงจัดให้มีการรำโนราด้วย โดยท้าวจันทรโกสินทร์ได้ประทานเครื่องต้น อันมี เทริด กำไลแขน ปั้นเหน่ง สังวาล พาดเฉียง ๒ ข้าง ปีกนกแอ่น หางหงส์ สนับเพลา ฯลฯ ซึ่งเป็นเครื่อง ทรงของกษัตริย์ให้เป็นเครื่องแต่งตัวของโนรา และเรียกโนราในตอนแรกว่า "ชาตรี" นางนวลทองสำลีได้
เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นศรีมาลา ส่วนเจ้าชายน้อยได้รับบรรดาศักดิ์จากพระอัยกาเป็น "ขุนศรีศรัทธา" และทรง อนุญาตให้มีแผ่นดินอยู่เท่ากับโรงโนรา ดังนั้นเมื่อเข้าโรงโนราที่ไหนจึงต้องมีบทตั้งเมืองเปรียบเหมือนการไป หาแผ่นดินตั้งเป็นเมืองของตนเองแต่เป็นเมืองที่มีอำนาจปกครองและอาณาเขตเท่ากับพื้นที่ของโรงโนรา
เท่านั้น จึงมีสำนวนเปรียบเทียบชีวิตความเป็นอยู่ของโนราว่า "แต่งตัวเทียมเจ้า กินข้าวเทียมหมา หากินใต้ แชง" จากนั้นขุนศรีศรัทธาจึงเที่ยวร่ายรำโนราไปในชมพูโลก และได้มาขึ้นแพที่หน้าวัดแห่งหนึ่ง เรียกว่าท่าแพ ภายหลังเพี้ยนเป็นท่าแค เพื่อตั้งโรงฝึกหัดศิษย์อยู่ที่โคกขุนทา (บ้านท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัด
พัทลุง) ดังปรากฏหลักฐานบริเวณที่เป็นเนินดินในบ้านท่าแค ที่ชาวบ้านเรียกว่า "โคกขุนทา" มาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ ยังมีตำนานโนราที่เล่าผิดเพี้ยนกันบ้างในบางส่วน อีกหลาย ๆ กระแส ทั้งที่เล่าโดยชาว พัทลุง สงขลา และ สุราษฎร์ธานี เป็นต้น
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ตำนาน นางเลือดขาว พัทลุง [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
...................มีเรื่องราวเขียนดินสอดำในกระดาษเพลา เย็บเป็นเล่มคล้ายสมุดจีนเรียกว่า "เรื่องนางเลือดขาว" ความว่า เมืองพัทลุงได้ตั้งมาก่อน พ.ศ. ๑๔๘๐ เมืองตั้งอยู่ที่จะทิ้งพระ (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา) มีเจ้าเมืองนามว่า พระยากรงทอง ครั้งนั้นตาสามโมกับยายเพชรสองผัวเมียอยู่ที่ตำบลปละท่า
ตะวันตกของทะเลสาบ (คือบ้านพระเกิด) เป็นหมอสดำ หมอเฒ่านายกองช้างเลี้ยงช้างส่งพระยากรงทองทุกปี วันหนึ่งตายายได้กุมารจากกอไม้ไผ่เสมรียง และได้กุมารีจากกอไผ่ตง มีพรรณเลือดขาวจึงเรียกว่า"นางเลือดขาว" ตายายก็เอามาเลี้ยงไว้จนเจริญวัยก็ให้อยู่กินเป็นสามีภรรยากัน ครั้นเมื่อตายายถึงแก่กรรม
กุมารและนางเลือดขาวก็ฌาปนกิจแล้วนำอัฐิไปฝังไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์ กุมารและนางเลือดขาวก็ได้รับมรดก เป็นนายกองช้างต่อมาจนมีกำลังขึ้น แต่นั้นมาก็เรียกตำบลบ้านนั้นว่า "พระเกิด" เป็นที่ส่วยช้างเลี้ยงช้างส่ง พระยากรงทองปีละตัว จึงทำเพลาตำรา (ตำนาน) ไว้สำหรับเมืองพัทลุงสืบมาต่อมาเรียกว่า "ที่คช" (คือที่ส่วยช้าง) มีเขตถึงบ้านท่ามะเดื่อ ครั้นกาลเวลาล่วงมา กุมารและนางเลือดขาวพาสมัครพรรคพวกไปทางทิศใต้ แต่ก็ไม่พบสถานที่ที่เป็น ประโยชน์ จึงเดินทางไปทางทิศอีสานบ้านพระเกิดซึ่งเป็นชัยภูมิดีก็ตั้งพักอยู่ ณ บางแก้ว ได้พบทรัพย์สมบัติ แก้วแหวนเงินทองเป็นจำนวนมาก แต่นั้นมาก็เรียกกุมารนั้นว่า "พระยา" ส่วนนางเลือดขาวสร้างพระพุทธรูป และอุโบสถไว้ที่ตำบลสทังวัดหนึ่ง ฝ่ายพระยากุมารก็เอาทรัพย์ทำพระวิหารและพระพุทธรูป แล้วจึงจารึกลงไว้ในแผ่นทองคำอันเป็น
ตำนานให้ชื่อว่า "วัดเขียนบางแก้ว" อีกวัดหนึ่ง และต่อมาปี พ.ศ. ๑๔๙๒ ที่จะทิ้งพระ พระยากุมารก็ทำ พระมหาธาตุและก่อพระเชตุพนวิหารขึ้นพร้อมกันกับวัดเขียนบางแก้วและวัดสทังเป็นสามอาราม พระยากุมารกับนางเลือดขาวชอบท่องเที่ยวและใจบุญ เมื่อเดินทางไปเที่ยวที่ไหนก็มักจะสร้าง พระพุทธรูปไว้ตามตำบลต่าง ๆ เป็นต้นว่า พระกุมารสร้างพระนอนไว้ที่ตรังองค์หนึ่งเมื่อกลับจากลังกามาขึ้น
บกที่ตรัง นางเลือดขาวก็สร้างวัด ณ ที่พระพุทธสิหิงค์ ไปเที่ยวเมืองนครศรีธรรมราชก็สร้างพระพุทธรูปไว้ หลายตำบล ความใจบุญของนางเลือดขาวลือเลื่อง ไปถึงกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาให้คน มารับนางเลือดขาวที่เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อทรงเลี้ยงเป็นมเหสีแต่เมื่อทรงพบว่านางมีสามีแล้วและกำลัง
ตั้งครรภ์ก็มิได้กระทำดังที่ตั้งพระทัยไว้ เมื่อนางคลอดบุตรเป็นชาย และโตพอสมควรก็ทรงขอไว้ นางจึงทูลลา กลับไปอยู่กับพระยากุมารที่บ้านพระเกิดจนถึงแก่กรรม
แนวคิด
........................ตำนานนางเลือดขาวนอกจากจะเป็นเรื่องราว ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองพัทลุงแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และความเชื่อของชาวใต้และชาวพัทลุง อีกด้วย จึงถือได้ว่า เป็นนิทานหรือตำนานที่มีความสำคัญ และน่าสนใจที่สุด
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
Thursday, January 7, 2010
ตำนาน ทวดกุหล่ำ ยะลา [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
........................ ทวดกุหล่ำ เป็นชื่อสถานที่แห่งหนึ่งในตำบลบาละ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ทวดเป็นคำภาษาไทย หมายถึง พ่อหรือแม่ของปู่ย่าตายาย และชาวบ้านในตำบลบาละนิยมใช้เรียกสิ่งที่ตนเองนับถือในแง่ของ อภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ กุหล่ำ เป็นคำที่มาจากภาษามลายู หมายถึง บึง หรือคุ้งน้ำ ห้วงน้ำ ทวดกุหล่ำ จึงหมายถึง ห้วงน้ำ หรือ คุ้งน้ำที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่
เนื้อเรื่อง
...........................เมื่อประมาณ ๒ - ๓ ร้อยปีก่อนโน้น บริเวณที่ทวดกุหล่ำสิงสถิตอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นทะเล ทวดกุหล่ำได้ นำคณะมโนราห์มาจากเมืองไทรบุรี โดยทางเรือเมื่อมาถึงบริเวณนี้เรือเกิดอัปปาง คณะมโนราห์และผู้อาศัย ในเรือตายหมด ต่อมาบริเวณนี้ค่อย ๆ กลายสภาพเป็นเพียงสายน้ำแห่งหนึ่ง และตรงที่บริเวณที่เรือของ
ทวดกุหล่ำได้อัปปางลงนั้นมีลักษณะเป็นวังน้ำวนและลึกมาก และมีความเชื่อว่าวังน้ำวนแห่งนี้เป็นที่ทวดกุหล่ำสถิตอยู่ บริเวณวังน้ำวนซึ่งมีความลึกดังกล่าว ยังมีปลาอาศัยอยู่ชุกชุม แต่ไม่มีใครกล้ากินปลา เหล่านี้ เนื่องจากมีผู้เล่าว่า เคยมีคนป่าเผ่าซาไกคนหนึ่งมาตกปลา นั่งตกปลาอยู่นานปลาก็ไม่ติดเบ็ดแม้แต่
ตัวเดียว ทั้ง ๆ ที่ลักษณะของน้ำที่ปลาบ้วนผุดอยู่มากมาย จึงพูดทำนองบนบานว่า ตกไม่ได้สักตัวได้สักท่อนก็ยังดี ผลปรากฏว่า มีปลาติดเบ็ดขึ้นมาทันที แต่ติดขึ้นมาท่อนเดียว คือเฉพาะท่อนหัว ท่อนหางหายไป ชาวซาไกผู้นั้นนำปลาท่อนเดียวไปกินถึง ๑๕ คน จึงทำให้ชาวซาไกกลุ่มนี้เสียชีวิตไป ๑๓ คน รอดชีวิตมา
เพียง ๒ คน เชื่อกันว่า ๒ คนดังกล่าวไม่ได้มีส่วนร่วมในการกินปลา และหลังจากนั้น มีคนไปตกปลาที่วังน้ำนั้นอีก แต่ไม่ได้ปลา ได้แต่หน้ากากพรานมโนราห์ ที่ทำด้วยอัญมณีขึ้นมาแทน เมื่อผู้ตกจะเอื้อมมือปลดออกจากเบ็ด หน้ากากพรานมโนราห์ก็หลุดจากเบ็ดหล่นลงวังน้ำวนเช่นเดิม นับแต่นั้นมาไม่มีใครกล้าไปตกเบ็ดหรือหา
วิธีการจับปลาจากสถานที่นั้นอีกเลย เพราะเชื่อกันว่าทวดกุหล่ำไม่พอใจ จึงสำแดงอภินิหารและลงโทษให้เป็นที่ประจักษ์
ต่อมามีการขุดถนน สร้างทางผ่านบริเวณแอ่งน้ำวนแห่งนี้ โดยทำพิธีอัญเชิญทวดกุหล่ำย้ายที่อยู่ใหม่ในที่สูง ห่างไกลจากถนน และสิ่งรบกวน บริเวณแอ่งนั้น เมื่อขุดเป็นถนนก็ไม่พบอะไรให้เห็นเลย นอกจากก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่ง และขอนไม้ซึ่งเหลือเพียงแก่นท่อนหนึ่งเท่านั้น
คติหรือแนวคิด
.................................ตำนานเรื่องทวดกุหล่ำ ซึ่งเป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา และเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ได้ข้อคิดกับคนรุ่นหลังว่า บรรพบุรุษนั้นมีความสำคัญ ควรจะยกย่องบูชา จะทำอะไรหรือสร้างอะไรก็ ควรจะบอกกล่าวเจ้าของสถานที่ถึงแม้จะไม่มีชีวิตแล้วก็ตาม ถ้าอัญเชิญไปให้อยู่ในที่ดี ๆ เคารพบูชาก็จะเป็นมลคลกับตัวหรือ
ผู้กระทำสืบไป เท่ากับให้เราเคารพบรรพบุรุษของเรานั่นเอง
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ตำนาน เกาะหนูเกาะแมว สงขลา [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
..................นานมาแล้วมีพ่อค้าจีนคนหนึ่งคุมเรือสำเภาจากเมืองจีน มาค้าขายที่เมืองสงขลา เมื่อขายสินค้าหมดแล้ว จะซื้อสินค้าจากสงขลากลับไปเมืองจีนเป็นประจำ วันหนึ่งขณะที่เดินซื้อสินค้าอยู่นั้น พ่อค้าได้เห็นหมากับแมวคู่หนึ่งมีรูปร่างหน้าตาน่าเอ็นดู จึงขอซื้อพาลงเรือไปด้วย หมากับแมวเมื่ออยู่ในเรือนาน ๆ ก็เกิดความ
เบื่อหน่ายและอยากจะกลับไปอยู่บ้านที่สงขลา จึงปรึกษาหาวิธีการที่จะกลับบ้าน หมาได้บอกกับแมวว่าพ่อค้า มีดวงแก้ววิเศษที่ใครเกาะแล้วจะไม่จมน้ำ แมวจึงคิดที่จะได้แก้ววิเศษนั้นมาครอบครองจึงไปข่มขู่หนูให้ ขโมยให้และอนุญาตให้หนูหนีขึ้นฝั่งไปด้วย ครั้นเรือกลับมาที่สงขลาอีกครั้งหนึ่ง หนูก็เข้าไปลอบเข้าไปลักดวง
แก้ววิเศษของพ่อค้าโดยอมไว้ในปาก แล้วทั้งสาม ได้แก่ หมา แมว และหนู หนีลงจากเรือว่ายน้ำจะไปขึ้นฝั่งที่ หน้าเมืองสงขลา ขณะที่ว่ายน้ำมาด้วยกัน หนูซึ่งว่ายน้ำนำหน้ามาก่อนก็นึกขึ้นได้ว่าดวงแก้วที่ตนอมไว้ในปากนั้นมีค่ามหาศาล เมื่อถึงฝั่งหมากับแมวคงแย่งเอาไป จึงคิดที่จะหนีหมากับแมวขึ้นฝั่งไปตามลำพัง ดวงแก้ว
จะได้เป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวตลอดไป แต่แมวที่ว่ายตามหลังมาก็คิดจะได้ดวงแก้วไว้ครอบครองเช่นกัน จึงว่ายน้ำตรงรี่เข้าไปหาหนู ฝ่ายหนูเห็นแมวตรงเข้ามาก็ตกใจกลัวแมวจะตะปบจึงว่ายหนีสุดแรงและไม่ทัน ระวังตัวดวงแก้ววิเศษที่อมไว้ในปากก็ตกลงจมหายไปในทะเล เมื่อดวงแก้ววิเศษจมน้ำไปทั้งหนูและแมวต่าง หมดแรงไม่อาจว่ายน้ำต่อไปได้ สัตว์ทั้งสองจึงจมน้ำตายกลายเป็น "เกาะหนูเกาะแมว" อยู่ที่อ่าวหน้าเมือง
สงขลา ส่วนหมาก็ตะเกียกตะกายว่ายน้ำไปจนถึงฝั่ง แต่ด้วยความเหน็ดเหนื่อยจึงขาดใจตายกลายเป็นหิน เรียกว่า "เขาตังกวน" เป็นภูเขาตั้งอยู่ริมอ่าวสงขลา ส่วนดวงแก้ววิเศษที่หล่นจากปากหนูก็แตกแหลกละเอียด เป็นหาดทราย เรียกสถานที่นี้ว่า "หาดทรายแก้ว" ตั้งอยู่ทางเหนือของอ่าวสงขลา
คติ/แนวคิด
.......................เกาะหนูเกาะแมวเป็นนิทานประเภทอธิบายสถานที่ ซึ่งปรากฏอยู่ที่แหลมสมิหลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา นิทานเรื่องนี้ให้แนวคิดว่าอย่าโลภมาก ให้มีความสามัคคีและแบ่งปันเอื้อเฟื้อต่อกัน
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ตำนาน รอยพระพุทธบาท สระบุรี [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
...................................ตำนานเล่าว่า เดิมที่บริเวณนั้นเป็นป่าใหญ่มีสัตว์ป่าชุกชุม พรานบุญตามล่าเนื้อที่ถูกยิงด้วยหน้าไม้ จนที่สุดเห็นมุดเข้าดงไม้แล้ววิ่งออกมา และบาดแผลหายเป็นปกติ พรานบุญตามเข้าไปจึงพบแอ่งน้ำบนรอยศิลา จากนั้นกวักน้ำลูบตัว ปรากฏว่ากลากเกลื้อนหายเป็นปกติ จึงบอกเล่าต่อกันไป จนความทราบถึงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงเสด็จมานมัสการ
....................................แต่ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระสงฆ์ไทยเดินทางไปยังลังการ ได้ความจากพระสงฆ์ลังกาว่า มีรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธองค์ทรงประทับรอยไว้ที่เขาสุวรรณบรรพตในสยาม เมื่อกลับมาได้ทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงโปรดให้มีการค้นหา และให้นายช่างสร้างมณฑปคลุมรอยพระพุทธบาทนั้นแล้วจัดงานสมโภชน์สืบมา
......................................อนึ่งในการเดินทางไปจังหวัดสระบุรี เมื่อสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ต้องใช้ทั้งเรือและช้าง ทำให้การไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นเรื่องลำบาก จึงเกิดคำกล่าวและความเชื่อว่า "ถ้าไปถึงเจ็ดครั้งก็จะได้ขึ้นสวรรค์" ซึ่งหากคิดก็จะพบว่าการที่มีผู้เดินทางด้วยความยากลำบากไปนมัสการรอยพระ พุทธบาทถึงเจ็ดครั้งได้ แสดงว่าผู้นั้นต้องมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
ตำนาน กระต่ายสามขา นครนายก [ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]
เนื้อเรื่อง
................ในอดีตกาลนานมาแล้ว มีพระอาจารย์ผู้เรืองวิชารูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัด เย็นวันหนึ่ง โยมนำกระต่ายป่ามาถวาย พระอาจารย์จึงเรียกให้สามเณรองค์หนึ่งมานำกระต่ายไปย่างเพื่อไว้ฉันเช้า สามเณรนำกระต่ายไปย่าง แต่ทนความเย้ายวนของกลิ่นหอมไม่ได้จึงตัดกระต่ายไป ๑ ขา วันรุ่งขึ้นนำกระต่ายย่าง ๓ ขา ไปถวายแก่พระอาจารย์ ซึ่งท่านแปลกใจ ถามว่าทำไมกระต่ายมี ๓ ขา สามเณรก็ยืนยันว่ามี ๓ ขาเท่านั้น
ถามอย่างไรกี่ครั้ง สามเณรก็ตอบเช่นนั้น พระอาจารย์เห็นความเด็ดเดี่ยวของสามเณร พระอาจารย์จึงถาม สามเณรว่า จะไปฉันข้าวกับพระราชาได้หรือไม่ สามเณรตอบว่าได้ พระอาจารย์เห็นสามเณรเด็ดเดี่ยวและ กล้าหาญมากและใช้อะไรก็ทำทุกอย่าง พระอาจารย์จึงได้ทำผงลงยันต์ให้สามเณร และสั่งว่าเมื่อจะไปฉันอาหาร พร้อมพระราชาให้ใช้ผงนี้ชะโลมทาตัวให้ทั่ว สามเณรปฏิบัติตามทุกอย่าง เมื่อพระราชาเสวย สามเณรก็เข้าไปฉันกับพระราชา พระราชาทรงมีความสังเกตว่า กระยาหารไม่พอเสวย
.................. วันต่อมาพระราชา จึงทรงสั่งให้ทางวิเสทปรุงอาหารรสเผ็ดร้อน เมื่อเวลาพระราชาเสวย สามเณรก็มาฉันอาหารเผ็ดร้อนนั้นด้วย ทำให้เหงื่อของสามเณรออก ผงที่ทาตัวอยู่ก็ละลายออก สามเณรก็ปรากฎตัวให้พระราชาทอดพระเนตร พระราชาตรัสถามว่าใครใช้ให้มา สามเณรก็ถวายคำตอบว่า พระอาจารย์ที่อยู่วัดโพธิ์แทนนครนายกใช้มา สามเณรถูกคุมตัวไว้ พระอาจารย์รู้ข่าวก็ขออนุญาตทหารเวร มาเยี่ยมสามเณร และให้ฉันหมากเสก สามเณร ก็หนีออกมาได้พร้อมพระอาจารย์กลับมาที่วัด
.................ต่อมาพระราชาเสด็จพร้อมด้วยมหาดเล็กเพื่อตามจับพระอาจารย์และสามเณรที่วัดโพธิ์แทน ซึ่งมีแม่น้ำกั้น (ต่อมาเรียกท่าเสด็จ) จึงเสด็จทางเรือมาถึงในเวลาเช้า ขณะที่พระอาจารย์กับสามเณรฉันเช้าอยู่ ทหารมาล้อมวัดไว้ พระอาจารย์จึงขออนุญาตทหารว่าขอฉันอาหารให้เสร็จก่อน หลังจากนั้นพระอาจารย์ถาม
ลูกศิษย์ว่าใครจะไปกับพระอาจารย์บ้างลูกศิษย์ก็ตกลง พระอาจารย์ทำน้ำมนต์รดสามเณรกลายเป็นลูกกุ้ง ลูกปลา ส่วนพระอาจารย์กลายเป็นนกกระยางคาบลูกกุ้ง ลูกปลาหนีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันนี้ คือวัดปากคลองพระอาจารย์ หรือบึงพระอาจารย์
แนวคิด
....................ผู้มีวิชาสามารถนำวิชาไปใช้ในยามคับขันได้
[ตำนาน นิทาน เรื่องเล่า]